Saturday, 11 January 2025 | 8 : 54 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Saturday, 11 January 2025 | 8 : 54 am
spot_img
คปภ. ร่วมประชุมวิชาการ “ชวนหมอรู้” จับมือภาคธุรกิจประกันภัย ยกระดับประกันสุขภาพเอกชน เพื่อพัฒนาระบบสังคมและสุขภาพของไทยสู่ความยั่งยืน   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ครบรอบ 76 ปี ใช้พลังความรักขับเคลื่อนธุรกิจ ส่งมอบอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุก Generation   •   กรุงเทพประกันชีวิต จุดเริ่มต้นความยั่งยืน เริ่มที่ความ “ใส่ใจ”   •   พันธมิตรมั่นใจ! นวัตกรรม SCG 3D Printing เติบโตทั่วโลก พลิกโฉมวงการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยี เดินหน้ารุกตลาดก่อสร้างบ้านในประเทศญี่ปุ่น   •   อลิอันซ์ อยุธยา แต่งตั้งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารตัวแทนคนใหม่   •   SCG ผู้นำด้านความยั่งยืน รับรางวัล “หุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ระดับ AAA” ปี 2024 จากตลาดหลักทรัพย์ฯ   •   18–19 มกราคม ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ สวัสดีปีใหม่ด้วย “โปรใหม่” แจกไม่หยุด ให้ส่วนลดสูงสุด 3 แสน!   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต มอบประสบการณ์เอาใจคอลูกหนัง เนรมิตพื้นที่ อาริฟุตบอล สู่สนามจำลองให้ลูกค้าคนสำคัญได้รับชมสดแมตช์แดงเดือด ลิเวอร์พูล-แมนยูฯ   •   เมืองไทยประกันชีวิต จัดงาน “KICK OFF 2025” บานเย็น…บานสะพรั่งทั่วประเทศ รวมพลังตัวแทนทั่วประเทศอย่างยิ่งใหญ่   •   เคทีซี ผนึกสมาชิกส่งต่อน้ำใจสีเขียวสู่สภากาชาดไทย จากโครงการ E-Statement   •   วิริยะประกันภัย สนับสนุนมูลนิธิเรารักสวนลุมพินี ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนไทย   •   ธ.ก.ส. ส่งมอบความสุขให้กับเยาวชนทั่วประเทศ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568   •   กองทุนเปิด เอไอเอ อินคัม ฟันด์ (AIA-IC) ได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวจาก Morningstar THAILAND ประเภทกองทุน mid/long term bond   •   TQM มอบเงินสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้า มูลนิธิรามาธิบดี   •   อบาคัส ดิจิทัล ปฏิวัติสินเชื่อไทย ชู AI แก้หนี้นอกระบบ เผย “มันนี่ทันเดอร์” ปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คุมหนี้เสียดีกว่าตลาด 2 เท่า
spot_img

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน แนะ เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนด้วย “มาตรการองค์กร”

ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุทางถนน www.thairsc.com พบว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมีมากกว่า 15,000 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 45 ราย และ “วัยทำงาน” (21 – 60 ปี) เสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 70 สาเหตุของความสูญเสีย มาจาก “คน” และ “รถ” โดยเสียชีวิตจาก “รถจักรยานยนต์” มากที่สุด ร้อยละ 82 และเป็น “ผู้ขับขี่” เสียชีวิต ร้อยละ 79

ความสูญเสียที่เกิดขึ้น จะมีวิธีช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้อย่างไรบ้าง? การเดินทางไปกลับระหว่างบ้านกับที่ทำงานในทุกๆวัน นั้น นอกเหนือจาก “กฎจราจร” ที่ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องยึดถือปฏิบัติแล้วเพื่อความปลอดภัยแล้ว “หน่วยงานหรือองค์กร” ต่างๆ ทุกภาคส่วน ก็สามารถร่วมกันเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ป้องกันการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของพนักงานในขณะเดินทางจากบ้านมาที่ทำงานหรือจากที่ทำงานกลับบ้านได้ ด้วย “มาตรการองค์กร”

โดยหน่วยงานสามารถดำเนินโครงการความปลอดภัยทางถนน โดยผู้บริหารระดับสูง กำหนดเป็นนโยบายองค์กร โดยมี “กฎบัตรหรือข้อบังคับ” ที่เปรียบเสมือน “กฎหมาย” ขององค์กรหรือหน่วยงาน ในเรื่องความปลอดภัยทางถนน ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้พนักงานในองค์กรต้องยึดถือปฏิบัติ ซึ่งจะมีการกำหนดบทลงโทษ หากมีการฝ่าฝืน และการให้รางวัล หากพนักงานนั้นประพฤติปฏิบัติตนตามข้อบังคับ และเป็นแบบอย่างที่ดี (ขึ้นอยู่กับองค์กรจะกำหนดตามความเหมาะสม) ซึ่งกฎบัตรหรือข้อบังคับนี้จะเป็นการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของพนักงานในองค์กร ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรและประเทศ จะทำให้พนักงานในองค์กร มีวินัย มีความปลอดภัย ต่อชีวิต ร่างกายหรืออนามัย อันเนื่องจากการใช้รถใช้ถนน รวมถึงจะเป็นการป้องกันและลดการสูญเสีย อันเป็นการแสดงถึงความรักความห่วงใยในพนักงานในที่ทำงาน อีกทั้งจะช่วยลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในกรณีที่พนักงานของบริษัทประสบอุบัติเหตุทางถนน อีกด้วย

“อุบัติเหตุทางถนน” ถ้าทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กรช่วยกัน ก็จะสามารถ หยุดการเกิดอุบัติเหตุได้ เริ่มที่ตัวเรา ปฏิบัติตามกฎจราจร ไม่ขับรถเร็ว เพื่อลดความเสี่ยง และสำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ อย่าลืมสวมหมวกกันน็อก ทั้งผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้าย เพราะรถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูง ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนท้ายต้องมีอุปกรณ์นิรภัย คือ หมวกกันน็อก ไว้ป้องการการบาดเจ็บทางศีรษะ

หากพบเห็นหรือประสบอุบัติเหตุทางถนน สามารถโทรแจ้งเหตุได้ทันทีที่ Call Center บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด โทร.1791 จะมีเจ้าหน้าที่คอยประสานงาน ช่วยเหลือ และให้คำแนะนำ ตลอด 24 ชั่วโมง

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img