Monday, 23 December 2024 | 5 : 34 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Monday, 23 December 2024 | 5 : 34 am
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

คปภ. โปรโมท “ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล” รองรับไลฟ์สไตล์สังคมยุคดิจิทัล ตอบโจทย์ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต และนักช้อปออนไลน์

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. มีมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง ทั้งจากการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ เพื่อช่วยบรรเทาเยียวยาความเดือดร้อนเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น โดยการสนับสนุนให้บริษัทประกันภัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยและบริการที่ตอบโจทย์ทุกมิติความเสี่ยงและความต้องการ รวมถึงกำลังซื้อของประชาชน ตลอดจนช่องทางการจำหน่ายที่เข้าถึงได้อย่างสะดวกและง่ายยิ่งขึ้น

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังจากรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งระบบการชำระเงินแบบอีเพย์เมนต์ (E-Payment) และระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) ทำให้ประชาชนใช้บริการทางการเงินและทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประชาชนมีพฤติกรรมการซื้อขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น รวมถึงวิถีชีวิตแบบใหม่ในยุคดิจิทัล เพื่อปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ หากเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายจากการใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตและการซื้อขายสินค้าออนไลน์

สำนักงาน คปภ. ขอแนะนำประชาชนให้นำระบบประกันภัยเข้าไปช่วยบริหารความเสี่ยงกรณีเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายดังกล่าว โดยนายทะเบียนประกันภัย ได้เห็นชอบแบบ ข้อความและอัตราเบี้ยประกันภัยกรมธรรม์ประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล ของบริษัทประกันวินาศภัยไปแล้ว จำนวน 5 บริษัท ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเอาประกันภัยและความคุ้มครองที่เลือกซื้อ โดยมีเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 200 บาท จนถึง 1,000 กว่าบาทต่อปี และหลายบริษัทอยู่ระหว่างจัดแผนประกันภัยให้สามารถเลือกซื้อได้

สำหรับความคุ้มครองของการประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล สามารถแบ่งออกเป็น 8 แบบความคุ้มครองหลัก ๆ ดังนี้

ความคุ้มครองแบบที่ 1 การถูกโจรกรรมเงินทางอินเทอร์เน็ต ที่เกิดจากการถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล หรือการถูกโจมตีแบบฟิชชิ่ง โดยกระทำจากบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเงิน หรือค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ตามหลักฐานที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 2 การถูกกรรโชกทรัพย์ทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเงินเรียกค่าไถ่ที่สูญเสียไป หรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการแก้ไขเหตุการณ์ดังกล่าว ตามหลักฐานที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 3 การถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตโดยการกระทำจากบุคคลภายนอก ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี หรือค่าใช้จ่ายในการรักษาทางจิตวิทยา ตามหลักฐานที่เกิดขึ้นแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 4 การถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีตามหลักฐานที่เกิดขึ้นและไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 5 การคุกคามทางอินเทอร์เน็ตโดยกระทำจากบุคคลภายนอก บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น ดังนี้ 1) ค่าใช้จ่ายในการกู้ข้อมูลหรือการล้างข้อมูลบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล 2) ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนฮาร์ดแวร์บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล 3) ค่าใช้จ่ายในการกู้ข้อมูล หรือการล้างข้อมูลที่เป็นอันตรายต่อบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่มีการติดตั้งระบบการควบคุมและเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนบุคคล ตามหลักฐานที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 6 การซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต กรณีถูกหลอกลวงให้สั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตและชำระเงินค่าสินค้าให้กับผู้ขายแล้ว แต่ผู้ขายไม่จัดส่งสินค้าให้ภายในเวลาที่กำหนด บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับจำนวนเงินที่ได้ชำระให้กับผู้ขายเพื่อซื้อสินค้าดังกล่าวตามใบเสร็จและไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 7 การขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต กรณีถูกหลอกลวงให้ขายและได้มีการจัดส่งสินค้าให้กับผู้ซื้อสินค้าออนไลน์แล้ว แต่ไม่ได้รับเงินค่าสินค้าภายในเวลาที่กำหนด บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับจำนวนเงินที่ไม่ได้รับการชำระเงินค่าสินค้าดังกล่าวตามใบเสร็จและไม่สามารถเรียกร้องได้จากผู้รับผิดชอบจากแหล่งอื่น แต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

ความคุ้มครองแบบที่ 8 ความรับผิดตามกฎหมายต่อบุคคลภายนอกอันเกิดจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลทางอินเทอร์เน็ต บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามกฎหมายตามหลักฐานที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่เกินวงเงินความคุ้มครองที่ซื้อไว้

“แม้ความเสี่ยงด้านไซเบอร์ส่วนบุคคล จะสามารถบริหารจัดการเพื่อควบคุมและลดความเสี่ยงได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับประชาชน หากเกิดความสูญเสียหรือความเสียหายแล้วอาจจะมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา การทำประกันภัยไซเบอร์ส่วนบุคคล จึงเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อโอนความเสี่ยงไปให้บริษัทประกันภัยรับผิดชอบ หากเกิดเหตุการณ์ตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัย โดยเฉพาะการบริหารความเสี่ยงในการใช้ชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพของประชาชนยุคเศรษฐกิจดิจทัล ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อสายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img