วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 – 9.00 น. – นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการค้าออนไลน์สู่ตลาดโลกหลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ถ.รัชดาภิเษก
โดยไฮไลน์งานสัมมนานี้มีช่วงที่นายนายจุรินทร์ได้ร่วมพูดคุยกับเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมออนไลน์ จากภูมิภาคต่างๆ อาทิ นายสมภพ คูนาบุตร จากจังหวัดร้อยเอ็ดผู้ผลิตข้าวพองอบกรอบรสลาบร้อยเอ็ด ซึ่งนายจุรินทร์ ร่วมชื่นชมว่าเป็นเกษตรนวัตกรรมซึ่งตรงกับสิ่งที่รัฐบาลให้การสนับสนุน และทำให้มีมูลค่าทางการค้าสูงขึ้น นางณัฐนิช กิจยานุรักษ์ จากจังหวัดเชียงใหม่ ผู้ผลิตสินค้าเมล่อนกรอบโดยใช้นวัตกรรมสูญญากาศผลิตร่วมกับเครือข่ายในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมากกว่า 10 ฟาร์ม และ นายชัยยศ จันทร์ทองสา จากจังหวัดขอนแก่นผู้ผลิตข้าวฮางงอกผสมธัญพืชตรากระติ๊บโต ซึ่งต้องการเจาะกลุ่มผู้รักสุขภาพวีแกนและมังสวิรัติ และมีบรรยากาศแบบเสียงไก่ขันแทรกเข้ามาในระหว่างพูดคุยสอบถามซึ่งเจ้าของผลิตยี่ห้อกระติ๊บโตก็อธิบายระหว่างใช้กระด้งผัดข้าวสารไปด้วยเต็มไปด้วยรอยยิ้มอย่างเป็นกันเอง และนายจุรินทร์ตอกย้ำความสำคัญของการตลาดและต้องการสร้างทัพหน้าที่ทำหน้าที่เซลล์แมนออนไลน์บุกตลาดออนไลน์โลกให้สำเร็จ
นายจุรินทร์ กล่าวเปิดการสัมมนาว่า งานสัมมนามิติใหม่ใน รูปแบบการสัมมนาออนไลน์ ภายใต้โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการค้าออนไลน์สู่ ตลาดโล หลักสูตร “Smart Farmer ออนไลน์สู่ตลาดโลก” ที่จัดโดย สถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยโครงการเกิดขึ้นในหลักคิด เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด ที่ต่อไปนี้จะต้องมีการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ จะแยกส่วนการทำงานเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ เพราะทั้งสองกระทรวงนี้ทั้งการผลิตและการตลาดนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน ถ้ามีแต่ภาคการผลิต แต่ไม่มีภาคการตลาดการผลิตก็จะประสบปัญหาเพราะผลิตแล้วไม่ทราบว่าจะเอาไประบายที่ไหนด้วยวิธีไหนอย่างไร ถ้ามีแต่การตลาดขายได้แต่ไม่มีของจะขายก็ไม่ทราบว่าจะเอาไปขายที่ไหน จึงจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กันไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไปคือเปลี่ยนเข้าสู่ยุค New Normal ทางเศรษฐกิจ อีคอมเมิร์ซหรือการค้าออนไลน์ จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นและจะทวีความสำคัญ จนกระทั่งจะกลายเป็น New Normal ทางเศรษฐกิจที่ทุกคนให้การยอมรับ โดยเฉพาะในช่วงที่เราประสบกับภัยโควิดการจัดการสัมมนาอบรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการส่งออกโดยระบบอีคอมเมิร์ซถือระบบออนไลน์จึงเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์เป็นอย่างยิ่งและการมุ่งเน้นในเรื่องสินค้าทางการเกษตรเพราะสินค้าทางการเกษตรถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อตัวเลขการส่งออกของประเทศและพบว่าพื้นที่ถึงร้อยละ 40 ของประเทศเป็นพื้นที่ทางการเกษตร มีเกษตรกรที่ประกอบอาชีพนี้ถึงประมาณ 10 ล้านคน
