Saturday, 11 January 2025 | 3 : 06 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Saturday, 11 January 2025 | 3 : 06 am
spot_img
คปภ. ร่วมประชุมวิชาการ “ชวนหมอรู้” จับมือภาคธุรกิจประกันภัย ยกระดับประกันสุขภาพเอกชน เพื่อพัฒนาระบบสังคมและสุขภาพของไทยสู่ความยั่งยืน   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ครบรอบ 76 ปี ใช้พลังความรักขับเคลื่อนธุรกิจ ส่งมอบอนาคตที่ยั่งยืนให้กับทุก Generation   •   กรุงเทพประกันชีวิต จุดเริ่มต้นความยั่งยืน เริ่มที่ความ “ใส่ใจ”   •   พันธมิตรมั่นใจ! นวัตกรรม SCG 3D Printing เติบโตทั่วโลก พลิกโฉมวงการก่อสร้างด้วยเทคโนโลยี เดินหน้ารุกตลาดก่อสร้างบ้านในประเทศญี่ปุ่น   •   อลิอันซ์ อยุธยา แต่งตั้งรองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานบริหารตัวแทนคนใหม่   •   SCG ผู้นำด้านความยั่งยืน รับรางวัล “หุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ระดับ AAA” ปี 2024 จากตลาดหลักทรัพย์ฯ   •   18–19 มกราคม ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ สวัสดีปีใหม่ด้วย “โปรใหม่” แจกไม่หยุด ให้ส่วนลดสูงสุด 3 แสน!   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต มอบประสบการณ์เอาใจคอลูกหนัง เนรมิตพื้นที่ อาริฟุตบอล สู่สนามจำลองให้ลูกค้าคนสำคัญได้รับชมสดแมตช์แดงเดือด ลิเวอร์พูล-แมนยูฯ   •   เมืองไทยประกันชีวิต จัดงาน “KICK OFF 2025” บานเย็น…บานสะพรั่งทั่วประเทศ รวมพลังตัวแทนทั่วประเทศอย่างยิ่งใหญ่   •   เคทีซี ผนึกสมาชิกส่งต่อน้ำใจสีเขียวสู่สภากาชาดไทย จากโครงการ E-Statement   •   วิริยะประกันภัย สนับสนุนมูลนิธิเรารักสวนลุมพินี ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนไทย   •   ธ.ก.ส. ส่งมอบความสุขให้กับเยาวชนทั่วประเทศ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568   •   กองทุนเปิด เอไอเอ อินคัม ฟันด์ (AIA-IC) ได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวจาก Morningstar THAILAND ประเภทกองทุน mid/long term bond   •   TQM มอบเงินสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้า มูลนิธิรามาธิบดี   •   อบาคัส ดิจิทัล ปฏิวัติสินเชื่อไทย ชู AI แก้หนี้นอกระบบ เผย “มันนี่ทันเดอร์” ปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คุมหนี้เสียดีกว่าตลาด 2 เท่า
spot_img

“พาณิชย์-DITP” แนะไทยใช้จังหวะโครเอเชียเป็นสมาชิกยูโรโซน-เขตเชงเก้นดันส่งออกสินค้าไปขาย

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) แนะไทยใช้จังหวะโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกเขตยูโรโซนและเขตเชงเก้น ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ผลักดันส่งออกเครื่องปรับอากาศ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ข้าว อาหารทะเล เครื่องปรุงรส อาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์ เข้าสู่ตลาด รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั้งการบริโภคในประเทศและจากนักท่องเที่ยวที่จะเข้าไปมากขึ้น

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มอบหมายให้กรมฯ สำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับข้อมูลจาก

นางสาวฐะปะนีย์ เครื่องประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงบูดาเปสต์ กล่าวถึงผลกระทบและโอกาสที่โครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกเขตเขตยูโร (Eurozone) และเขตเชงเก้น (Schengen Area) อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ทำให้โครเอเชียเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 20 ของเขตยูโรโซน และลำดับที่ 27 ของเขตเชงเก้น

โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกเขตยูโรโซนและเขตเชงเก้นว่ามีการเปลี่ยนป้ายแสดงราคาสินค้าและบริการ โดยเพิ่มเงินสกุลยูโร และยังคงปิดป้ายทั้งเงินสกุลคูน่าและยูโรจนถึงวันที่ 31 ธ.ค.2566 เพื่อให้ทราบราคาเดิม แต่จะซื้อขายเป็นเงินยูโรเท่านั้น และยังมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 700 ยูโรต่อเดือน เพิ่มขึ้น 12.5% โดยผลจากการปรับใช้เงินยูโรและการขึ้นค่าแรง ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้าเพิ่มขึ้น 3-19% และธุรกิจบริการเพิ่ม 10-80% ซึ่งรัฐบาลโครเอเชียได้เข้ามาแก้ไขปัญหาในทันที ด้วยการสั่งให้กลับไปใช้ราคาในวันที่ 31 ธ.ค.2565 และหากมีการฉวยโอกาส จะดำเนินการตามกฎหมาย

สำหรับการเดินทางเข้าออกประเทศ ทูตพาณิชย์รายงานว่าเมื่อโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกเขตเชงเก้นจึงจำเป็นต้องยกเลิกการตรวจเอกสารประจำตัว ณ จุดผ่านแดนทางบก ระหว่างชายแดนโครเอเชีย-สโลวีเนีย และโครเอเชีย-ฮังการี ตลอดจนด่านตรวจคนเข้าเมืองในท่าอากาศยานและท่าเรือ นานาชาติ ทำให้ผู้เดินทางเข้าออกโครเอเชีย ไม่ต้องเสียเวลาตรวจเอกสารประจำตัวที่จุดผ่านแดน ส่วนพลเมืองสหภาพยุโรปสามารถเดินทางข้ามพรมแดนโครเอเชียได้ โดยใช้เพียงแค่บัตรประจำตัวประชาชนที่ออกโดยหน่วยงานรัฐของประเทศของตน ไม่ต้องใช้หนังสือเดินทางสำหรับนักท่องเที่ยวจากนอกสหภาพยุโรปที่ต้องการขอวีซ่าระยะสั้นเพื่อมาเยือนเป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน สถานทูตและสถานกงสุลโครเอเชียทั่วโลกจะออกวีซ่าเชงเก้นให้ ซึ่งจะใช้เดินทางเข้าประเทศสมาชิกเขตเชงเก้นอีก 26 ประเทศ และประเทศนอกความตกลงที่อนุโลมให้ใช้วีซ่าเชงเก้นที่ยังไม่หมดอายุเข้าประเทศได้ด้วย เช่น โรมาเนีย บัลแกเรีย เซอร์เบีย เป็นต้น

นายภูสิต กล่าวว่า เมื่อโครเอเชียเข้าเป็นสมาชิกเขตเชงเก้นและเขตยูโรโซน คาดว่าเศรษฐกิจโครเอเชียจะมีเสถียรภาพมากขึ้น จากรายได้เข้าประเทศที่มากขึ้น การดึงดูดนักลงทุน และการเพิ่มกิจกรรมทางการค้าระหว่างประเทศจากประเทศที่ใช้เงินยูโรเป็นสกุลเงินหลักมากขึ้น โดยในเชิงการเมือง การขยายสมาชิกภาพเขตยูโรโซนจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนทั้งในและนอกสหภาพยุโรป แต่ก็ต้องจับตาในเรื่องเงินเฟ้อ ที่จะมีผลทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและสภาพคล่องทางการเงินของทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศ

อย่างไรก็ตาม จากแนวโน้มการฟื้นตัวของกำลังซื้อของประชาชนในโครเอเชีย และภาคการท่องเที่ยว ที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวในโครเอเชียเพิ่มมากขึ้น เป็นโอกาสของผู้ผลิตและผู้ส่งออกของไทย ที่จะขยายการค้าเข้าสู่ตลาดโครเอเชีย โดยสินค้าที่มีศักยภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยางและยางพารา ข้าว อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่ดีต่อสุขภาพ เครื่องปรุงรสอาหารไทย รวมถึงอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ www.ditp.go.th หรือสายตรงการค้าระหว่างประเทศ โทร 1169

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img