Monday, 23 December 2024 | 9 : 50 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Monday, 23 December 2024 | 9 : 50 am
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

มหาวิทยาลัยโตเกียว ใช้ Fugaku ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกของฟูจิตสึ ช่วยวิจัยคิดค้นยารักษาโควิด-19

การสำรวจกลไกระดับโมเลกุลของกระบวนการยับยั้งการติดเชื้อ อาจนำไปสู่การคิดค้นวิธีการรักษาโควิด-19 รูปแบบใหม่

ฟูจิตสึประเทศญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือครั้งใหม่กับทีมวิจัยที่นำโดย ทาเคฟูมิ ยามาชิตะ รองศาสตราจารย์ประจำโครงการศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีชั้นสูง (Research Center for Advanced Science and Technology : RCAST) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกชื่อว่า Fugaku ซึ่งพัฒนาร่วมกันโดยริเก้น และฟูจิตสึ ในการระบุสารประกอบยับยั้งโมเลกุลขนาดเล็ก ที่สามารถใช้เป็นยาที่มีศักยภาพในการรักษาโรคโควิด-19 รวมถึงไขความลับของกลไกระดับโมเลกุลที่ช่วยยับยั้งการติดเชื้อโควิด-19 ทั้งนี้ การวิจัยอย่างเต็มรูปแบบได้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2564 และจะดำเนินต่อไปจนถึงเดือนมีนาคม 2565

ในงานวิจัยร่วม ฟูจิตสึ และ RCAST จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคิดค้นสูตรยา โดยมุ่งเน้นที่เทคโนโลยีการสร้างสารประกอบยับยั้ง และเทคโนโลยีการจำลองระดับโมเลกุลที่แสดงสถานะของโมเลกุลอย่างแม่นยำ ซึ่งจะมีการคำนวณบนเครื่อง Fugaku เพื่อระบุสารประกอบยับยั้งโดยสังเกตพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ของโปรตีนจากไวรัส และทำนายคุณสมบัติของการกลายพันธุ์ในอนาคต ด้วยพลังของ Fugaku การจำลองระดับโมเลกุลของโปรตีนจากไวรัส และการคำนวณหาสูตรของสารยับยั้งจะสามารถเร่งให้เร็วขึ้น ซึ่งจะไขความกระจ่างของกระบวนสร้างพันธะ และปฏิกิริยาระหว่างโปรตีนจากไวรัสกับสารยับยั้ง โดยมีวัตถุประสงค์ในการระบุสารประกอบยับยั้ง ที่นำไปสู่การพัฒนายารักษาโรคในระยะแรกได้

ในอนาคต ฟูจิตสึจะยังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการจำลองในระดับโมเลกุลต่อไป พร้อมมุ่งมั่นที่จะเร่งพัฒนารูปแบบการรักษาโรคโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการวิจัยร่วมกับรองศาสตราจารย์ยามาชิตะแห่ง RCAST ที่ตระหนักถึงสังคมที่ทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างผาสุกดังเดิม

ความเป็นมา

ตั้งแต่ปี 2554 ฟูจิตสึได้มีส่วนร่วมในการวิจัยกับ RCAST เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคิดค้นสูตรยา เพื่อสร้างสารประกอบโมเลกุลขนาดเล็กที่เป็นตัวเลือกสำหรับยาต้านมะเร็งและโรคอื่นๆ ซึ่งขณะที่วัคซีนประสิทธิภาพสูงจำนวนหนึ่งได้รับการพัฒนาจนประสบผลสำเร็จ เพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 แต่การพัฒนายารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพนั้น ยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ฟูจิตสึและ RCAST จึงตัดสินใจที่จะเริ่มโครงการวิจัยร่วมครั้งใหม่ ในการระบุหาสารประกอบยับยั้งที่จะนำไปสู่การพัฒนายาต้านโคโรน่าไวรัส โดยใช้ประโยชน์จากพลังการประมวลอันไร้เทียมทานของ Fugaku เพื่อสนับสนุนเป้าหมายนี้

ภาพรวมของการวิจัย

แรกเริ่มเดิมที ฟูจิตสึและ RCAST ได้ดำเนินงานวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับยาโมเลกุลขนาดเล็ก ซึ่งมีแนวโน้มสูงที่จะนำมารับประทานได้ สังเคราะห์ได้ทางเคมี และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ เมื่อเทียบกับยาชนิดเปปไทด์ แอนติบอดี้ กรดนิวคลีอิก และเซลล์ ด้วยเป้าหมายในการระบุสารยับยั้งที่นำไปสู่การพัฒนายาต้านโคโรน่าไวรัสตัวใหม่อันทรงประสิทธิภาพ ในปริมาณโดซที่น้อยและผลข้างเคียงต่ำ เทคโนโลยีการจำลองระดับโมเลกุล ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการวิจัยร่วมกันจะถูกปรับใช้ เนื่องจากจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถจับกับโปรตีนไวรัส และควบคุมการทำงานของมันได้ เทคโนโลยีการจำลองระดับโมเลกุล และ Fugaku จะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายสำหรับงานต่างๆ รวมถึงการสร้างแบบจำลองโครงสร้างสามมิติ การอธิบายกลไกยับยั้งการติดเชื้อในระดับโมเลกุล ที่นำไปสู่การพัฒนายารักษาโรค และจำลองสถานการณ์ เพื่อทำนายพฤติกรรมและคุณสมบัติของสายพันธุ์กลายพันธุ์ เพื่อให้การรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสกลายพันธุ์มีประสิทธิผลดีขึ้น

ที่มา : บทความ Fujitsu Japan Embarks on Joint Research for COVID-19 Therapies Using World’s Fastest Supercomputer with Researchers of Research Center for Advanced Science and Technology, The University of Tokyo

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img