Sunday, 22 December 2024 | 10 : 18 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 10 : 18 pm
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

ฮือฮา! สะเทือนโลก แพทย์และนักวิจัยไทย ค้นพบยาสมุนไพรต้านโควิด-19 ประสิทธิภาพสูง

แพทย์และนักวิจัยไทย เปิดเผยถึงผลงานวิจัยยาสมุนไพรไทยตำรับพันปี “ยาครอบไข้ตักศิลา” ที่มีชื่อการค้าว่า “ยาเคอร่า” จากคัมภีร์แผนไทยโบราณที่ชื่อ “คัมภีร์ตักศิลา” พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายด้าน ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อพัฒนาต่อยอดการสกัดเป็นสารบริสุทธิ์และยาแผนปัจจุบันต่อไป

นายแพทย์พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา นายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูล และ นายแพทย์รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ และ ดร.ภัทร์ หนังสือ ร่วมกันแถลงผลการวิจัยในหลอดทดลองและรายงานการใช้ยาตำรับสมุนไพรครอบไข้ตักศิลา ทางคลินิกในผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 3091 ราย

โดย นายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูล ได้เปิดเผยถึงผลการวิจัยในหลอดทดลองของตำรับยาสมุนไพรครอบไข้ตักศิลา พบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายด้าน กล่าวคือ

1.พบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์หลักในการขยายตัวของไวรัสคือ main protease โดยตำรับยาสมุนไพรนี้ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์หลักได้ถึง 100% ที่ความเข้มข้นเพียง 0.18 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ที่ถือเป็นระดับความเข้มข้นที่ต่ำมาก โดยที่มีฤทธิ์ยับยั้งสูงกว่ายาแผนปัจจุบัน คือ Lopinavir ถึง 1500 เท่า สูงกว่ายา Ritronavir ถึง 500 เท่า ซึ่งถือว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์การขยายตัวของไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูงมาก

2.พบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ในการขยายตัวของไวรัสตัวที่ 2 คือ RNA-dependent RNA polymerase (RdRp) ได้มีประสิทธิภาพสูงกว่ายา Favipiravir ถึง 500% จึงถือเป็นยาต้านไวรัสชนิดเดียวในโลกที่มีกลไกการยับยั้งเอนไซม์ในการขยายตัวของไวรัสโควิด-19 ได้พร้อมกันถึง 2 กลไก

3.พบฤทธิ์ยับยั้งการขยายตัวของโคโรน่าไวรัสในเซลล์ โดยพบว่าในจานเพาะเชื้อทดลองที่มีการทำให้ติดเชื้อโคโรน่าไวรัสนั้น จานทดลองที่หยดสารสกัดตำรับยาสมุนไพรครอบไข้ตักศิลานี้ลงไป ไวรัสมีการหยุดการขยายตัว โดยพบว่าจานที่มีสารสกัดตำรับสมุนไพรนั้นมีไวรัสเพียง 600,000 copy ในขณะที่จานควบคุมที่ไม่มีสารสกัดนั้นไวรัสเพิ่มจำนวนเป็น 9,000,000 copy ซึ่งแตกต่างกันอย่างชัดเจน

4.พบฤทธิ์การยับยั้งการอักเสบที่ดีกว่ายา Diclofenac และยา Prednisolone เมื่อเทียบปริมาณการใช้ที่ปลอดภัย

5.พบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ที่มีค่า ORAC สูงถึง 81260 หน่วย

6.มีแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบหลายชนิด เช่น แคลเซียม แมกเนเซียม โปแตสเซียม ซึ่งเมื่อละลายน้ำจะมีสภาพเป็นด่าง ช่วยลดภาวะ metabolic acidosis ในผู้ป่วยโรคโควิด-19

7.การทดสอบความเป็นพิษกับเซลล์ตับ เซลล์ไต และเซลล์เม็ดเลือดขาว พบว่ามีค่าความเป็นพิษต่ำ โดยต้องรับประทานในปริมาณสูงมากเช่น 2000 แคปซูล ต่อมื้อ จึงอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อเซลล์ตับ หรือเซลล์ไตได้ จึงมีความปลอดภัยสูง

8.การทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันในหนูทดลอง พบว่ามีระดับค่าความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ ในระดับ category 5 โดยหนูทดลองจะต้องได้รับยาเกินกว่า 5000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จึงจะพบความเป็นพิษ

9.รายงานการวิเคราะห์ตัวสมุนไพร พบว่าไม่มีสารสเตียรอยด์ เช่น Dexamethasone ส่วนค่าโลหะหนักอยู่ในระดับมาตรฐานที่ไม่เป็นอันตราย

