Sunday, 22 December 2024 | 9 : 24 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 9 : 24 am
spot_img
เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน   •   ธ.ก.ส. เตือนภัย! ระวังมิจฉาชีพทำหนังสือแอบอ้างเป็นธนาคาร เพื่อหลอกให้โอนเงิน   •   บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ผนึกเอไอเอสรุกขยายฐานสมาชิกใหม่ผ่าน e-Applicationเคทีซีเดินเกมรุกขยายฐานสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) ผ่านช่องทางของ
spot_img

ยูโอบี (ไทย) จับมือพันธมิตร เปิดตัวโครงการยู-โซลาร์ สนับสนุนระบบนิเวศอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์

ยูโอบี (ไทย) เปิดตัวโครงการ ยู-โซลาร์ สนับสนุนระบบนิเวศอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ จับมือพันธมิตร ได้แก่ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน), บางกอก โซลาร์ พาวเวอร์ และ เค.จี.โซล่า เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคธุรกิจและครัวเรือน

ธนาคารยูโอบี (ไทย) เปิดตัว โครงการยู-โซลาร์ (U-Solar) แพลตฟอร์มที่สนับสนุนระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ครบวงจรแห่งแรกของเอเชีย เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย ภายใต้โครงการนี้ ธนาคารยูโอบีจะเป็นเสมือนตัวกลางที่เข้าไปเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าด้านพลังงานแสงอาทิตย์ และช่วยในการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานสะอาด โดยโครงการนี้ได้เปิดตัวไปแล้วในอินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์

โดย ธนาคารยูโอบี นำเสนอโซลูชันทางการเงินแก่ผู้พัฒนาโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ สนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์นั้น ได้แก่ สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการพัฒนาโครงการ และสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างพอร์ตโฟลิโอ ตลอดจนการบริหารเงินสด ส่วนผู้รับเหมาออกแบบติดตั้ง (EPC Contractor) ธนาคารนำเสนอโซลูชันด้านการจัดการทางการเงินที่ครอบคลุมในทุกเรื่อง ตั้งแต่ หนังสือค้ำประกันการยื่นซองประมูลราคา เอกสารยืนยันการชำระเงิน หนังสือค้ำประกันการปฏิบัติงานตามสัญญา และเงินทุนหมุนเวียน

นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์แก่กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม องค์กรธุรกิจ และบ้านเรือน ที่กำลังมองหาโซลูชันเพื่อการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ โครงการยู-โซลาร์ ครอบคลุมโซลูชันแบบครบวงจรในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การจัดหาผู้ให้บริการด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นพันธมิตรของธนาคารยูโอบีในตลาดอื่นๆ ทั่วภูมิภาค โซลูชันทางการเงินสำหรับองค์กรธุรกิจหรือผู้ใช้ทั่วไป ในการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และการบำรุงรักษา เป็นต้น

ในงานเปิดตัวครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มาเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย นายอานุภาพ คูวินิชกุล ผู้อำนวยการอาวุโส สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เกียรติร่วมงาน

รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศมาอย่างต่อเนื่อง และตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จากปี 2562 ที่มีสัดส่วน 10% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด เพิ่มเป็น 37% หรือ 20,755 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อาทิ มาตรการส่งเสริมการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ feed-in tariff และรูปแบบ feed-in premium          

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า “เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลได้ออกนโยบายโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน 700 เมกะวัตต์ เพื่อส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และโรงไฟฟ้าประเภท ไฮบริด ระหว่างชีวมวล ก๊าซชีวภาพ กับพลังงานหมุนเวียนประเภทอื่น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม สอดคล้องตามนโยบายพลังงานเพื่อทุกคน “Energy for All” ของกระทรวงพลังงาน ที่มุ่งส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยได้เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนมากขึ้น ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาชุมชนอีกด้วย”

ด้านนายตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี (ไทย) กล่าวว่า “ภายใต้นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งขับเคลื่อนการเติบโตในภาคพลังงานหมุนเวียนนี้ เราเชื่อว่าโครงการยู-โซลาร์ จะสามารถเข้าไปช่วยสนับสนุนความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศไทย ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในภาคธุรกิจและภาคประชาชน และเชื่อว่าจะสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตสีเขียวให้กับประเทศไทย”

ทั้งนี้ ธนาคารยูโอบี (ไทย) ได้ร่วมกับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจด้านพลังงานแบบครบวงจรแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และพันธมิตรผู้รับเหมาออกแบบติดตั้ง (EPC Contractor) บางกอก โซลาร์ พาวเวอร์ และ เค.จี.โซล่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจและประชาชนทั่วไปที่ต้องการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งในเรื่องการติดตั้งระบบ การจัดหาผู้รับเหมา และแพคเกจบริการหลัง การขาย

ธนาคารยูโอบีสนับสนุนเงินทุนด้านค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และการบำรุงรักษา สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจในวงเงินสูงสุดถึง 45 ล้านบาท และสำหรับประชาชนทั่วไปมอบสิทธิประโยชน์ในการผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตในอัตราดอกเบี้ย 0% นานสูงสุด 24 เดือน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของโครงการ www.uobgroup.com/u-solar-th/index.page.

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img