Tuesday, 7 January 2025 | 4 : 02 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Tuesday, 7 January 2025 | 4 : 02 am
spot_img
เอไอเอ ประเทศไทย มอบเงินบริจาค 4 แสนบาท แก่มูลนิธิรามาธิบดีฯจากกิจกรรม “AIA Vitality Virtual Challenge 2024”   •   อุบัติเหตุทางถนนช่วงปีใหม่ 2568: บริษัทกลางฯ ร่วมกับบริษัทประกันภัย เร่งเยียวยาผู้ประสบภัยใน 24 ชั่วโมง   •   ออมสิน เปิดตัวกระปุก “น้องออมสินตัวตึง” ส่งเสริมการออมวันเด็กแห่งชาติ 2568 จองสิทธิ์ฝากเงินรับกระปุก 6 – 9 ม.ค. 2568 ที่เว็บไซต์/ Line : GSB Society และแอป MyMo   •   BAM แต่งตั้ง นายบรรยง วิเศษมงคลชัย รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร   •   เลขาธิการ คปภ. ตรวจเยี่ยมจุดบริการประชาชน จ.นครศรีธรรมราช พร้อมช่วยเหลือด้านประกันภัย ลดอุบัติเหตุช่วงปีใหม่ 2568   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต เปิดรับสมัครเยาวชนอายุ 13-15 ปี เข้าร่วมโครงการ KTAXA Know You Can Football Youth (U-15) Academy Season 5 ประเดิมสนามแรกต้นปีที่ จ.ขอนแก่น   •   เมืองไทยประกันภัย คว้า Set ESG Rating ระดับ AA ในปี 2567 ตอกย้ำการดำเนินงานด้วยแนวทางแห่งความยั่งยืน   •   SAM เข้าพบผู้บริหารภาครัฐ “สตง.- กรมสรรพากร” สวัสดีปีใหม่ 2568 พร้อมหารือถึงความร่วมมือกันในอนาคต   •   วิริยะประกันภัย สนับสนุนมูลนิธิเมาไม่ขับ ร่วมรณรงค์ “ปีใหม่ปลอดภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนน” 2568   •   คปภ. ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถทัวร์เสียหลักพุ่งชนต้นไม้ เสียชีวิต 5 ราย – บาดเจ็บจำนวนมาก ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี   •   Highlight 2024 : SCGD รุกตลาดอาเซียน เติบโตต่อเนื่อง ตามเป้าโต 2 เท่าในปี 2030   •   สลากออมทรัพย์ทวีสิน ชุดมรกตเต็มวงเงิน 1.5 แสนล้านบาทแล้ว! เตรียมลุ้นโชคครั้งใหม่ไปกับสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดหยกจักรพรรดิ เร็ว ๆ นี้   •   ชาวเกาะกูด จี้รัฐบาลยกเลิก MOU 44 ไม่ควรเสียดินแดนทางทะเลไปแม้แต่ตารางนิ้วเดียว   •   เด้งเต็มที่ เริ่มปีไม่มีสะดุด “ศุภาลัย โปรฮิป เด้งเลือกได้” อยากลด อยากฟรี…เลือกเลย!   •   กรุงเทพประกันภัย ส่งความสุขปีใหม่ด้วยปฏิทิน 2568
spot_img

“วราวุธ“ ชวนคนไทยร่วมเป็นเครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุ สร้างอาชีพสร้างรายได้ – แก้ปัญหาโครงสร้างประชากร

วันที่ 13 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) เป็นประธานแถลงข่าวเปิด “โครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน” เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ และพัฒนาศักยภาพผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน พร้อมสร้างกลไกการดูแลผู้สูงอายุครอบคลุมทุกมิติในระดับพื้นที่

โดยมี นายธเนศพล ธนบุณยวัฒน์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ศาสตราจารย์ ดร. นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะที่ปรึกษาติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนนโยบาย รมว.พม. พร้อมด้วย นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และผู้บริหารกระทรวง พม. เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมปกรณ์ อังศุสิงห์ ชั้น 2 อาคารกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวง พม. สะพานขาว กรุงเทพฯ

นายวราวุธ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตของโครงสร้างประชากร โดยสัดส่วนประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางกับอัตราการเกิดใหม่ของประชากรวัยเด็กและประชากรวัยแรงงานที่มีจำนวนลดลง โดยในปี 2566 พบว่า ประเทศไทย เข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งมีจำนวนผู้สูงอายุมากถึง 13 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่เด็กเกิดใหม่มีเพียง 5.18 แสนคน ส่งผลกระทบต่ออนาคตของประเทศในการเผชิญกับปัญหาภาวะพึ่งพิงของผู้สูงอายุ รวมถึงปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล ทั้งนี้ กระทรวง พม. ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ด้วยการสร้างระบบ กลไก และโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลและคุ้มครองผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่น

โดยเป้าหมายสำคัญมุ่งหวังให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขที่บ้านของตนเอง (Ageing in Place) ซึ่งครอบครัวเป็นกลไกสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงชุมชนท้องถิ่น อาทิ รพ.สต. อปท. อาสาสมัคร ชมรมผู้สูงอายุ เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผ่านกระบวนการปฏิบัติงานของผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในการทำหน้าที่ช่วยเหลือ ดูแล คุ้มครองพิทักษ์สิทธิ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุครอบคลุมในทุกมิติที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

นายวราวุธ กล่าวต่อไปว่า ในปี 2567 กระทรวง พม. ได้ดำเนินการโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน จำนวน 19 พื้นที่ 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พิษณุโลก สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี สกลนคร อุบลราชธานี สงขลา และปัตตานี มีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 35 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างฝึกอบรมหลักสูตรผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิ จำนวน 240 ชั่วโมง โดยมุ่งหวังให้ผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุกลุ่มนี้ จะเป็นกลไกสำคัญในการปกป้องคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง จำนวนทั้งสิ้น 73,642 คน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุทั้งหมดในพื้นที่นำร่อง

และในปี 2568 ได้มีแผนขยายผลโครงการฯ จำนวน 3,886 พื้นที่ ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศ และจะมีการสร้างผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 7,772 คน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลและคุ้มครองทางสังคมจำนวนทั้งสิ้น 6,174,854 คน โดยระยะยาว 4 ปี ตั้งเป้าผลักดันให้เกิดระบบการคุ้มครองผู้สูงอายุด้วยผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุครอบคลุมให้ทั่วทุกพื้นที่ จำนวน 75,032 พื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีผู้บริบาลคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ จำนวน 150,064 คน ซึ่งจะมีผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับการดูแลและคุ้มครอง จำนวนทั้งสิ้น 15,900,000 คน

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า วันนี้กระทรวง พม. โดยกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) มีความยินดีที่จะเปิดตัวโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ซึ่งวันนี้เราได้รับความร่วมมือจากพี่น้องทั่วประเทศ ทั้งภาคเหนือ กลาง อีสาน และใต้ เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ในการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ วันนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราทำงานในหลายจังหวัด ในการที่จะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปในแต่ละชุมชนเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทุกวันนี้ประเทศไทยของเราเป็นสังคมสูงอายุเต็มรูปแบบเรียบร้อยแล้ว และในอนาคตปริมาณผู้สูงอายุในประเทศไทยก็จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี ดังนั้นการที่ทุกฝ่ายจะต้องหันกลับมาให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านร่างกายและจิตใจ มิติทางด้านสังคม ด้านที่พักอาศัย รวมไปถึงเรื่องเทคโนโลยีต่างๆให้กับผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งเจ้าหน้าที่ของเราในวันนี้ ได้รับการฝึกอบรมและจะนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ไปขยายต่อในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งทั้งหมดที่เราทำในวันนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการที่จะแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่กระทรวง พม. ได้ทำ Workshop ไปเมื่อวันที่ 7 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมิติการดูแลผู้สูงอายุนั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แบ่งเบาภาระของคนรุ่นใหม่ ที่มีความกังวลว่าคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้สูงอายุในครอบครัวนั้น ใครจะเป็นผู้ดูแล และถ้าหากว่าจะต้องเลือกระหว่างการมีบุตรและการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในครอบครัวนั้น คนรุ่นใหม่ในวันนี้เลือกที่จะดูแลผู้สูงอายุก่อน ดังนั้น การที่กระทรวง พม. ได้เริ่มโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญที่แบ่งเบาภาระและสร้างความมั่นใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการที่จะมีครอบครัวและมีบุตรต่อไปในอนาคต และเป็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ประเทศไทยกำลังจะประเชิญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ด้านสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทย ขณะนี้เรามีผู้สูงอายุอยู่ประมาณ 13 ล้านคน คาดว่าอีกประมาณ 4-5 ปี จากนี้ไป ประเทศไทยจะมีแนวโน้มผู้สูงอายุเพิ่มเป็นประมาณ 15-17 ล้านคน แต่ไม่เกิน 10 ปี นี้เราจะมีผู้สูงอายุเกือบ 20 ล้านคน ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุขั้นสุดยอดเหมือนกับที่ประเทศญี่ปุ่น และการที่เราเป็นสังคมผู้สูงอายุขั้นสุดยอดนั้น จะก่อสร้างภาระให้กับคนวัยทำงานอย่างมหาศาล เพราะว่าอัตราส่วนในการแบกรับผู้สูงอายุจะกลายเป็นคนทำงานเพียงแค่สองคนต่อผู้สูงอายุหนึ่งคนเท่านั้น ดังนั้น การดูแลให้ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์และแข็งแรง ก็จะเป็นการแบ่งเบาภาระทางด้านงบประมาณ ด้านสาธารณสุข และบุคลากรทางสาธารณสุข และในทางเดียวกันนั้นก็ยังสามารถเพิ่มผลผลิต สร้างศักยภาพให้ผู้สูงอายุนั้นเป็นกลไกสำคัญในการที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับรากหญ้าขึ้นมา

สำหรับเจ้าหน้าที่ตอนนี้จุดเริ่มต้นโครงการ มีอยู่ 36 คน กระจายกันอยู่ทั่วแต่ละจังหวัดในประเทศไทย แต่ยังไม่ครบทุกจังหวัด เนื่องจากเพิ่งเป็นการเริ่มต้นโครงการ แต่เป้าหมายของเรานั้นจะต้องมีให้ครบทั้ง 76 จังหวัด ให้ครบทุกอำเภอ และแต่ละอำเภอนั้นอย่างต่ำก็จะมีเจ้าหน้าที่ 2,000-4,000 คน ฉะนั้น เจ้าหน้าที่ของเรานั้นจะเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งปีหน้านั้น อาจจะมีถึง 6,000 คน แต่ท้ายที่สุดแล้ว ต้องประมาณกว่า 10,000 คน ที่จะต้องดูแลผู้สูงอายุทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ของเราก็มีหน้าที่ในการเข้าไปตรวจเยี่ยมให้ความรู้และขยายผลต่อไป

นายวราวุธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้ กระทรวง พม. จะมีเจ้าหน้าที่ พมจ. ในทุกจังหวัด ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ในการดูแลคุณภาพชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุ และที่สำคัญโครงการนี้ จะเป็นกลไกสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างประชากรที่ตนได้พูดไว้ สำหรับประชาชนที่สนใจเข้ามาเป็นเครือข่ายนักบริบาลผู้สูงอายุ สามารถติดต่อได้ที่กรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) โดยมีค่าตอบแทนอยู่ที่ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเราอยากจะแสดงให้เห็นว่าการดูแลผู้สูงอายุนั้นสามารถทำเป็นอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ แต่จำเป็นต้องผ่านการฝึกอบรม 240 ชั่วโมง จะมีการสอนทั้ง 5 มิติ เมื่อมีภาคทฤษฎีแล้ว ต้องมีภาคปฏิบัติด้วยเช่นกัน

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img