สำหรับกระทรวงพาณิชย์ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการในเรื่องของการตลาดเพื่อระบายพืชผลทางการเกษตรหลายชนิด โดยเฉพาะการจัดโครงการระบายผลไม้ซึ่งช่วงนี้กำลังเป็นช่วงที่ผลไม้ออกสู่ตลาดหลายชนิดด้วยกันและที่ผ่านมาเราได้มีการดำเนินการตั้งเป้าหมายที่มีความชัดเจนว่ากระทรวงพาณิชย์ที่ทำหน้าที่ทางการตลาด จะเข้าไปช่วยเกษตรกรในการทำให้ผลไม้ทั้งตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ และจะใช้กลไกรูปแบบการขายทั้งการขายแบบออฟไลน์ และออนไลน์ สำหรับตลาดในประเทศคือการระบายผลไม้ผ่านตลาดไท สำหรับแบบออฟไลน์ที่เป็นค่าส่งทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งตามห้างสรรพสินค้าต่างๆที่ในแผนกซุปเปอร์มาร์เก็ตยังสามารถขายผลไม้ให้กับเกษตรกรได้โดยในส่วนของตลาดออนไลน์นั้นเรามุ่งเน้นทั้งในตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศไม่กี่วันที่ผ่านมาได้เปิดโครงการสำหรับการระบายผลไม้คือ Thailand Fruits Golden Months คือ การส่งเสริมการบริโภคทั้งภายในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศในช่วง 2 เดือนคือ 2 เดือนทองสำหรับการบริโภคผลไม้ของไทยคุณภาพในราคาพิเศษ สำหรับการขายในประเทศออนไลน์มีแพลตฟอร์มชั้นนำของไทยหลายแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวสวนพลผลไม้ได้ขายผ่านแพลตฟอร์มเหล่านี้ Thailandpostmart, Shopee, Lazada, JD Central, Jatujakmall, Cloudmall, The Hub Thailand และ Octorocket.asia ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดําเนินการแล้ว
สําหรับด้านตลาดต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งส่งเสริมการ ส่งออกผลไม้ไทยเชิงรุกผ่านช่องทางออนไลน์ ด้วยการร่วมมือกับแพล็ตฟอร์มระดับ โลก หลายแพลตฟอร์มด้วยกันได้แก่ Tmall (จีน), Bigbasket (อินเดีย), Khaleang.com (กัมพูชา), Aeon (ญี่ปุ่น), Amazon (สิงคโปร์และสหรัฐฯ) และ Lotte (เกาหลีใต้) เป็นต้น รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายออนไลน์กับเว็บไซต์พันธมิตรในตลาดอาเซียน จีน และยุโรป และเพิ่มกิจกรรมเจรจาธุรกิจผ่านทางออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดได้มีการเจรจากับผู้นําเข้ามะม่วงจากเกาหลี โดยนำเข้าผ่านการเจรจาออนไลน์แล้วได้ 3,200 ตัน มูลค่าถึง 15 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นต้น
“การจัดงานสัมมนาออนไลน์วันนี้มีคนเข้าร่วมถึง 200 คนถือเป็นปรากฏการณ์ที่ดีถือว่าเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ให้ความสนใจกับการค้าออนไลน์ซึ่งสอดคล้องกับ New Normal ทางการค้ายุคใหม่ของประเทศและของโลก จึงขอแสดงความยินดีและหวังว่าการจัดงานสัมมนาครั้งนี้จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายช่วยให้เราสามารถสร้างทัพหน้าทางการค้าออนไลน์ ให้เกิดขึ้นได้อีกอย่างน้อย 200 คนที่จะไปบุกตลาดโลกผ่านระบบออนไลน์เพื่อขายสินค้าทางการเกษตรนำรายได้ให้กับประเทศและจะทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์ทั่วโลกเป็นทีมเซลล์แมนที่มีศักยภาพให้กับประเทศไทยในอนาคต” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว