Friday, 10 January 2025 | 3 : 37 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Friday, 10 January 2025 | 3 : 37 am
spot_img
วิริยะประกันภัย สนับสนุนมูลนิธิเรารักสวนลุมพินี ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนไทย   •   ธ.ก.ส. ส่งมอบความสุขให้กับเยาวชนทั่วประเทศ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 2568   •   กองทุนเปิด เอไอเอ อินคัม ฟันด์ (AIA-IC) ได้รับการจัดอันดับ 5 ดาวจาก Morningstar THAILAND ประเภทกองทุน mid/long term bond   •   TQM มอบเงินสนับสนุนโครงการรถไฟฟ้า มูลนิธิรามาธิบดี   •   อบาคัส ดิจิทัล ปฏิวัติสินเชื่อไทย ชู AI แก้หนี้นอกระบบ เผย “มันนี่ทันเดอร์” ปล่อยสินเชื่อแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้าน คุมหนี้เสียดีกว่าตลาด 2 เท่า   •   กลุ่มเอสซีบี เอกซ์ ส่งของขวัญวันเด็กเติมเต็มความสุขให้น้องๆ ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ในโครงการ “ของ (ขวัญ) พี่ให้น้อง” ปีที่ 6 เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2568   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย ขนกองทัพตัวแทนจัดงาน Agency Kick Off 2025   •   “กรุงศรี” ออมง่าย ได้เน้นๆ ไม่ต้องเสียภาษี กับเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน รับอัตราดอกเบี้ย 2.7 % ต่อปี   •   “มื้อนี้ K เลย” กับบัตรเครดิตกสิกรไทย จัดโปรแรงอร่อยคุ้มทั่วไทย รับเครดิตเงินคืน 15%* ไม่จำกัดยอดใช้จ่ายขั้นต่ำ   •   รักขา ดิจิทัล ประกาศความสำเร็จ ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลในประเทศไทย มุ่งเน้นความปลอดภัยครอบคลุมการจัดเก็บและบริหารจัดการสินทรัพย์ดิจิทัล   •   PEA จัดทำซีรีส์ “สบายซีรีส์” ต่อยอดแคมเปญ “PEA SABUY SERVICE สบายทุกเรื่องไฟฟ้า” สร้างความเข้าใจและเข้าถึงประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น   •   ชับบ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต ประกาศแต่งตั้ง วิรงค์ พัฒนกำจร ดำรงตำแหน่ง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่สายงานตัวแทน   •   แอกซ่า เตรียมคนไทยรับมือโรคภัยช่วงฤดูหนาว ส่งประกันสุขภาพ “ฮัลโหล เฮลธ์” ดูแลแบบดูโอ้ทั้งอุบัติเหตุและโรคติดเชื้อ พร้อมพ่วงบริการ AXA Telehealth ปรึกษาแพทย์ได้ทันทีผ่านโมบายแอป   •   ยูโอบี ประเทศไทย ร่วมเฉลิมฉลองความเป็นเลิศด้านอาหารในงานประกาศผลรางวัลมิชลิน ไกด์ 2025   •   ธ.ก.ส. จับมือ มูลนิธิข้าวไทยฯ ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพและความเป็นอยู่ของชาวนาไทย
spot_img

การเคหะแห่งชาติ แจงความคืบหน้าการดำเนินงานปี 2566 เดินหน้าฟื้นฟูและพัฒนาเมืองสู่ Smart Community เน้นสร้างโอกาสการเข้าถึงที่อยู่อาศัย ส่งเสริมการมีส่วนร่วม สร้างอาชีพ/รายได้ ตามแนวทาง “สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี”

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีภารกิจด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย รวมถึงกลุ่มครัวเรือนเปราะบางให้มีที่อยู่อาศัยที่ได้มาตรฐานในราคาที่เหมาะสมและสามารถรับภาระได้ ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 นี้ การเคหะแห่งชาติได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส ส่งผลให้ได้รับคะแนนผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ หรือ ITA จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 96.24 คะแนน (ผ่านดี) จาก 100 คะแนนเต็ม เป็นอันดับที่ 3 ของหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และอันดับที่ 16 ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่เข้าร่วมการประเมินจำนวน 51 แห่ง

ด้านความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาตินับตั้งแต่ปี 2519 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ได้พัฒนาที่อยู่อาศัยไปแล้ว 750,053 หน่วย โดยการเคหะแห่งชาติได้ปรับเปลี่ยนนโยบายจากการสร้างบ้านเพื่อขาย มาเน้นการสร้างบ้านเช่าให้มากขึ้น เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางได้อย่างทั่วถึง ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่ผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกัน โดยโครงการสำคัญคือ บ้านเคหะสุขประชา ซึ่งเป็นบ้านเช่าพร้อมอาชีพ และโครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย/โครงการรับคืนอาคารเช่าบ้านเช่า รวมถึงโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเมืองที่มุ่งสู่การเป็น Smart Community ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก

สำหรับความคืบหน้าโครงการบ้านเคหะสุขประชา “บ้านเช่าพร้อมอาชีพ” ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการนำร่อง จำนวน
2 โครงการ รวมทั้งสิ้น 572 หน่วย ได้แก่ โครงการแรกคือ โครงการบ้านเคหะสุขประชาร่มเกล้า จำนวน 270 หน่วย มีผู้ได้สิทธิเช่าเข้าอยู่เต็มโครงการแล้ว ส่วนพื้นที่เศรษฐกิจสุขประชาในโครงการดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างมินิมอลล์ ปัจจุบันมีความคืบหน้า 16 % โครงการที่สองคือ โครงการบ้านเคหะสุขประชาฉลองกรุง จำนวน 302 หน่วย มีผู้ได้สิทธิเช่าเข้าอยู่อาศัยจำนวน 184 หน่วย คิดเป็น 60.93% นอกจากนี้ การเคหะแห่งชาติได้จัดทำตลาดสุขประชามาร์เก็ต ฉลองกรุง จำนวน 150 แผง เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสุขประชา ขณะนี้มีผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเคหะสุขประชาฉลองกรุงและประชาชนทั่วไปเข้ามาค้าขายในตลาด จำนวน 71 แผง คงเหลือแผงว่างอีก 79 แผง

ในขณะที่ โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 1 (อาคารแปลง G) รองรับผู้อยู่อาศัยเดิมในโครงการเคหะชุมชนดินแดงแฟลตที่ 18-22 ภายหลังจากผู้อยู่อาศัยเข้าอยู่ครบทั้ง 334 หน่วยแล้ว การเคหะแห่งชาติได้ส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้อยู่อาศัยมาพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ขึ้นในชุมชน ได้แก่ กลุ่มเกษตรอาสาพอเพียง ทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษที่บริเวณดาดฟ้าชั้นที่ 28 สำหรับบริโภคและนำไปจำหน่าย

ส่วนรายได้ก็นำมาจัดสรรปันส่วนเป็นค่าแรงให้กับสมาชิกและซื้อเมล็ดพันธุ์เพิ่มเติม กลุ่มคัดแยกขยะรีไซเคิล จัดตั้งขึ้นเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนและสร้างวินัยในการออมให้กับสมาชิก ถือเป็นสวัสดิการชุมชน เช่น ช่วยเหลือสมาชิกเมื่อเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตนอกจากนี้ การเคหะแห่งชาติยังได้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จัดให้มีศูนย์สุขภาพชุมชนซึ่งตั้งอยู่บริเวณชั้น 7 เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้รับบริการการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุขในชุมชนเป็นผู้ดูแลอีกด้วย

ปัจจุบันการเคหะแห่งชาติอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1
เพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยเดิมในโครงการเคหะชุมชนดินแดงแฟลตที่ 23-32 จัดสร้างเป็นอาคารสูง 35 ชั้น จำนวน 1 อาคาร 612 หน่วย ขณะนี้มีความคืบหน้าการก่อสร้าง 69.85% เร็วกว่าแผน 5.58% (ข้อมูล ณ 19 สิงหาคม 2566) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานด้านสถาปัตยกรรมและงานระบบ คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณต้นปี 2567

ทั้งนี้ การเคหะแห่งชาติได้ถอดบทเรียนจากการดำเนินโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดงไปสู่การพัฒนาโครงการฟื้นฟูเมืองในชุมชนอื่น ๆ ได้แก่ ชุมชนห้วยขวาง ชุมชนรามอินทรา และชุมชนทุ่งสองห้อง

ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวต่อไปว่า การเคหะแห่งชาติยังได้ดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้การพัฒนาโครงการแบบผสมผสาน (Mixed-Use) ตามเส้นทางโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) ในพื้นที่ร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร บนที่ดินกรรมสิทธิ์ของการเคหะแห่งชาติ ตั้งอยู่ถนนร่วมพัฒนา แขวงลำผักชี เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เนื้อที่โดยรวมประมาณ 352 ไร่ ระยะที่ 1 ดำเนินการก่อสร้างประมาณ 8,000 หน่วย ภายใต้การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำรายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้โครงการฯ ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ศสช.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ก่อนนำเสนอคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ด้านโครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จัดสร้างขึ้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนในกลุ่มต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ใช้แรงงาน ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตลอดจนประชาชนผู้มีรายได้น้อยให้มีที่พักอาศัยที่ได้มาตรฐานในระดับราคาค่าเช่าที่เหมาะสม ซึ่งการเคหะแห่งชาติมีแผนจัดสร้างโครงการดังกล่าวรวมทั้งสิ้น จำนวน 50,979 หน่วย โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ ระหว่างปี 2560-2562 จำนวน 5,357 หน่วย ปัจจุบันการเคหะแห่งชาติได้จัดสร้างโครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย จำนวน 10 โครงการ ในพื้นที่ปริมณฑลและต่างจังหวัด โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้ตั้งเป้าหมายการทำสัญญาเช่า จำนวน 1,010 หน่วย จากจำนวนโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 1,466 หน่วย มีผู้ทำสัญญาเช่าและเข้าอยู่อาศัยแล้ว จำนวน 835 ราย คิดเป็นร้อยละ 57 จาก 1,466 หน่วย (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2566)

