Wednesday, 8 May 2024 | 12 : 08 pm

4Quarter.co

Wednesday, 8 May 2024 | 12 : 08 pm
กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต จัดเต็มความสนุก เปิดบ้านต้อนรับเด็กๆ ในกิจกรรม KTAXA Kids Carnival ปี 2   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ฉลองครบรอบ 75 ปี แจกทอง 75 บาท จับจริง แจกจริง!! ทองคำรูปโอชิ น้ำหนัก 1 สลึง จำนวน 75 รางวัล ครั้งที่ 1   •   ออมสิน ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี   •   เจนเนอราลี่ เปิดบ้าน Procuratie Vecchie อายุกว่า 500 ปี ต้อนรับมูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เปิดตัวงานศิลปะสู่เวทีโลก ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 60 ที่ ณ นครเวนิส   •   ศุภาลัย พรีโม่ รามอินทรา 117 ส่งบ้านแฝด ดีไซน์ใหม่ ฟังก์ชันจัดเต็ม ปักหมุดโลเคชั่นฮอต ตอบโจทย์ URBAN LIFESTYLE   •   “กรุงศรี ฟินโนเวต” นำกองทุนฟินโนเวนเจอร์ ฟันด์ เข้าลงทุนใน “Doppio Tech” หนุนการสร้างบุคลากรสายเทค เพื่อให้ประเทศไทยเป็นดิจิทัลฮับของภูมิภาค   •   วิริยะประกันภัย มอบพัดลมติดผนัง มูลนิธิโรงพยาบาลศรีธัญญา   •   บัตรเครดิต กรุงศรี ชวนเที่ยว ช้อปรอบโลกใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศ รับเครดิตเงินคืนรวมสูงสุด 43,000 บาท   •   เคทีซี ส่งมอบไฟล์หนังสือเรียน ภายใต้โครงการ “พิมพ์ & Prove” เพื่อน้องผู้พิการทางสายตา   •   ไทยประกันชีวิต จ่ายสินไหมฮอตเคลมกรณีเสียชีวิต จากเหตุการณ์พายุฤดูร้อนพัดโกดังถล่มใน จ. ขอนแก่น   •   แอกซ่า เดินหน้าเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านประกันภัยในงาน “Motor Expo 2024” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3   •   เมืองไทยประกันชีวิต ส่งแคมเปญ “ShieldLife ประกันชีวิต ตัวช่วยให้คุณเบาใจ ในวันที่คุณจากไป…” ตอบโจทย์การใช้ชีวิตอย่าง Worry Free พร้อมเปิดตัวโฆษณาชุดใหม่ ถ่ายทอดมุมมองการสร้างความสุขให้ตัวเอง และไม่ทิ้งภาระให้ใคร   •   อลิอันซ์ อยุธยา “Family Day 2024” พาลูกค้าท่องโลกใต้ทะเล SEA LIFE Bangkok   •   TOA สุดปัง! ทุ่ม 8.4 ล้าน เช่าเหมาลำ ขนทัพทีมช้างศึกไทย ดวลแข้งจีน สู้ศึกคัดเลือกฟุตบอลโลก – ‘มาดามแป้ง’ ขอบคุณจากใจ พร้อมเตรียมทีมให้ดีที่สุด   •   โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต   •   กรุงเทพประกันภัย ห่วงใยลูกค้าที่ประสบภัยลมพายุฤดูร้อน รับแจ้งเคลม 24 ชั่วโมง โทรสายด่วน 1620   •   คณะกรรมการ คปภ. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งรองเลขาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   สสว. ส่งภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ “ปวดหัวซินโดรม” มุ่งสร้างการรับรู้และแนะนำบริการ E-Service เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME   •   เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ตอกย้ำความสำเร็จ การก้าวสู่องค์กร Net Zero   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเงิน 6 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี   •   ธ.ก.ส. จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันฉัตรมงคล 2567   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เผยมาตรฐาน “Green Living Standard” ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนกลับคืนสู่โลก หนึ่งพันห้าร้อยล้านลิตรตลอด 3 ปี ลดผลกระทบ PM2.5 และประหยัดค่าไฟ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่าให้แก่ลูกบ้าน   •   TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67 ตอกย้ำพันธกิจ Green Mission นวัตกรรมสีและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   •   HKSTP นำเสนอโครงการบ่มเพาะ หวังเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชี้ไทยที่มีศักยภาพสูง เล็งดึงสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้   •   ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันฉัตรมงคล   •   เคทีซี จับมือ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ มอบสิทธิพิเศษ สำหรับชุดน้ำชายามบ่ายจากผลงานศิลปะชิ้นเอกของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ   •   FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT & Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล   •   เก็บคูปองส่วนลดสูงสุด 200 บาท/เดือน กับบัตรกรุงศรี เดบิต หรือบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Lazada   •   THAIFA ประกาศผลรางวัลตัวแทนยอดเยี่ยมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2567   •   MTL Click แอปพลิเคชันจากเมืองไทยประกันชีวิต คว้ารางวัลสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี “BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

เลขาธิการ คปภ. อนุมัติแบบกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 วงเงิน 311.41 ล้านบาท ช่วยเหลือเกษตรกรสู้ภัยธรรมชาติ

เลขาธิการ คปภ. อนุมัติแบบกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 ขานรับมติ ครม. ที่เห็นชอบโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วงเงิน 311.41 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรสู้ภัยธรรมชาติ

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เห็นชอบดำเนินโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฤดูการผลิต 2564 วงเงิน 311.41 ล้านบาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายรับประกันภัยรวม 2.92 ล้านไร่ และกำหนดให้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทุกพื้นที่ โดยมติครม.ดังกล่าวได้มอบหมายให้สำนักงาน คปภ. ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามรูปแบบ และหลักเกณฑ์การรับประกันภัยของโครงการฯ ปีการผลิต 2564 รวมทั้งอนุมัติกรมธรรม์และอัตราเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถเริ่มรับประกันภัยในปีการผลิต 2564 ได้ทันที รวมถึงดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนประชาสัมพันธ์โครงการฯ ในภาพรวมและเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นั้น

สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้เตรียมความพร้อมและเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 ตามนโยบายของรัฐบาลแล้ว โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2564 ตนในฐานะนายทะเบียนได้ลงนามในคำสั่งนายทะเบียนที่ 21/2564 เรื่อง กำหนดแบบและข้อความกรมธรรม์ของประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 เพื่อกลุ่มเกษตรกรและอัตราเบี้ยประกันภัย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน 3 แบบกรมธรรม์ ดังนี้

  1. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 เพื่อกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  2. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 สำหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)
  3. กรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 สำหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์)

ส่วนเพิ่มโครงการฯ ปีการผลิต 2564 ได้กำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 (Tier 1) อัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน สำหรับลูกค้าสินเชื่อเพื่อการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ ธ.ก.ส. มีอัตราเบี้ยประกันภัย 160 บาท/ไร่ ซึ่งจะได้รับการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยจากภาครัฐ 96 บาท/ไร่ และจาก ธ.ก.ส. อีก 64 บาท/ไร่ และอัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน สำหรับลูกค้าเกษตรกรทั่วไป มีอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับเขตพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 150 บาท/ไร่ ความเสี่ยงปานกลาง 350 บาท/ไร่ และความเสี่ยงสูง 550 บาท/ไร่ ซึ่งจะได้รับการอุดหนุนเบี้ยประกันภัยจากภาครัฐ 96 บาท/ไร่ และส่วนที่ 2 (Tier 2) อัตราเบี้ยประกันภัยภาคสมัครใจ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการเอาประกันภัยเพิ่มเติมจาก Tier 1 โดยแบ่งอัตราค่าเบี้ยประกันภัยเป็น 3 อัตรา ตามระดับความเสี่ยงภัยในแต่ละพื้นที่ คือ 90 บาท/ไร่ 100 บาท/ไร่ และ 110 บาท/ไร่ ตามลำดับ

ในส่วนของวงเงินความคุ้มครองคงเดิม คือ วงเงินความคุ้มครองสำหรับ Tier 1 อยู่ที่ 1,500 บาท/ไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ภัย ได้แก่ 1) ภัยน้ำท่วมหรือฝนตกหนัก 2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง 3) ภัยลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น 4) ภัยอากาศหนาวหรือน้ำค้างแข็ง 5) ภัยลูกเห็บ 6) ภัยไฟไหม้ 7) ภัยช้างป่า สำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด อยู่ที่ 750 บาท/ไร่ และวงเงินความคุ้มครองสำหรับ Tier 2 อยู่ที่ 240 บาท/ไร่ สำหรับภัยธรรมชาติทั้งหมด 7 ภัย และสำหรับภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด อยู่ที่ 120 บาท/ไร่ โดยกำหนดวันเริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ จนถึงไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 และกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง เริ่มจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 จนถึงไม่เกินวันที่ 15 มกราคม 2565 ซึ่งเกษตรกรสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา

ทั้งนี้ มีบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการฯ ปีการผลิต 2564 จำนวน 16 บริษัท ได้แก่ บมจ.กรุงเทพประกันภัย บมจ.กรุงไทยพานิชประกันภัย บมจ.ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) บมจ.ทิพยประกันภัย บมจ.ไทยไพบูลย์ประกันภัย บมจ.ไทยศรีประกันภัย บมจ.นวกิจประกันภัย บมจ.ประกันภัยไทยวิวัฒน์ บมจ.ฟอลคอนประกันภัย บมจ.มิตซุย สุมิโตโม อินชัวรันส์ บมจ.เมืองไทยประกันภัย บมจ.วิริยะประกันภัย บมจ.สินมั่นคงประกันภัย บมจ.อาคเนย์ประกันภัย บมจ. แอกซ่าประกันภัย และ บมจ.แอลเอ็มจีประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวด้วยว่า เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการฯ ปีการผลิต 2564 สำนักงาน คปภ. จึงได้ดำเนินการขับเคลื่อนร่วมกับโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2564 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการฯ ไปก่อนหน้านี้ โดยจัดทำโครงการ “อบรมความรู้ประกันภัย Training for the Trainers” ซึ่งทุก ๆ ปีจะเป็นการลงพื้นที่ตามภาคต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้ด้านประกันภัยกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ส่วนงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากปีนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังคงมีความรุนแรง ส่งผลให้ในหลายจังหวัดของประเทศไทยกำหนดมาตรการเข้มงวดในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ สำนักงาน คปภ. จึงได้ปรับวิธีการให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยจัดทำความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เช่น การจัดทำสื่อวีดิทัศน์ในรูปแบบกราฟฟิกเคลื่อนไหว (motion graphic) การใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงและมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเกษตรกร (influencer) ในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ การจัดทำสื่อความรู้ในรูปแบบคลิปเสียง การจัดทำข้อมูลความรู้เพื่อเผยแพร่ผ่าน Application “กูรูประกันข้าว” โดยสามารถดาวน์โหลดผ่าน QR code รวมถึงการผลิตสื่อความรู้ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ พร้อมทั้งได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ สื่อความรู้ต่าง ๆ ผ่านช่องทางที่เข้าถึงเกษตรกรให้มากที่สุด

“สำนักงาน คปภ. ขอเชิญชวนเกษตรกรทุกท่านทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดผลกระทบความเสียหายจากภัยต่าง ๆ เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยจากศัตรูพืช หรือภัยจากโรคระบาดต่าง ๆ ซึ่งในปีนี้การจัดทำประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีทั้งแบบกรมธรรม์ที่รัฐบาลให้การอุดหนุนเบี้ยประกันภัยและแบบที่เกษตรกรสามารถซื้อเพื่อเพิ่มความคุ้มครองเอง ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน คปภ. 1186” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย