Tuesday, 31 December 2024 | 12 : 11 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Tuesday, 31 December 2024 | 12 : 11 am
spot_img
บอร์ด คปภ. เห็นชอบให้ เคดับบลิวไอ ประกันชีวิต ขยายกําหนดเวลาการแก้ไขฐานะการเงินและการดําเนินงาน จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568   •   เมืองไทยประกันภัย จ่ายสินไหม 2 แสนบาท ตามความคุ้มครอง ครอบครัวน้องเหมย เหตุเสียชีวิตเครื่องบินไถลที่เกาหลีใต้   •   SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต และ ธอส. รุดมอบสินไหมเยียวยาครอบครัว กรณีอุบัติเหตุสายการบินเชจูแอร์ ที่เกาหลีใต้   •   คปภ. เร่งช่วยเหลือด้านประกันภัยเหตุเครื่องบินเชจูแอร์ไถลตกรันเวย์ที่เกาหลีใต้ พร้อมตรวจสอบสิทธิคุ้มครองผู้เสียชีวิตชาวไทย   •   การเคหะแห่งชาติ ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ถวายเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าอยู่หัว 72 พรรษา   •   ธนชาตประกันภัย มอบประกันอุบัติเหตุ-ประกันบ้านฟรี! ปีใหม่ 2568 เดินทางปลอดภัย คุ้มครองดูแลบ้านให้นาน 30 วัน   •   เคทีซี ตอกย้ำผู้นำคะแนนน้อยอร่อยมาก ฉลองยิ่งใหญ่ 10 ปี ‘บุฟเฟ่ต์ มา 2 จ่าย 1’   •   ออมสิน มอบปฏิทินอักษรเบรลล์ 2568 เติมเต็มความเท่าเทียมให้ผู้พิการทางสายตา   •   ลูกค้าธนชาตประกันภัย มั่นใจได้ ปกป้องข้อมูลส่วนตัวด้วยมาตรฐาน IT Security ระดับสากล   •   ธ.ก.ส. ส่งความสุข รับปีใหม่ 2568 จัด 2 มาตรการช่วยลดภาระหนี้สิน พร้อมเติมทุน เสริมสภาพคล่องด้วย 3 สินเชื่อเพื่อลูกค้า ธ.ก.ส.   •   กรุงเทพประกันภัย-กรมสุขภาพจิต จับมือส่งเสริมสุขภาพใจ พร้อมสร้างความเข้าใจภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน สู่การป้องกันที่ยั่งยืน   •   เมืองไทยประกันชีวิต และ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ออกหน่วยบริการตรวจวัดสายตาและมอบแว่นตาให้ผู้สูงอายุต่อเนื่อง ปีที่ 6   •   การเคหะแห่งชาติ จัดโปรบ้านคุ้มค่า ราคาโดนใจ รับปีใหม่ 2568   •   “CIMB THAI TRIATHLON 2024” ไตรกีฬารักษ์โลก เปลี่ยนเสื้อไตรกีฬาสู่เสื้อนักเรียน ส่งมอบให้ ร.ร. และน้องๆ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์   •   ออมสิน มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ให้ลูกค้าที่มีประวัติชำระหนี้ดี รายละ 1,000 บาท
spot_img

สสส. ดันระบบแพทย์ฉุกเฉินสร้างมาตรฐานงานกีฬามวลชนสู่สากล พร้อมหนุนคนไทยเสริมทักษะ CPR ลดภาวะวิกฤติเสียชีวิต

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญและสนับสนุนให้งานแข่งขันกีฬามวลชนทุกประเภทและทุกระดับในไทย มีการวางระบบความปลอดภัยทางการแพทย์ฉุกเฉิน (Medical Race Director) เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันกรณีนักกีฬาหรือผู้เข้าร่วมงานเกิดภาวะวูบหมดสติและหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายและสมองตามปกติได้ ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตหากได้รับความช่วยเหลือล่าช้า ซึ่งตามสถิติในไทยพบผู้เสียชีวิตระหว่างการแข่งขันกีฬาด้วยอาการดังกล่าวประมาณ 1 ต่อ 200,000 คน
ที่สำคัญที่สุดคือภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศวัย แม้แต่ผู้มีสุขภาพแข็งแรงโดยปราศจากสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการ สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ กล่าวว่า สสส.ได้สร้างต้นแบบการวางระบบความปลอดภัยทางการแพทย์ฉุกเฉินในการจัดกีฬามวลชนไทยในงาน “Thai Health Day Run 2022 วิ่งสู่วิถีชีวิตใหม่” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อลดการบาดเจ็บหรือการสูญเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันและหมดสติ แม้ว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีขึ้นมีน้อยแต่ก็ไม่ควรประมาณ เพราะสสส.มีหน้าที่สนับสนุนให้คนไทยทุกกลุ่มวัยมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ เพื่อลดพฤติกรรมเนือยนิ่งและป้องกันโรคไม่ติดต่อ หรือ NCDs ดังนั้นคงไม่ดีแน่ถ้าหากระหว่างการมีกิจกรรมทางกายหรือการเข่งขันกีฬามวลชนจะสร้างความสูญเสียระดับชีวิต และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดกีฬามวลชนในระดับสากลอีกด้วย

“การจัดงานกีฬามวลชนทุกประเภทและทุกระดับ ควรมีมาตรฐานความปลอดภัยทางการแพทย์ โดยทีมแพทย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญการกู้ชีพ มีเครื่องไม้เครื่องมือที่พร้อมโดยเฉพาะเครื่องกระตุ้นหัวใจหรือ AED จึงสำคัญที่สุด เพื่อเฝ้าระวังและประเมินโอกาสที่นักกีฬาจะได้รับการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตหากเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ซึ่งจำเป็นจะต้องให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ดังนั้นการเตรียมพร้อมไว้ก่อน ก็เท่ากับการลดโอกาสการสูญเสียชีวิตได้” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว

CPR จำเป็นเรียนรู้ กู้ชีวิตคนใกล้ตัว
ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า คนไทยทุกเพศวัยมีโอกาสที่จะเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันจนนำไปสู่การเสียชีวิตได้ แม้จะไม่ใช่ผู้ที่มีกิจกรรมทางกายหรือเล่นกีฬาหนักๆ เพราะปัจจุบันยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงได้อย่างชัดเจน ดังนั้นตัวเราเองรวมทั้งคนใกล้ชิดก็อาจเป็นหนึ่งในผู้เคราะห์ร้าย เพราะฉะนั้นคนไทยทุกคนจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อฟื้นคืนชีพแก่ผู้หยุดหายใจ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้กลับมามีชีพจรดังเดิม (Cardio Pulmonary Resuscitation : CPR) ซึ่งสสส.และภาคีเครือข่ายได้เร่งสนับสนุนการจัดอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

ทำ CPR อย่างไรเมื่อภัยมา กับ 4 นาทีชีวิตพิชิตการสูญเสีย

นพ.ภัทรภณ อติเมธิน แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้เชียวชาญด้านการวิ่งและอาการบาดเจ็บจากการวิ่ง สมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (TMPSA)ให้คำแนะนำว่า เมื่อพบเห็นผู้มีอาการวูบหมดสติ หรือล้มลงโดยไม่มีสาเหตุให้รีบเข้าไปช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยการทำ CPR และใช้เครื่อง AED ทันที ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้

  1. ตั้งสติ และทำการตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรอบว่ามีความปลอดภัยเพียงพอและไม่มีอันตราย ทั้งต่อตัวผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือ และผู้ป่วย
  2. สำรวจอาการผู้ป่วย ว่ามีชีพจรและหายใจหรือไม่ โดยพิจารณาจากการขยับขึ้นลงของหน้าอก
  3. เริ่มต้นปลุกด้วยเสียงพร้อมๆ กับการสัมผัสโดยการตบบ่าทั้ง 2 ข้างของผู้มีป่วย หากไม่รู้สึกตัวและ
    ไม่หายใจ ให้เข้าสู่กระบวนการทำ CPR ทันที เพราะการปล่อยให้ล่าช้านานเท่าไหร่โอกาสการรอดชีวิตก็จะลดลง โดยเริ่มจากการนั่งคุกเข่ายกก้นขึ้น วางส้นมือข้างที่ถนัดบนบริเวณกึ่งกลางของหน้าอกในตำแหน่งของหัวใจแล้วใช้อีกมือประกอบเยือดแขนตรง จากนั้นใช้แรงกดจากหัวไหล่และลำตัวกดตรงลงไปให้ลึกประมาณ 5-6 ซ.ม ด้วยความเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  4. ขอความช่วยเหลือจากผู้คนรอบข้าง หรือหากอยู่คนเดียวให้เปิดลำโพงโทรศัพท์ ติดต่อขอความช่วยเหลือหมายเลข 1669 โดยให้ระบุรายละเอียดของอาการ โดยเฉพาะอาการหมดสติ ไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น
  5. ระหว่างการทำ CPR ให้ผู้คนที่อยู่บริเวณนั้นนำเครื่อง AED โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้เครื่องและ
    กดปุ่มช็อกหัวใจจนกว่าหน่วยกู้ชีพ 1669 จะมาถึงที่เกิดเหตุ

“เมื่อเผชิญกับผู้ที่หมดสติหัวใจหยุดเต้น อยากให้คำนึงเสมอว่าถ้าไม่แน่ใจกับอาการให้รีบปั๊มหัวใจไว้ก่อน เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลยผู้ป่วยก็ไม่ฟื้นขึ้นมาก็เท่ากับไม่รอด แต่ถ้าลงมือช่วยโอกาสในการฟื้นก็เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้ขั้นตอนการทำ CPR จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกคนควรรู้และปฏิบัติได้ และแนะนำให้โหลดแอพพลิเคชั่น EMS 1669 หรือระบบรับแจ้งเหตุฉุกเฉินซึ่งจะสามารถเรียกรถพยาบาลและส่งตำแหน่งที่เกิดเหตุ รวมทั้งมีคำแนะนำในการทำ CPR และใช้เครื่อง AED อย่างชัดเจน” นพ.ภัทรภณ กล่าว

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img