“จุดเด่นของโครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่แตกต่างจากห้องเช่าทั่วไปคือ การนำแนวคิดการออกแบบ
เพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) รวมถึงนำเกณฑ์ประเมินโครงการชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Eco Village) มาใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบ เพื่อให้โครงการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ภายในตัวห้องพักเน้นการออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับบ้านพักอาศัย ดูแลรักษาง่าย และสอดคล้องกับภูมิอากาศท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย”

ขณะที่การดำเนินการขอรับคืนโครงการอาคารเช่า มีเป้าหมายรับคืนอาคารเช่าจากบริษัทเอกชน จำนวน 60 สัญญา รวม 32,632 หน่วย ปัจจุบันมีการรับคืนอาคารเช่าจากบริษัทเอกชนแล้ว จำนวน 57 สัญญา จำนวน 28,741 หน่วย มีลูกค้าทำสัญญาเช่าโดยตรงกับการเคหะแห่งชาติ 11,762 หน่วย ภายหลังจากการเคหะแห่งชาตินำอาคารเช่ามาบริหารเอง ได้เข้ามาดูแลปรับปรุงโครงการและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้อยู่อาศัย ทั้งการปรับปรุงทัศนียภาพ การรักษาความสะอาด ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงการจ้างคนในชุมชนมาทำงานในตำแหน่งแม่บ้าน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ธุรการ หรือช่างเทคนิค รวมถึงได้กำหนดกลยุทธ์อัตราค่าเช่าที่ถูกลงเพื่อลดภาระเรื่องที่อยู่อาศัยให้กับประชาชน

พิเศษ! สำหรับลูกค้าที่กำลังมองหาห้องเช่าราคาประหยัด การเคหะแห่งชาติได้จัด โปรโมชันโครงการห้องเช่าราคาพิเศษ เริ่มต้นเพียง 40 บาทต่อวัน ผู้ที่สนใจโครงการฯ สามารถไปชมสถานที่จริงในทำเลที่ต้องการได้ทันที เพราะทุกห้อง ทุกโครงการ เป็นโครงการที่พร้อมเข้าอยู่อาศัย เพียงแค่มีรายได้ครัวเรือนไม่เกิน 30,000 บาท ทำสัญญาและจ่ายเงินค่าเช่า 1 เดือน และเงินประกันค่าเช่าห้องอีก 1 เดือน (รวมค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้าและน้ำประปาแล้ว) สามารถหิ้วกระเป๋าเข้าอยู่ได้ทันที สิ้นสุดโปรโมชันวันที่ 30 กันยายน 2566

โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญเพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงที่อยู่อาศัย โดยเป็น “เครื่องมือทางการเงิน” ช่วยลูกค้าที่ซื้อบ้านของการเคหะแห่งชาติแต่ไม่ผ่านการพิจารณาสินเชื่อจากสถาบันการเงิน สามารถขอสินเชื่อผ่านโครงการดังกล่าวได้ โดยมีคณะกรรมการบริหารการให้สินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย (คบส.) ของการเคหะแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาให้สินเชื่อกับลูกค้า เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 – 2566 ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว 2,132 ราย แบ่งออกเป็นกลุ่มลูกค้าทั่วไป 1,865 ราย กลุ่มเปราะบาง 267 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อฯ 1,389.015 ล้านบาท สำหรับในปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 – กรกฎาคม 2566) ให้สินเชื่อแก่ลูกค้าไปแล้ว 625 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อฯ 411.777 ล้านบาท

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ยังได้กล่าวถึงการเปิดจองที่อยู่อาศัยในงาน “มหกรรมบ้านการเคหะแห่งชาติ 2023”ระหว่างวันที่ 1- 8 กันยายน 2566 ที่ผ่านมาว่า การเคหะแห่งชาติจัดงานดังกล่าวภายใต้แนวคิด “คิดถึงบ้าน คิดถึงการเคหะฯ” ยกขบวนบ้านทำเลดีทั้งแบบขายและเช่าทั่วประเทศกว่า 10,000 หน่วย มาให้ประชาชนได้จองที่สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ คลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ สำนักงานเคหะนครหลวง และสำนักงานเคหะจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งภายในงานลูกค้าจะได้รับโปรโมชันส่วนลดสูงสุดถึง 80,000 บาท

“การเคหะแห่งชาติขับเคลื่อนทุกโครงการด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อพัฒนาและสร้างโอกาสในการเข้าถึงที่อยู่อาศัย
ของผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มครัวเรือนเปราะบาง รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติทั่วประเทศ อีกทั้งยังเปิดช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากพี่น้องประชาชนรวมถึงผู้อยู่อาศัยในทุกโครงการ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเองและนำมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานของการเคหะแห่งชาติให้สามารถตอบสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนให้ได้มากที่สุด” ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวย้ำ

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img