Sunday, 22 December 2024 | 10 : 34 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 10 : 34 pm
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

“ก้างปลาติดคอ” เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก ปล่อยไว้นาน อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อเป็นหนองได้

“ก้างปลาติดคอ” เป็นประสบการณ์อันแสนเจ็บปวดที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่รับประทานปลา และหากใครที่เคยเจอประสบการณ์นี้ อาจจะเข็ดกับการรับประทานปลาไปอีกนาน เพราะมันทั้งเจ็บคอและสร้างความทรมาณอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว อาการก้างปลาติดคอนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อาจเกิดอันตรายถึงขั้นเป็นแผลบริเวณหลอดอาหารหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อ เป็นหนองลามเข้าไปในคอ หรือลามเข้าไปในช่องอกได้

มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร โรงพยาบาลในเครือ “พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์” โดยเปิดเผยจาก นายแพทย์ปวิชญ์ วิรัชศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร เกี่ยวกับเคสก้างปลาและเคสวัตถุแปลกปลอมติดคอ เป็นสถิติในปี 2562 พบว่า เฉลี่ยแล้วพบเคสดังกล่าวกว่า 144 เคสต่อปี หรือเฉลี่ยสัปดาห์ละประมาณ 3 – 4 เคสเลยทีเดียว

อาการเมื่อมีก้างปลาติดคอ
เมื่อก้างปลาติดคอ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการ เจ็บจี๊ดเฉียบพลัน กลืนน้ำลายแล้วเจ็บ รวมทั้งสามารถบอกตำแหน่งได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่บริเวณใด

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
สำหรับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น สามารถดื่มน้ำแล้วกลั้วคอแรง ๆ หากเป็นก้างปลาขนาดเล็ก จะ
สามารถหลุดออกเองได้ แต่หากยังไม่หลุด ควรมาพบแพทย์ทันที

ความเชื่อผิด ๆ เมื่อมีก้างปลาติดคอ
หลายคนคงเคยได้ยิน ความเชื่อและสารพัดวิธีการปฏิบัติหากมีก้างปลาติดคอ ไม่ว่าจะเป็น การปั้นข้าวเหนียว การรับประทานกล้วย หรือมาร์ชเมลโล แล้วกลืนเพื่อดันก้างปลาให้หลุด หรือการใช้นิ้วล้วงคอ นับว่าเป็นความเชื่อและวิธีการที่ผิด เพราะในความเป็นจริงแล้วก้างปลาที่ใหญ่จะไม่สามารถหลุดออกได้ และการรับประทานอาหารดังกล่าวลงไป หรือแม้แต่การใช้นิ้วล้วงคอ อาจดันให้ก้างปลาติดลงไปลึกกว่าเดิมและทำให้เกิดแผลอีกด้วย

นอกจากนี้ ความเชื่อว่าการดื่มน้ำมะนาวแล้วจะทำให้ก้างปลาอ่อนนุ่มลง ก็ไม่เป็นความจริง เพราะน้ำมะนาวไม่สามารถทำให้ก้างปลาละลายและหลุดหายไปเองได้ และยิ่งดื่มน้ำมะนาวในปริมาณมาก อาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารอีกด้วย

การรักษาด้วยวิธีการส่องกล้อง หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
สำหรับแนวทางการตรวจและรักษาเมื่อมีอาการก้างปลาติดคอนั้น แพทย์จะทำการซักประวัติก่อนว่า ทานปลาชนิดใด และก้างปลาติดคอมานานแค่ไหนแล้ว มีอาการเจ็บที่บริเวณตำแหน่งไหนบ้าง โดยการตรวจเบื้องต้นจะใช้ไฟฉายคาดบริเวณศีรษะ ใช้ไหมกดลิ้น เพื่อหาเศษก้างปลาในบริเวณที่มักพบบ่อย ๆ

เคสที่หาก้างปลาไม่เจอ หรือเคสที่ก้างปลาติดในตำแหน่งลึก อาจจำเป็นต้องใช้กล้องขนาดเล็ก ส่องผ่านเข้าทางจมูกลงไปในบริเวณลำคอ หรือใช้ฟิล์มเอกซเรย์ เพื่อช่วยให้มองเห็นตำแหน่งที่แน่ชัดและใช้ที่คีบ ทำการคีบก้างปลาออกมา และหากใช้วิธีดังกล่าวแล้วยังหาไม่เจอ แต่ยังมีอาการเจ็บมาก หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ อาจต้องทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) เพื่อรักษาต่อไป

ปัจจุบัน โรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จ.ชุมพร มีบริการนำก้างปลาติดคอออกให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2563 ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งในโครงการแพทย์ผู้ให้ เพื่อร่วมสร้างสังคมและชุมชนแห่งการให้อย่างแท้จริง

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพอื่น ๆ สามารถขอคำปรึกษาจาก ทีมแพทย์โรงพยาบาลในเครือบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ได้ทั้ง 9 แห่ง ใน 8 จังหวัด ได้แก่ โรงพยาบาล พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ำโพ 1 และโรงพยาบาล พริ้นซ์ ปากน้ำโพ 2 จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ อุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี โรงพยาบาลพิษณุเวช จังหวัดพิษณุโลก โรงพยาบาลพิษณุเวช อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร จังหวัดพิจิตร โรงพยาบาล ศิริเวชลำพูน จังหวัดลำพูน และโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร และสามารถติดตามสาระดี ๆ เกี่ยวกับการแพทย์ได้ที่เฟซบุ๊ก : Principal Healthcare Company

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img