Sunday, 22 December 2024 | 11 : 17 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 11 : 17 am
spot_img
เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน   •   ธ.ก.ส. เตือนภัย! ระวังมิจฉาชีพทำหนังสือแอบอ้างเป็นธนาคาร เพื่อหลอกให้โอนเงิน   •   บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ผนึกเอไอเอสรุกขยายฐานสมาชิกใหม่ผ่าน e-Applicationเคทีซีเดินเกมรุกขยายฐานสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) ผ่านช่องทางของ
spot_img

สขค. พาส่องปัญหาการกระจุกตัวของผู้ประกอบการ E-Service platform กับแนวโน้มการค้าที่อาจไม่เป็นธรรม และแนวทางการ “ป้องกัน” ก่อนเกิด “พฤติกรรมเข้าข่ายผิดกฎหมาย”

ปัญหาการกระจุกตัวของธุรกิจเป็นหนึ่งในต้นตอสำคัญที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากอัตราการกระจุกตัวเป็นการวัดอำนาจการผูกขาดการค้าทางอ้อมอย่างหนึ่ง และทำให้เกิดโครงสร้างตลาดแบบผูกขาด โดยประเด็นดังกล่าวนอกจากจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคแล้วยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาดในตลาดสามารถสร้างกำไรได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องทุ่มการลงทุนเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดหรือเพิ่มขีดความสามารถที่จะอยู่เหนือคู่แข่ง  อีกทั้งยังอาจนำไปสู่ใช้อำนาจเหล่านั้นกีดกันคู่แข่งหรือผู้ค้ารายใหม่ๆ ไม่ให้สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดได้ จนระดับการแข่งขันลดลงไปในที่สุด 

สำหรับในประเทศไทยมีการกระจุกตัวในหลายอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง แต่ที่น่าจับตามองในขณะนี้คือธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Service Platform สืบเนื่องมาจากความก้าวหน้าในเทคโนโลยีดิจิทัลและสถานการณ์การระบาดของเชื้อ Covid-19 ที่ส่งผลให้รูปแบบการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการซื้อสินค้า การสั่งอาหารผ่านบริการ Food delivery การดูหนัง/ฟังเพลงผ่านช่องทางสตรีมมิ่ง โดยตัวอย่างของธุรกิจประเภทนี้ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในไทยได้แก่ ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Lazada และ Shopee ธุรกิจแพลตฟอร์มจองห้องพัก เช่น Booking และ Agoda ธุรกิจแพลตฟอร์มขนส่ง เช่น Flash Express, Kerry Express และ Grab และจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยังทำให้ สำนักงานคณะกรรการการแข่งขันทางการค้า หรือ สขค. มีการจับตาพฤติกรรมของกลุ่มผู้ให้บริการอย่างจริงจัง และได้ออกมาวิเคราะห์ถึงแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

ทำไมธุรกิจ E-Service platform จึงเกิดการกระจุกตัว 

ธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์มีแนวโน้มกระจุกตัวสูงและโครงสร้างตลาดผูกขาด มีสาเหตุมาจากลักษณะเฉพาะของตัวธุรกิจ ซึ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการในตลาดเพียงไม่กี่รายเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดและเป็นตลาดที่มีผู้แข่งน้อย เหตุผลหนึ่งที่ทำให้โครงสร้างตลาดกระจุกตัวสูง คือ สินค้าของธุรกิจประเภทนี้เป็นสินค้าเครือข่าย กล่าวคือ เป็นสินค้าที่ผู้บริโภคจะได้รับความพอใจมากขึ้นเมื่อคนอื่นๆ ในสังคมมีความสนใจและต้องการสินค้านี้เพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น กระแสของ Clubhouse ที่ยิ่งมีผู้ใช้บริการมาก ยิ่งดึงดูดให้ผู้ใช้บริการรายใหม่อยากเข้ามาใช้บริการมากขึ้น และยังสามารถดึงดูดธุรกิจอื่นๆ เช่น ธุรกิจสื่อโฆษณา ให้เข้ามาเชื่อมต่อกับตัวแพลตฟอร์มได้มากยิ่งขึ้นตามไปด้วย สาเหตุที่สองคือ การประหยัดจากขนาด โดยผู้ประกอบการในตลาดนี้จะมีผลได้ต่อขนาดที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากธุรกิจกลุ่มนี้มีต้นทุนคงที่สูง ขณะที่ต้นทุนผันแปรค่อนข้างต่ำ หรืออาจจะไม่มีเลย ผู้ประกอบจึงมีแรงจูงใจในการลงทุนเพิ่มส่วนที่เป็นต้นทุนคงที่ เพื่อพัฒนาและนำเสนอบริการที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคทั้งด้านคุณภาพและราคา ตัวอย่าง Clubhouse ที่ยิ่งมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ยิ่งทำให้ต้นทุนการให้บริการเฉลี่ยต่อผู้ใช้หนึ่งรายต่ำลง นอกจากสาเหตุทั้งสองข้างต้นแล้ว การประหยัดต่อขอบเขต ยังเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างตลาดนี้เกิดการกระจุกตัวสูง เนื่องจากธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ มักใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้บริการในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ทำให้ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีข้อมูล หรือ Big Data มาพัฒนาคุณภาพของบริการผ่านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่ได้จัดเก็บไว้ขยายบริการที่หลากหลายและครอบคุลมไปในธุรกิจอื่นๆ เช่น แพลตฟอร์มค้าขายออนไลน์ที่ขยายไปสู่การบรรจุและจัดส่งสินค้า บริการทางการเงิน และไลฟ์สดการขายสินค้า เป็นต้น

เมื่อตลาดไม่มีที่ว่างสำหรับคู่แข่งขันรายใหม่ ?!?

ในโลกแห่งการแข่งขันปัจจุบันแม้ว่าผู้ค้ารายใหม่จะมีความสามารถมากกว่ารายเดิม แต่หากปราศจากการเข้าถึงแหล่งทุนในขนาดที่ใหญ่พอต่อการพัฒนาและยกระดับผลิตภาพ ก็ทำให้ไม่สามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ได้ และเมื่อผู้ค้ารายใหม่ที่มีศักยภาพจะเห็นว่าการลงทุนในธุรกิจนี้ไม่น่าจะทำกำไรได้ จึงตัดสินใจที่จะไม่เข้ามาแข่งขันในตลาดนี้ ทำให้เหลือผู้มีอำนาจเหนือตลาดเพียงไม่กี่ราย ซึ่งหากตลาดยังดำเนินต่อไปในลักษณะนี้ ก็มีโอกาสสูงมากที่เกิดเป็นตลาดที่มีผู้เล่นเหลือแค่เพียงรายเดียว หรือ “Winner-take-all” โดยผู้เล่นรายเดียวที่เหลือนี้จะสามารถกินรวบและสร้างอำนาจการต่อรองกับผู้บริโภคและเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีศักยภาพที่จะเข้ามาแข่งขัน 

สำหรับในประเด็นหลังนี้ เป็นสิ่งที่สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า และคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง อาจก่อให้เกิดการใช้อำนาจเหนือตลาดเช่นเดียวกัน อย่างเช่นธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจจะเกิดการจำกัดการแข่งขันและลดการพัฒนานวัตกรรมในการนำเสนอบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นเพื่อตอบโจทย์ของผู้บริโภค จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจและสร้างกลไกในการกำกับการแข่งขันและส่งเสริมให้บรรยากาศเชิงการแข่งขัน ที่กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในตลาดธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป

ทางออกของผู้ประกอบการ และการกำกับดูแลของ สขค. 

เมื่อ E-Service platform เข้ามามีบทบาทและส่งผลกระทบต่อธุรกิจประเภทต่างๆ ท่ามกลางวิกฤต Covid-19 นับเป็นความท้าทายของผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลที่ต้องปรับตัวเข้าสู่ตลาดออนไลน์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายใหม่ที่ต้องการจะเข้าร่วมแข่งขันในตลาดที่มีผู้ครองอยู่ อาจทำได้ด้วยการสร้างจุดแข็งของธุรกิจขึ้นมา การปรับปรุงพัฒนาสร้างแพลตฟอร์มของตนเองโดยไม่ต้องเสียค่าบริหารจัดการให้กับแพลตฟอร์มตัวกลางในการดำเนินธุรกิจ การใช้กลยุทธ์ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายผ่านคอนเทนต์ที่สร้างสรรค์และน่าจดจำ รวมถึงการใช้ข้อมูลลูกค้าที่มีให้เป็นประโยชน์ที่สุด อย่างไรก็ตาม การจะผลักดันให้ผู้ครองตลาดพัฒนาตัวเองเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ต้องอาศัยการดำเนินกฎหมายการแข่งขันทางการค้าที่เคร่งครัดและเป็นธรรม 

โดยล่าสุดคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารที่อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งสืบเนื่องมาจากการขยายตัวของธุรกิจ E-commerce

นอกจากนี้ สขค. ยังมุ่งที่จะกำกับการแข่งขันทางการค้าในธุรกิจให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเน้นประเด็นสำคัญ คือ 1.การสร้างข้อจำกัดทางการแข่งขันและควบรวมธุรกิจในแนวดิ่ง 2.การใช้อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นรายใหญ่ 3.และการควบรวมธุรกิจของผู้ประกอบการ Platform เพื่อสร้างอำนาจเหนือตลาด ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดสนามแข่งขันที่เท่าเทียมและเป็นธรรม

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img