Sunday, 22 December 2024 | 2 : 56 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 2 : 56 pm
spot_img
ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน   •   ธ.ก.ส. เตือนภัย! ระวังมิจฉาชีพทำหนังสือแอบอ้างเป็นธนาคาร เพื่อหลอกให้โอนเงิน
spot_img

ขสมก. ฟังเสียงคนกรุงฯ ปรับแผนฟื้นฟูให้ตอบโจทย์ ยกระดับคุณภาพชีวิตสู่ New Normal เตรียมพร้อมเสนอคณะรัฐมนตรี เร็วนี้

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. ออกแผนฟื้นฟูปี 2563 รับกระแสโพล“รถเมล์แบบไหนถูกใจคนกรุงฯ” หลังพบแผนฯเดิมมีบางข้อไม่ตอบโจทย์ผู้ใช้บริการ และไม่ทันยุค Covid-19  เน้นความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นฐานของประชาชนทั้งด้านบริการ ความสะดวก ปลอดภัย ถูกสุขอนามัยตามวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) หวังเปลี่ยนโฉมสู่การเป็นรถเมล์สาธารณะของคนไทย ให้บริการสังคมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ล่าสุดผ่านความเห็นชอบคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) แล้ว เตรียมเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนสิงหาคมนี้

นายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก) กล่าวถึงการปรับแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. ที่ได้มีการปรับแผนใหม่ล่าสุด ทันต่อยุค Covid-19 ว่า “ขสมก.ได้เคยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ เมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี แต่เนื่องจากเรายังมีโจทย์ที่จะต้องปรับแผนให้รอบคอบรัดกุม สามารถแก้ปัญหาเรื้อรัง ทั้งสถานะทางการเงิน สภาพรถเก่าและจำนวนรถโดยสาร การปรับโครงสร้างองค์กร ต้นทุนการดำเนินงานที่สูง และการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีด้าน IT ของหน่วยงานให้ทันต่อยุคสมัย โดยจะเห็นว่าจากสถานการณ์โลกปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า หรือ Covid-19 เป็นตัวเร่ง ทำให้ทุกอย่างเกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก

ทั้งนี้ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากแผนฟื้นฟูดังกล่าว อาทิ 

1. ประชาชนจะได้ใช้รถใหม่ มีบริการที่สะอาด สะดวก สบาย ปลอดภัย ผ่านการตรวจสอบคุณภาพตัวรถ
ทั้งระบบคันเร่ง เบรก เป็นอย่างดี และเป็นรถเย็น ติดแอร์ทั้งหมด ทำให้พนักงานขับรถไม่รู้สึกเครียด

2. ราคาค่าบริการเหมาจ่ายทั้งวัน 30 บาท สามารถโดยสารกี่เที่ยวก็ได้ไม่จำกัด ทั้งรถของขสมก.และรถร่วม   ทั้งนี้คนที่ขึ้นเที่ยวเดียวคิดราคาเพียง 15 บาท

3. ปัญหาการจราจรลดลง เนื่องจากจะมีจำนวนรถประจำทางลดลง จาก 6,000 คัน เหลือเพียง 2,500 คัน เท่ากับการลดพื้นที่การใช้ถนนลง  

4. คุณภาพอากาศดีขึ้น โดยเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้า เอ็นจีวี และ ไฮบริดเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

5. การปฏิรูปเส้นทางรถเมล์รูปแบบใหม่ ที่จะครอบคลุมทั้ง กทม.และ ปริมณฑล โดยมีเส้นหลัก เส้นรอง และวงกลม ตามโปรแกรมคำนวณจากระบบคอมพิวเตอร์ของกรมขนส่งทางบก ทำให้รถไม่ต้องวิ่งทับเส้นทางกันเอง 

6. ระยะเวลารอรถ สั้นลง 5-10 นาที โดยการปรับเส้นทางวิ่งระยะสั้น แต่มีความถี่เพิ่มขึ้น 

7. ประชาชนโดยรวมทั้งประเทศ ไม่มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น เนื่องจากหนี้สินเดิมได้มีการจัดการ โดยหากทำตามแผนที่วางไว้ มีการคำนวณว่าจะขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเป็นระยะเวลา 7 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2571 และในปี 2572 ขสมก.จะสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เป็นภาระให้ภาครัฐในอนาคต ซึ่งนับเป็นการเตรียมแผนสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับผลโพล “รถเมล์แบบไหน ถูกใจคนกรุง” เก็บข้อมูลจากประชาชนที่ใช้บริการรถเมล์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,299 คน จัดทำโดยกรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.7 มีความพึงพอใจต่อรถเมล์ที่วิ่งอยู่บนท้องถนนในระดับน้อย รองลงมาร้อยละ 33.0 ระบุว่าพึงพอใจปานกลาง และร้อยละ 20.3ระบุว่าพึงพอใจมาก 

เมื่อถามถึงภาพลักษณ์ของรถเมล์ที่วิ่งอยู่ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.0 ระบุว่ารอรถเมล์นาน รถไม่พอกับความต้องการ รองลงมาร้อยละ 51.7 ระบุว่า รถมีสภาพเก่า ชำรุดทรุดโทรม และร้อยละ 41.2 ระบุว่ารถปล่อยควันดำ ส่งผลเสียด้านมลพิษ

สำหรับความคาดหวังว่าอยากได้รถเมล์แบบใดนั้น พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.6 อยากให้รถเมล์มาตรงเวลา ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน จะได้เดินทางรวดเร็วขึ้น รองลงมาร้อยละ 53.1 ระบุว่าอยากให้รถเมล์ใหม่ทุกคัน ทุกสาย เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และร้อยละ 51.9 ระบุว่าอยากให้ออกรถถี่ขึ้น มีที่นั่งเพียงพอ ไม่ต้องเบียดเสียดแออัด ตามรูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) 

นอกจากนี้ ยังมีความต้องการอื่น ๆ จากเสียงของผู้ใช้บริการ อาทิ ร้อยละ 37.6 อยากให้รถโดยสารเป็นรถชานต่ำ เป็นมิตรกับผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และร้อยละ 26.8  มีความคาดหวังให้ชำระค่าบริการผ่าน E-Ticket แทนการใช้เงินสด เพื่อความสะดวก ลดการสัมผัส และปรับราคาค่าโดยสารแบบเหมาจ่าย 30 บาท เพื่อลดภาระค่าครองชีพประชาชน เป็นต้น

ในส่วนของการแก้ไขปัญหา การขับรถหวาดเสียว การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร และการขับรถเลยป้าย ขสมก.จะเข้มงวดกวดขันในการกำกับดูแลพนักงานขับรถ ให้ปฏิบัติตามกฎจราจรและคู่มือพนักงานขับรถตามมาตรฐานระบบ ISO 9001: 2015 อย่างเคร่งครัด

“ขณะนี้ ขสมก.พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนสู่สิ่งที่ดีขึ้น เรามองไปที่การปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ขสมก.ใหม่ทั้งหมด ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ ในการพลิกโฉม ขสมก.ในอดีตโดยสิ้นเชิง โดยเราได้รับฟังเสียงจากประชาชนผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. โดยในปี 2563 นี้ เราหวังส่งสัญญาณไปถึงประชาชนทุกคน เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตพื้นฐานของคนในสังคม ไม่เพียงแต่พนักงานของ ขสมก. หรือผู้ใช้บริการ แต่หมายถึงคนในสังคม ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัย” นายสุระชัย ผอ.ขสมก.กล่าวทิ้งท้าย  

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img