Friday, 3 May 2024 | 11 : 25 pm

4Quarter.co

Friday, 3 May 2024 | 11 : 25 pm
สสว. ส่งภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ “ปวดหัวซินโดรม” มุ่งสร้างการรับรู้และแนะนำบริการ E-Service เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME   •   เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ตอกย้ำความสำเร็จ การก้าวสู่องค์กร Net Zero   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเงิน 6 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี   •   ธ.ก.ส. จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันฉัตรมงคล 2567   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เผยมาตรฐาน “Green Living Standard” ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนกลับคืนสู่โลก หนึ่งพันห้าร้อยล้านลิตรตลอด 3 ปี ลดผลกระทบ PM2.5 และประหยัดค่าไฟ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่าให้แก่ลูกบ้าน   •   TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67 ตอกย้ำพันธกิจ Green Mission นวัตกรรมสีและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   •   HKSTP นำเสนอโครงการบ่มเพาะ หวังเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชี้ไทยที่มีศักยภาพสูง เล็งดึงสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้   •   ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันฉัตรมงคล   •   เคทีซี จับมือ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ มอบสิทธิพิเศษ สำหรับชุดน้ำชายามบ่ายจากผลงานศิลปะชิ้นเอกของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ   •   FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT & Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล   •   เก็บคูปองส่วนลดสูงสุด 200 บาท/เดือน กับบัตรกรุงศรี เดบิต หรือบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Lazada   •   THAIFA ประกาศผลรางวัลตัวแทนยอดเยี่ยมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2567   •   MTL Click แอปพลิเคชันจากเมืองไทยประกันชีวิต คว้ารางวัลสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี “BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4   •   ออมสิน จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคี ร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน   •   หอการค้าไทย Kick Off โครงการรวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต ปี 2567 ต่อยอดโครงการ 9 แสนซีซี 90 ปี หอการค้าไทย เชิญชวนสมาชิกร่วมบริจาคโลหิต เพื่อใช้สำรองยามขาดแคลน   •   วิริยะประกันภัย ปิดฉากดวลวงสวิงสนามสุดท้ายโซนภาคใต้ “Viriyah Invitational Golf Tournament 2024”   •   “แอกซ่าประกันภัย” เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้า จับมือ “วีซ่า”มอบประกันภัยการเดินทางต่างประเทศฟรี! รับเทรนด์ท่องเที่ยวเติบโต   •   กรุงศรี ออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือน ตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเครื่องกรองน้ำพกพาและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ   •   กรุงเทพประกันชีวิต และ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมจัดงานขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการวางแผนความคุ้มครองและการออมยาวนานกว่า 20 ปี   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด   •   แอปฟินนิกซ์ (FINNIX) เปิดตัวห้องเรียนออนไลน์ฟรี ‘เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์’ ตอบอินไซต์คนทำมาหากินที่ไม่มีเวลา ตั้งเป้าเสริมแกร่ง 10,000 คนทั่วไทยปีนี้   •   ฟิลลิปประกันชีวิต มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้น ภายใต้หัวข้อ “Get To Know Philliplife”   •   BAM จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนาบุคลากร   •   SCG HOME Experience เปิด 3 โซนใหม่ ตอกย้ำทุกเทรนด์การอยู่อาศัยเอาใจคนรักบ้าน   •   ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการ SME รายย่อย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   คิง เพาเวอร์ ส่งท้ายความฮอต ยิ่งช้อป ยิ่งได้ลด ตลอดทั้งเดือน   •   TOA เปิดนโยบาย GREEN MISSION เดินหน้าพันธกิจ พิชิต Net Zero เสริมแกร่งด้วย ฉลากลดโลกร้อน (CFR) มากที่สุดในสีทาอาคาร ตอกย้ำผู้นำตลาดสีเบอร์หนึ่ง เติบโตสู่ปีที่ 60 อย่างยั่งยืน   •   การเคหะแห่งชาติ ก่อสร้างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% คาดว่าจะส่งมอบให้ผู้อยู่อาศัยประมาณเดือนพฤษภาคม 2567   •   ทิพยประกันภัย จับมือ BEM มอบของขวัญช่วงวันแรงงาน สำหรับผู้ถือบัตร MRT/MRT PLUS และ EASY PASS รับฟรี! ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท พร้อมค่าชดเชยรายวัน 500 บาทต่อวัน

