Wednesday, 29 November 2023 | 11 : 15 pm

4Quarter.co

Wednesday, 29 November 2023 | 11 : 15 pm
TIPlife Short Flim Contest 2023 ประกาศผลรางวัลประกวดหนังสั้น “มุมมองประกันชีวิตกับคนรุ่นใหม่”   •   TCL เปิดตัวตู้เย็น Side by Side สามรุ่นใหม่ ขนาดใหญ่พิเศษ TCL P650 ซีรี่ส์ สเปซที่ใช่ กับสไตล์ที่เป็นคุณ พร้อมดีลเด็ด TCL x Lazada ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุข ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธันวาคม ’66   •   ธ.ก.ส. เปิดตัว ‘เป๊ก ผลิตโชค’ Presenter คนใหม่ พร้อมจัดกิจกรรม “ผลิตโชคชวนฟินกับถุงทอง” 17 ธ.ค. นี้   •   ลีสซิ่งกสิกรไทย จัดโปรแรง 5 ต่อ ซื้อรถลุ้นรถ ส่งท้ายปีรับงาน มอเตอร์ เอ็กซ์โป 2023 ลุ้นโชคใหญ่ รับรถยนต์ไฟฟ้า และรับของสมนาคุณกว่า 2.9 ล้านบาท   •   “กรุงเทพประกันชีวิต” จับมือ โรงพยาบาลกรุงเทพ เพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ตรวจสอบสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล ผ่านแอปพลิเคชันอัจฉริยะ My B+   •   ชมรมชาวปากพนัง สานสัมพันธ์รวมใจ รวมพลัง จัดกิจกรรม “ปากพนังสังสรรค์ ครั้งที่ 49”   •   คปภ. เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณี “รถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ ที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นเหตุให้ประชาชนที่เที่ยวงานภาพยนตร์กลางแปลงเดินบนฟุตบาทริมถนนเสียชีวิต 8 ราย ผู้บาดเจ็บ 6 ราย   •   เปิดฉาก Season 4 คึกคักสนามแรก เยาวชนกว่า 600 ชีวิต แห่ร่วมโครงการ KTAXA KYC Football Youth (U15) Academy ลุ้นเป็นหนึ่งใน 10 สุดยอดเยาวชน บินลัดฟ้าเข้าแคมป์ฯ ที่ Liverpool FC International Academy ประเทศอังกฤษ   •   ออร์บิกซ์ เทรด เปิดตัว “ออร์บิกซ์” (orbix) กระดานเทรดสินทรัพย์ดิจิทัล ตอบโจทย์ทางเลือกการลงทุนสู่ประสบการณ์ใหม่ ตั้งเป้าหมายเป็นผู้นำด้านบริการสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นเลิศ   •   ไทยประกันชีวิต ร่วมสนับสนุนกิจกรรม คปภ. รวมพลังภาคประกันภัย รวมใจเพื่อการศึกษา   •   ศุภาลัย คว้ารางวัล BCI Asia Top 10 Developers Awards 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 13 ตอกย้ำความเป็นผู้นำอสังหาฯ ชั้นนำระดับเอเชีย   •   ออมสิน ขานรับนโยบายรัฐบาล เดินหน้าวาระแห่งชาติ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” ให้กู้ 50,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.75% ต่อเดือน ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป   •   เมืองไทยประกันชีวิต คว้า “ซูเปอร์แบรนด์ไทยแลนด์” ต่อเนื่องปีที่ 18 ตอกย้ำความเป็นสุดยอดแบรนด์บริษัทประกันชีวิตที่อยู่ในใจ   •   สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว รับมอบหนังสือคู่มือท่องเที่ยวจากเคทีซี เพื่อบรรจุในห้องสมุดทั่วประเทศ   •   ทิพยประกันภัย จับมือ ไทย เพอโซนอล โมบิลิตี้ ร่วมลงนามสัญญาให้ความคุ้มครอง กรณีเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าและจักรยานไฟฟ้า   •   “ออมสิน” ห่วงใย มอบถุงยังชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร   •   วิริยะประกันภัย ร่วมพิธีปิดค่ายสารคดี ครั้งที่ 18   •   นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นประธานในพิธีมอบวุฒิบัตรผู้สำเร็จการอบรม IMDP 27   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ร่วมเป็น “จิตอาสารักษ์แม่น้ำ” ร่วมเก็บขยะกระทงรักษาความสะอาดแม่น้ำเจ้าพระยา หลังงานลอยกระทง 2566   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย จัดกิจกรรม “ผจญภัยกับโลกการเงินกับชะชิ้ง” ส่งเสริมเด็กไทยให้มีความรู้ด้านการเงิน   •   เคทีซี จับมือ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ และ เอสซีจี เปิดเวที KTC FIT Talk #10 “ถึงเวลาพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานทางรอด”   •   BAM สนับสนุนสถานที่ “โรงหนังเพชรรามา” จัดงานเทศกาลท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ “มาแต่ตรัง”   •   เมืองไทยประกันชีวิต น้อมถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2566 ณ วัดบัวงาม พระอารามหลวง จังหวัดราชบุรี   •   รัฐบาลเริ่มต้นโอนเงินไร่ละพัน ผ่านระบบ ธ.ก.ส. วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาท   •   กรุงเทพประกันชีวิต ร่วมออกบูทงาน Amarin Baby & Kids Fair 2023   •   ไทยประกันชีวิต มอบผ้าห่มรักษ์โลกช่วยเหลือผู้ประสบภัยหนาว   •   เอไอเอ ประเทศไทย รับรางวัลดีเด่นด้านกิจการเพื่อสังคม จากสภาหอการค้าอเมริกัน (AMCHAM Corporate Social Impact Award) เป็นปีที่ 12 ติดต่อกัน   •   กรุงเทพประกันภัย – มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกิจกรรมด้านการศึกษา ต่อยอดการเรียนรู้สู่ภาคอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ไทยพาณิชย์ เปิดตัวเว็บไซต์ “แก้ เกม กล โกง” ศูนย์รวมคอนเทนต์คู่มือป้องกันมิจฉาชีพยุคใหม่ พร้อมส่ง “น้องเอ๊ะ เดอะซีรีส์” สร้างความตระหนักรู้ภัยทางการเงินแก่คนไทย   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต พาสุดยอดตัวแทน AXA Prime บินลัดฟ้า ร่วมงานสัมมนา “AXA Prime Hong Kong 2023”

การ์ทเนอร์ เปิด 5 เทคโนโลยีทรานส์ฟอร์มอนาคตดิจิทัลขององค์กร

  • ดาวเทียม (Satellites) จะปฏิวัติการสื่อสารของผู้คนและสิ่งต่าง ๆ
  • อุปกรณ์ IoT โดยรอบขนาดจิ๋ว (Tiny Ambient IoT) จะตรวจจับและติดตามทุกสิ่งด้วยค่าใช้จ่ายต่ำและไม่ต้องใช้แบตเตอรี่
  • การประมวลผลที่ปลอดภัย (Secure Computation) จะเปิดโลกใหม่ของระบบนิเวศดิจิทัล
  • โดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomic Drones and Robots) จะทำงานและเรียนรู้ไปพร้อมกัน
  • มนุษย์ดิจิทัล (Digital Humans) จะกำหนดนิยามใหม่ให้กับผู้ช่วย หุ่นยนต์และบริการต่าง ๆ 

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 18 ตุลาคม 2566 – การ์ทเนอร์ เผย 5 เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงอนาคตดิจิทัลของภาคองค์กร ได้แก่ มนุษย์ดิจิทัล (Digital Human), การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication), อุปกรณ์ IoT โดยรอบขนาดจิ๋ว (Tiny Ambient IoT), การประมวลผลที่ปลอดภัย (Secure Computation) และหุ่นยนต์อัตโนมัติ (Autonomic Robots)

นิค โจนส์ รองประธานฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ กล่าวว่าเทคโนโลยีทั้งห้านี้มีศักยภาพในการเปลี่ยนโฉมขององค์กรธุรกิจได้และควรได้รับการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนในตอนนี้เลย เนื่องจากเทคโนโลยีเหล่านี้มีขอบเขตที่กว้างมากและมีความสามารถเปิดโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ หรือ ความสามารถสำคัญ ๆ

“คำจำกัดความคำว่า Disruptive ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นให้ประเมินจากมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากนั้นให้พิจารณาถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่เกิดจากเทคโนโลยีแต่ละอย่าง รวมถึงแนวทางการเชื่อมผสานเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกัน”

1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communications)

การสื่อสารผ่านดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit หรือ LEO) ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น และกำลังได้รับแรงผลักดันจากการทำให้ห้วงอวกาศเป็นพื้นที่เสรี (Democratization of Space) และการใช้ห้วงอวกาศเป็นเชิงพาณิชย์ (Commercialization of Space) ด้วยประสิทธิภาพความเร็วในด้านการสื่อสาร (Low Latency) ทำให้ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LEO) เป็นเทคโนโลยีสำคัญขององค์กรในการปฏิวัติการสื่อสารกับผู้คนและสิ่งของต่าง ๆ 

จากข้อมูลของการ์ทเนอร์ LEO จะให้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ที่ครอบคลุมทั่วโลกและมีประสิทธิภาพรับ-ส่งสัญญาณรวดเร็วเพียงพอต่อการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งการเชื่อมต่อดาวเทียมโดยตรงสำหรับอุปกรณ์ IoT ขนาดเล็กให้ความครอบคลุมทั่วโลกในราคาไม่แพง โดยไม่ต้องใช้ซิม หรือผู้ให้บริการโทรคมนาคม และการโรมมิ่งที่ยุ่งยาก รวมถึงบริการด้านเสียงและข้อมูลจากดาวเทียมไปยังสมาร์ทโฟน 4G ที่ไม่มีการดัดแปลงเพื่อขยายความครอบคลุมไปยังสถานที่ห่างไกล