10.เป็นสมุนไพรกลุ่มที่มีฤทธิ์ลดไข้

ส่วน ดร.ภัทร์ หนังสือ แพทย์แผนไทย ได้เปิดเผยว่า ตนได้พัฒนาตำรับยาสมุนไพรเคอร่า จากตำรับยาครอบไข้ตักศิลา โดยได้เลือกสมุนไพร 9 ชนิด เป็นส่วนประกอบ นำมาผ่านกระบวนการสกัดด้วยความร้อนและความเย็น เพื่อกระตุ้นสารสำคัญในพืชสมุนไพรจนมีประสิทธิภาพในการยับยั้งไวรัสได้เป็นผลสำเร็จ เคยได้ใช้ยาตำรับนี้รักษาโรคไข้หวัด เริม และงูสวัด เป็นต้น ซึ่งพบว่าได้ผลดี ต่อมาเมื่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด จึงได้นำยาตำรับนี้มาใช้รักษากับผู้คนจำนวนมาก พบว่าได้ผลดี

ส่วนรายงานผลทางคลินิกของการใช้ในผู้ป่วย covid-19 นายแพทย์รังสรรค์ บุตรชา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ หัวหน้าแพทย์ทีมวิจัย เปิดเผยว่า จากการใช้ยาสมุนไพรตำรับครอบไข้ตักศิลา กับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เป็นผู้ป่วยสีเขียว และสีเหลือง สีเหลืองส้ม จำนวน 3091 ราย นั้นพบว่ายาตำรับนี้สัมฤทธิ์ผลในการรักษา 100% โดยไม่มีผู้ป่วยรายใด มีอาการลุกลาม จนต้องเข้า ICU หรือต้องใช้ท่อช่วยหายใจ หรือเสียชีวิตเลยแม้แต่รายเดียว นอกจากนั้นผู้ป่วยร้อยละ 75 จะหายป่วยภายในระยะเวลาเพียง 7 วัน โดยในช่วงเริ่มต้นการรักษานั้น มีผู้ป่วยจำนวน 1465 ราย คิดเป็นร้อยละ  47 มีอาการทางปอดคือเชื้อเริ่มลงปอดแล้ว ก่อนรับการรักษามีอาการไอ มีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย หรือแน่นหน้าอก

โดยผู้ป่วยที่รับการรักษานั้นมีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึงกว่า 80 ปี โดยมีผู้ป่วยอายุเกินกว่า 60 ปี จำนวน 226 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 รวมทั้งมีหญิงตั้งครรภ์จำนวน 9 ราย ซึ่งทุกรายหายเป็นปกติ แต่ต้องมีการติดตามผลหลังคลอดต่อไป

นอกจากนั้นมีผู้ป่วยจำนวน 572 ราย คิดเป็นร้อยละ 19 เป็นผู้มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 1 โรคขึ้นไป เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน หัวใจ  เป็นต้น ซึ่งทุกรายปลอดภัย

ส่วนระยะเวลาการรักษานั้น ผู้ป่วยร้อยละ 75 จะหายภายใน 7 วัน ส่วนที่เหลือทั้งหมดจะหายภายใน 16 วัน ซึ่งเราจะทำการติดตามผลต่อไปถึงภาวะหลังป่วยโควิด (Long Covid) ในคนไข้เหล่านี้ที่หายป่วยแล้วว่ามีอาการผิดปกติอย่างไรต่อไปหรือไม่ ในระยะ 1 เดือน ถึง 1 ปี

ในการเก็บข้อมูลทางคลินิกนั้น พบว่ายาสมุนไพรตำรับนี้ไม่พบอันตรกริยากับยาแผนปัจจุบันที่คนไข้ใช้อยู่, ไม่พบผลข้างเคียงต่อตับและไตของคนไข้ที่ใช้ยา ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ พบจำนวน 5 รายจาก 3091 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.16 ซึ่งมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ท้องเสีย คลื่นใส้ อาเจียน และพบว่าผู้ป่วย 100% มีความพึงพอใจในผลของการใช้ยา ว่าสามารถรักษาอาการให้หายเป็นปกติได้

ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของโลกในการค้นพบยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพ และรักษาโรค covid-19 ได้ และได้เก็บผลการรักษาทางคลินิกในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ภาครัฐควรให้การสนับสนุนและยกระดับของงานวิจัยให้มีกลุ่มตัวอย่างที่มากขึ้นและหลากหลายขึ้น นับเป็นความหวังของประเทศไทยในการหาทางออกในการรักษาและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ต่อไป

สำหรับผู้ที่สนใจสมุนไพร เคอร่า สั่งซื้อได้โดยตรงที่เดียวเท่านั้น เพียงแอดไลน์บริษัท  :  @herbline
หรือคลิกลิงก์  https://shop.line.me/@herbline และประชาชนทั่วไปสามารถศึกษาข้อมูลต่างๆ ได้ที่ https://youtu.be/2I3Vby_KsNE

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img