ดูแลสุขภาพกายและใจในภาวะวิกฤติ COVID-19 กับ 5 ท่าบริหารฟื้นฟูปอด

ในช่วงการระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำให้หลายคนเป็นกังวลว่าตนเองจะติดเชื้อหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้ว ก็อาจจะกังวลใจว่าอาการของตนเองนั้นอยู่ในระดับใด จะแพร่เชื้อสู่คนรอบข้างหรือไม่ จนเกิดภาวะเครียดและส่งผลต่ออาการป่วยได้ รวมถึงผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลแล้ว อาจมีความเครียดเกิดขึ้นจากความเป็นห่วงคนในครอบครัว เป็นห่วงงานที่ต้องรับผิดชอบจนลืมดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของตนเอง การสังเกตอาการทางกายและจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสุขภาพจิตที่ดีจะส่งผลถึงสุขภาพกายที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน

พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในขณะนี้หลายคนมีความกังวลเรื่องของการติดเชื้อและเริ่มตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพจิตใจสำหรับสถานการณ์ COVID-19 ที่การดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มผู้ติดเชื้อที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล อยู่ระหว่างรอเตียงในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ที่จะเกิดความวิตกกังวลในส่วนของอาการป่วยรวมถึงเป็นห่วงครอบครัว งาน ว่าจะเป็นการผลักภาระให้กับคนรอบข้าง จนเกิดอาการเครียดและรู้สึกไม่สบายใจ ทำให้สุขภาพจิตใจแย่ลง รวมทั้งสุขภาพกายที่อาจทำให้ปอดทำงานหนักขึ้นเพราะเมื่อมีความกังวลเรื่องต่าง ๆ แล้ว ทำให้มีการพูดคุยที่มากขึ้นขณะที่ป่วย อาทิการสอบถามเรื่องการรักษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ่อย ๆ การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อสั่งงาน จะทำให้ปอดทำงานหนักจนสุขภาพกายอาจจะทรุดลงได้ เพราะสุขภาพใจก็เหมือนกับสุขภาพกาย ที่ต้องการการดูแลและใส่ใจอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย สิ่งที่ควรปฎิบัติข้อแรกคือ การพักปอด หากมีการติดเชื้อ COVID-19 ผลที่ตามมาคือ ปอดจะทำงานหนัก เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้เพียงพอ ผู้ป่วยจึงควรลดการพูดคุยหรือการใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น เพื่อเป็นการพักปอด เพื่อให้ปอดฟื้นตัวและหายป่วยได้เร็วขึ้น ข้อที่สอง คือ การพักใจ  ต้องมีสติรู้ตัว อย่าวิตกกังวลอยู่ในอาการของโรค จนทำให้เสียทั้งงานและเสียทั้งสุขภาพ ให้เราตั้งสติ ปล่อยวางแล้วเริ่มหาแนวทางการแก้ไขจะดีกว่าจมอยู่ในเรื่องเดิมนาน ๆ

ทั้งนี้ นางสาวมุจิรารัศมิ์ ภัทรจริยากุล ครูสอนโยคะ ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ  แนะนำการบริหารปอดให้แข็งแรงและฟื้นตัวกลับมาโดยเร็ว สามารถทำได้เป็นประจำสม่ำเสมอด้วย 5 ท่าบริหารปอดที่สามารถทำเองได้ทั้งผู้ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเพื่อเป็นการฟื้นฟูและบริหารปอดให้แข็งแรงอยู่เสมอ

    1.ท่าจับท้อง นั่งให้ลำตัวตรง นำมือจับที่ซี่โครงด้านข้าง ปลายนิ้วมือเลื่อนมาแตะบริเวณหน้าท้อง หายใจเข้าลึก ๆ ด้วยจมูก จะรู้สึกถึงการขยายของซี่โครงและหน้าท้อง หายใจออกทางจมูกช้า ๆ ให้รู้สึกถึงท้องที่ยุบลงช้า ๆ ไม่ควรรีบ พยายามหายใจเข้าลึก ๆ ให้มีความยาวเท่ากับลมหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมลมหายใจและจังหวะให้คงที่อย่างน้อย 10 -15 ครั้ง

    2.ท่ายืดแขน นั่งลำตัวตรง ผสานนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วเข้าด้วยกัน นำมาไว้ด้านหน้า หายใจเข้าให้ลึกเพื่อนำออกซิเจนเข้าให้สุดแล้ว จึงเริ่มพลิกผ่ามือยกขึ้นเหนือศีรษะ หายใจออกให้แขม่วท้องช้า ๆ ไล่ลมออกจากท้องจนหมด ลดแขนและผ่อนคลายไหล่ลงไปทางด้านข้าง 

    3.ท่างู เริ่มจากค่อย ๆ นอนคว่ำตัวลงกับพื้น ขาเหยียดตรงไปทางด้านหลัง วางมือให้อยู่บริเวณเดียวกับหัวไหล่หรือเอว เมื่อหายใจเข้าให้ใช้มือดันพื้นขึ้นพร้อมยกศีรษะ หน้าอก และหน้าท้อง หายใจออกค่อย ๆ งอศอก วางหน้าท้อง หน้าอก และศีรษะลงไปกับพื้น เมื่อทำเสร็จแล้วก่อนจะลุกขึ้นให้นำแขนมาซ้อนกันบริเวณข้างหน้าลดศีรษะลง แล้วจึงลุกขึ้นช้า ๆ 

    4.ท่านั่งและบิดลำตัว นั่งลำตัวตรง ให้สะโพกก้นทั้ง 2 ข้างเต็มพื้น ชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายให้อยู่บริเวณด้านล่างงอเข่าแล้วนำเท้าขวาไปค่อมขาซ้ายอีกทบนึง พยายามกดสะโพก 2 ข้างลงให้ชิดพื้นแล้วนั่งยืดลำตัว นำมือขวาพาดไปทางด้านหลัง แขนและศอกด้านซ้ายจะนำมาขัดหัวเข่าของด้านขวาหรือจะนำมือมาแตะเข่าหรือข้อเท้าอีกข้างก็ได้ แล้วค่อย ๆ ยืดตัวขึ้น แขม่วท้องพร้อมบิดลำตัว มองไปทางด้านหลัง บิดเอว หน้าอก ช้า ๆ เปิดและหันศีรษะไปทางด้านหลัง หมุนหัวไหล่ขวาไปทางด้านหลังและหันศรีษะตามไป อยู่ในท่านี้ประมาณ 5 ลมหายใจ จะรู้สึกถึงหน้าท้องที่โดนนวด จากนั้นค่อย ๆ หมุนลำตัวกลับมา ทำสลับข้างอีกครั้ง

    5.ท่าปลา นอนหงายกับพื้น เหยียด 2 ขาตรง ใช้ 2 แขนสอดใต้ลำตัวทั้งขวาและซ้าย กดมือและข้อศอกลงไปกับพื้นให้แน่น หายใจเข้า ยกหน้าอกขึ้นแล้วค่อย ๆ เงยคางขึ้นเล็กน้อย หายใจออก คางเงย แล้ววางศรีษะโดยจุดกลางกระหม่อมวางบนพื้น กดข้อศอกแล้วพยายามยืดหน้าท้องและหน้าอกไปทางด้านบน เงยคางให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ เกร็งหน้าท้องด้านล่าง เหยียดขาทั้ง 2 ข้างให้ตรง และพ้อยท์เท้าให้อยู่ในท่านี้ 5 – 10 ลมหายใจ เมื่อครบแล้วจึงค่อย ๆ ยกศีรษะขึ้น วางศีรษะและหลังกลับลงไปที่พื้น นำแขนทั้ง 2 ข้างออกมาพักในท่านอนหงายสักครู่นึง จากนั้นลุกขึ้นช้า ๆ จากการตะแคงข้าง งอเข่า ดันลำตัวลุกขึ้นนั่ง ถ้าทำแล้วรู้สึกปวดคอ หรือเจ็บหลังให้นำผ้าขนหนูหนา ๆ หรือว่าหมอนอิงมารองใต้ศีรษะ หรือหลังเพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้

นอกจากการฝึก 5 ท่าบริหารฟื้นฟูปอดนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเช็กอาการตัวเองอยู่เสมอ ดูแลและหมั่นสังเกตอาการตัวเองในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ มีการไอ หรือมีไข้หรือไม่ และตรวจเช็กความเสี่ยงในการติดเชื้อว่าไปพื้นที่เสี่ยงหรืออยู่ใกล้บุคคลที่มีความเสี่ยงหรือไม่ และตรวจเช็กสุขภาพจิตใจว่ามีอาการวิตกกังวล รู้สึกเครียด จิตตกหรือไม่ หากมีอาการวิตกกังวลมากไม่สามารถพาตนเองออกจากความคิดความกังวลได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพใจที่จะกลับมาแข็งแรงและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติในแนวทางนิวนอร์มัล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์จิตรักษ์ รพ.กรุงเทพ โทร.02 310 3751-52  หรือ แอดไลน์ @bangkokhospital