“อุตสาหกรรมนี้ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คาดว่าจะมีวิวัฒนาการอีกมาก ดังนั้นควรระมัดระวังในการนำ LEO มาใช้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในตลาดที่ซับซ้อน” โจนส์ กล่าวเพิ่มเติม

2. Tiny Ambient IoT

IoT โดยรอบขนาดจิ๋ว ช่วยให้สามารถติดแท็ก ติดตาม และตรวจจับทุกสิ่งได้โดยไม่ต้องใช้ความซับซ้อนหรือต้นทุนของอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ผลลัพธ์ที่ได้คือความสามารถในการรับรู้ข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ในรูปแบบหลากหลายมากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าในอดีต 

สิ่งนี้จะทำให้เกิดระบบนิเวศใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่โดยอาศัยการรู้ตำแหน่งหรือพฤติกรรมของวัตถุ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้นพร้อมพฤติกรรมใหม่ และค่าใช้จ่ายในการติดตามที่ต่ำกว่ามาก IoT ขนาดเล็กจะขยายโอกาสให้กับธุรกิจที่หลากหลาย แต่การ์ทเนอร์แนะนำให้ประเมินปัญหาทางสังคมและกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นก่อนนำไปใช้

3. การประมวลผลที่ปลอดภัย (Secure Computation)

การประมวลผลที่ปลอดภัยกำลังมีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อสิ่งต่าง ๆ เชื่อมโยงกันมากขึ้นและในขณะที่ระบบนิเวศเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้โดยไม่กระทบต่อความเป็นส่วนตัว

แม้ว่าหลักการหลายประการของการประมวลผลที่ปลอดภัยได้ถูกกำหนดไว้แล้ว แต่การนำไปใช้งานก็เป็นเรื่องที่ท้าทายด้วยเหตุผลด้านต้นทุน ทักษะ ประสิทธิภาพ และความพร้อมใช้งาน การ์ทเนอร์แนะนำว่าเทคโนโลยีเกิดใหม่ เช่น Optical Accelerators จะมีความสำคัญต่อการเปิดใช้งาน

4. มนุษย์ดิจิทัล (Digital Humans)

Digital Humans เป็นการนำเสนอเชิงโต้ตอบที่ขับเคลื่อนด้วย AI เลียนแบบลักษณะเฉพาะ บุคลิกภาพ ความรู้ และกรอบความคิดของมนุษย์ ตั้งแต่การเลียนแบบทางกายภาพ (เช่น หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์) ไปจนถึงเลียนแบบเสมือนจริง (เช่น ป๊อปสตาร์เสมือนจริง) หรือการเลียนแบบที่ควบคุมโดยมนุษย์ (เช่น การเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์) ไปสู่การควบคุมด้วย AI โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเหมือนมนุษย์ทุกด้าน (เช่น Digital Twin หรือ Chatbot)

แม้มนุษย์ดิจิทัลจะมีศักยภาพ แต่กลับเผชิญกับความท้าทายมากมาย รวมถึงการใช้งานที่ผิดจรรยาบรรณ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การสร้างอคติและแบบแผนที่ขาดกฎระเบียบ มีความเสี่ยงต่อการขับเคลื่อนทางสังคม ทัศนคติทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และอื่น ๆ การ์ทเนอร์แนะนำให้ประเมินประเด็นทางสังคมและกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นก่อนนำไปใช้

5. โดรนและหุ่นยนต์อัตโนมัติแบบปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive Autonomic Drones and Robots)

ระบบอัตโนมัติคือระบบกายภาพหรือซอฟต์แวร์ที่สามารถจัดการตนเอง โดยสามารถปฏิบัติงาน เรียนรู้ และเข้าใจเป้าหมายได้อย่างมีอิสระ ระบบเรียนรู้และระบบปรับตัวอัตโนมัติจะมีความสำคัญหากเทคโนโลยีเช่นหุ่นยนต์ได้รับการสเกลเพื่อให้บรรลุศักยภาพสูงสุด

อย่างไรก็ตาม มีความท้าทายมากมายเกิดขึ้น เนื่องจากยังมีความไม่ชัดเจนว่า หุ่นยนต์หรือระบบ AI ได้เรียนรู้อะไร หรือสิ่งที่หุ่นยนต์สามารถทำได้ (หรือไม่สามารถทำได้) การ์ทเนอร์แนะนำให้เริ่มทดสอบสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งการนำไปใช้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะมอบความคล่องตัวและเป็นประโยชน์ในด้านประสิทธิภาพ แต่ต้องรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดจากการวิเคราะห์ธุรกิจ ทั้งทางกฎหมายและจริยธรรม

ติดตามข่าวสารและข้อมูลอัปเดตจาก Gartner for IT Executives ได้ทาง X และ LinkedIn โดยติดแฮชแท็ค #GartnerIT หรือเยี่ยมชม IT Newsroom สำหรับข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติม