Monday, 2 October 2023 | 8 : 05 am

4Quarter.co

Monday, 2 October 2023 | 8 : 05 am
เริ่มแล้ววันนี้ การแจ้งความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้ารายย่อยผ่าน BAAC Mobile   •   ทีทีบี ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ยบัญชี ttb ME save รับดอกเบี้ยสูงสุดรวมโบนัส 2.20% มีผล 1 ต.ค. 66   •   การเคหะแห่งชาติ เปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอราคาค่าธรรมเนียมการได้สิทธิ์เช่าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการตลาดและเพื่อประกอบการค้าในโครงการ ของการเคหะแห่งชาติ จำนวน 4 โครงการ   •   Zoom เปิดตัว Zoom AI Companion สำหรับผู้มีบัญชี Zoom แบบจ่ายเงิน มุ่งเป็นผู้ช่วยที่ขับเคลื่อนด้วย AI เจนเนอเรชั่นใหม่ เพื่อการทำงานร่วมกันและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น   •   ส่อง 3 เทรนด์แห่งอนาคตธุรกิจอสังหาฯไทย “เวลเนส เรสซิเดนท์-อาคารประหยัดพลังงาน-คอนโดฯเลี้ยงสัตว์”   •   5 ความเชื่อเดิมๆ เกี่ยวกับการทำประกัน   •   กองทุนประกันวินาศภัย ร่วมงานเสวนาเรื่อง “สิทธิเด็กไทยกับความปลอดภัยทางถนน” และร่วมจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนน   •   ออมสิน ประกาศตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทุกประเภท ช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ตามนโยบายรัฐบาล มุ่งผลักดันเศรษฐกิจฟื้นตัว   •   กรุงเทพประกันชีวิต ครบรอบ 72 ปี สานฝันจากพี่สู่น้อง สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เยาวชนไทย   •   ผอ.ออมสิน ร่วมงานสัมมนา ถอดรหัสลงทุนก้าวข้ามวิกฤต   •   การเคหะแห่งชาติ ชี้แจงพื้นที่บ่อนพนันไฮโลใจกลางตลาดในพื้นที่เขตลาดกระบัง “ไม่ใช่” พื้นที่ความรับผิดชอบของการเคหะแห่งชาติ ตรวจสอบแล้วเป็นพื้นที่ของเอกชน   •   “ศุภาลัย เลค วิลล์ ภูเก็ต” ปลื้ม! ผลตอบรับดีเกินคาดเปิดเฟสใหม่ 4 วัน กวาดยอดขายกว่า 200 ล้านบาท   •   SAM โกอินเตอร์เซ็น MOU กับ KAMCO บริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำเกาหลี พร้อมเตรียมความร่วมมือขยายตลาดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพสู่เอเชีย   •   gettgo จัดแคมเปญ “ครบรอบ gettgo 6 ปี ส่งต่อสิ่งดี ๆ ให้คุณ” ลุ้นรับทองคำ-โปรโมชันพิเศษ ส่งมอบความสุขส่งท้ายปีแก่ลูกค้าคนสำคัญ   •   29 กันยายน วันหัวใจโลก (World Heart Day) รวมพลังน้ำใจ คืนชีวิตใหม่ ให้หัวใจดวงน้อย   •   นักพัฒนาชุมชนรุ่นใหม่ และนักบริบาล ทุ่มเท เสียสละทำงานเพื่อชุมชน คว้ารางวัลคุณธรรมระดับประเทศ มูลนิธิเอสซีจี ร่วมส่งเสริม หนุนคนเก่ง คนดี   •   ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง “ธนาคารไทยเครดิต” พร้อมเดินหน้าแผน IPO รุกธุรกิจการเงิน – ขยายพอร์ตสินเชื่อ   •   SCB CIO คาดเฟดปรับลดดอกเบี้ยไตรมาส 3 ปี 2567 แนะเลี่ยงลงทุนหุ้นกู้/หุ้นกลุ่มธุรกิจหนี้สูง รอจังหวะสะสมหุ้นสหรัฐ   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต คว้า 2 รางวัลใหญ่ 3 ปีซ้อน จากเวทีระดับโลก World Business Outlook   •   ธ.ก.ส. ได้รับการจัดอันดับเครดิตเรทติ้งส์ สูงสุดที่ AAA (tha) และ F1+ (tha) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 10   •   ซีพีแรม เปิดยุทธศาสตร์อาหารรองรับสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ในประเทศไทย อาหารสำหรับผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีอาหารและโภชนาการ เสริมแกร่งอุตสาหกรรมอาหารของไทย   •   กสิกรไทย และ KBTG คว้ารางวัลสุดยอดองค์กรที่น่าร่วมงานด้วยจากนิตยสาร HR Asia   •   สมาคมเพื่อนชุมชน เดินหน้าหนุนทุนการศึกษา ระดับปริญญาตรี (ปีที่ 13) ระดับอาชีวศึกษา (ปีที่ 5) สานฝันเยาวชนจังหวัดระยองต่อเนื่อง   •   วิริยะประกันภัย รุกต่อยอดองค์ความรู้งานรับประกันภัย EV จัดอบรมรถยนต์ไฟฟ้า ภาคกลางและภาคตะวันตก   •   “ออมสิน” ร่วมภาคี น้อมรำลึกวันพระราชทานธงชาติไทย   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย จัดชี้แจงสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการประกันภัยทางทะเล พ.ศ. ….   •   เคทีซี-ยูเนี่ยนเพย์ คืนความคุ้มค่า สวนกระแสเศรษฐกิจ “เติมน้ำมันรับสุดคุ้ม e-Coupon เครดิตเงินคืนสูงสุด 40 บาท”   •   บีเอ็นวาย เมลลอน เผยทิศทางการลงทุนโลก ธนาคารกลางยักษ์ใหญ่ยังมีท่าทีที่แตกต่าง ส่งผลต่อการลงทุนโค้งสุดท้าย ปี 2566   •   ธ.เกียรตินาคินภัทร ร่วมสนับสนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน Sustainability – Linked Loan ให้กับ MINT   •   ไทยประกันชีวิต ร่วมพิธีวางพวงมาลา เนื่องในวันมหิดล ประจำปี 2566

มัดรวมวิธีแก้ปัญหา “โพรงใต้บ้าน” ที่ถูกใจคนรักบ้านด้วยโซลูชันหลากหลายที่ลงตัว

อีกหนึ่งปัญหาหนักอกของคนมีบ้านคงหนีไม่พ้นเรื่องพื้นรอบตัวบ้านทรุด ไม่ว่าจะเป็นพื้นดินหรือว่าพื้นคอนกรีตจนทำให้เกิด “โพรงใต้บ้าน” ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย และหากปล่อยทิ้งไว้นานจนเกิดโพรงใหญ่ นอกจากจะส่งผลทำให้บ้านไม่สวยงามแล้ว ยังส่งผลต่อโครงสร้างของบ้านอีกด้วยในกรณีที่มีฝนตกและเกิดน้ำขัง อีกทั้งอาจมีสัตว์เข้าไปอยู่อาศัยใต้บ้าน เช่น งูหรือตัวเงินตัวทอง ฯลฯ ซึ่งอาจจะทำอันตรายต่อคนในบ้านได้ ดังนั้นควรหาวิธีมาปิดโพรงใต้บ้านจะดีที่สุด และก่อนที่จะไปดูวิธีแก้ปัญหาเรามาทำความเข้าใจสาเหตุกันก่อน

โพรงใต้บ้านเกิดจากอะไร

ปัญหาโพรงใต้บ้าน ส่วนใหญ่เกิดจากดินทรุดตัวตามธรรมชาติ โดยปกติพื้นดินมีโอกาสที่จะทรุดได้อยู่แล้ว ประเทศไทย มีอัตราการทรุดตัวของดินเกิดขึ้นทุกปีจากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นสภาพของดินที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น ดินบริเวณกรุงเทพฯ มีลักษณะเป็นตะกอนดินเหนียวปากแม่น้ำทำให้มีความอ่อนนุ่มและทรุดตัวง่าย ซึ่งจะทรุดตัวไม่เกิน 10 เซนติเมตร/ปี ส่วนใหญ่แต่ละปีจะเห็นรอยทรุด 1 – 2 เซนติเมตร หรือจะเป็นการขุดน้ำบาดาลมาใช้ แรงสั่นสะเทือนจากเครื่องจักรและรถยนต์ และการถมดินใหม่เพื่อสร้างบ้านแล้วไม่ปล่อยให้ดินแน่นตามเวลาที่เหมาะสม เมื่อโดนฝนไป 2 – 3 ปีก็จะเป็นเหตุให้ดินทรุดได้เหมือนกัน    

วิธีแก้ไขปัญหาโพรงใต้บ้าน

การแก้ไขปัญหาโพรงใต้บ้านสามารถทำได้หลากหลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้านว่าวิธีไหนสามารถตอบโจทย์การแก้ปัญหาของตัวเองได้บ้าง วันนี้เลยมีวิธีการแก้ปัญหาโพรงใต้บ้านมาเสนอเผื่อเป็นไอเดียให้กับใครที่กำลังต้องการหาวิธีแก้ไขปัญหานี้อยู่ พร้อมแล้วไปดูวิธีแก้ปัญหาในแบบต่างๆ กันเลย

  1. ใช้ของใกล้ตัวมาปิดบริเวณโพรงใต้บ้าน

การเลือกหยิบของใกล้ตัวมาใช้เป็นวิธีแก้ปัญหาแบบเบื้องต้นง่ายๆ เหมาะสำหรับบ้านที่ดินยังทรุดเพียงเล็กน้อย เป็นโพรงขนาดเล็ก โดยการนำกระถางต้นไม้ ก้อนหิน หรือของตกแต่งอื่นๆ มาวางปิดบริเวณโพรง ซึ่งนอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาแล้วยังได้เรื่องความสวยงามอีกด้วย โดยเราสามารถดีไซน์การจัดวางได้ตามแบบที่ชอบได้เลย  

  • ทำขอบคันหิน

วิธีนี้เหมาะกับบ้านที่ดินทรุดไม่เกิน 13 – 23 เซนติเมตร เป็นการนำขอบคันหินมาวางเรียงปิดบริเวณที่เป็นโพรง กรณีที่ดินทรุดไม่เกิน 13เซนติเมตร ให้ใช้ขอบคันหินที่มีขนาดสูง 20 เซนติเมตร ส่วนกรณีที่ดินทรุดไม่เกิน 23 เซนติเมตร ให้ใช้ขอบคันหินที่มีความสูง 30 เซนติเมตร ซึ่งวิธีนี้สายปลูกต้นไม้น่าจะชื่นชอบเพราะสามารถประยุกต์นำขอบคันหินวางเรียงเป็น 2 แถวเพื่อสร้างเป็นที่ปลูกต้นไม้ได้แบบ 2 in 1 กันไปเลย

  • ก่ออิฐ

วิธีนี้เหมาะกับการแก้ปัญหากรณีพื้นรอบบ้านเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่แตกร้าวแต่เกิดโพรงใต้ดิน ในการแก้ไขปัญหาจะใช้แผ่นโฟมวางชิดกับกำแพงบ้านและก่ออิฐทับอีกรอบเพื่อป้องกันการทรุดตัวของดิน

  • การถมทรายและดิน

การถมทรายและดินเป็นวิธีที่ค่อนข้างได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ซึ่งมักจะใช้แก้ปัญหากับโพรงที่มีขนาดใหญ่ ด้วยการอัดทรายลงไปในโพรงด้วยการฉีดน้ำจนกว่าทรายจะเต็มโพรง แล้วถมดินปิดด้านบนให้สูงกว่าโพรงใต้บ้าน ซึ่งทรายที่ใส่เข้าไปในโพรงใต้บ้านจะช่วยกันดินไม่ให้ไหลเข้าไปใต้บ้าน แต่วิธีนี้ก็มีข้อควรระวัง เพราะอาจส่งผลต่อเรื่องระบบท่อต่างๆ ภายใต้บ้าน และอาจจะต้องถมทรายต่อไปเรื่อยๆ ในกรณีที่ดินยังมีการทรุดตัวลงอีก ทั้งนี้งบก็อาจจะบานปลายไปด้วย

  • การปิดโพรงใต้บ้านด้วย CPAC FillGood Solution

CPAC FillGood Solution กำลังเป็นวิธีแก้ปัญหาที่คนให้ความสนใจ เนื่องจากมีความแข็งแรงแล้วยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ CPAC Green Solution ออกแบบมาสำหรับปิดโพรงใต้บ้าน ด้วยวัสดุมวลเบาชนิดพิเศษจากซีแพค ซึ่งมีความลื่นไหลสูง ทำให้เข้าถึงได้ทุกซอกมุมในโพรง และไม่ส่งผลกระทบกับโครงสร้างเดิมเนื่องจากมีน้ำหนักเบากว่าดิน/ทราย ถึง 3 เท่า โดยจะเริ่มจากการสำรวจโพรงใต้ดินด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อตรวจดูจุดที่มองด้วยสายตาไม่เห็นและคำนวณการใช้วัสดุมวลเบา จากนั้นก็เริ่มเทเพื่อปิดโพรงใต้บ้านได้เลย ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของทีมงานที่มีความชำนาญ ตั้งแต่ขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายปลอดภัยหายห่วงได้เลย

จะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาโพรงใต้บ้านไม่ได้ยากอย่างที่คิดถ้าเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาที่ตอบโจทย์และเหมาะสมกับบ้านของเรา แต่ก็ไม่ควรปล่อยเอาไว้ให้เป็นโพรงใหญ่ขึ้น หากเกิดโพรงใต้บ้านควรรีบแก้ไขจะดีกว่าบ้านจะได้อยู่กับเราไปได้นานๆ