Monday, 6 May 2024 | 12 : 57 am

4Quarter.co

Monday, 6 May 2024 | 12 : 57 am
โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต   •   กรุงเทพประกันภัย ห่วงใยลูกค้าที่ประสบภัยลมพายุฤดูร้อน รับแจ้งเคลม 24 ชั่วโมง โทรสายด่วน 1620   •   คณะกรรมการ คปภ. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งรองเลขาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   สสว. ส่งภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ “ปวดหัวซินโดรม” มุ่งสร้างการรับรู้และแนะนำบริการ E-Service เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME   •   เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ตอกย้ำความสำเร็จ การก้าวสู่องค์กร Net Zero   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเงิน 6 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี   •   ธ.ก.ส. จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันฉัตรมงคล 2567   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เผยมาตรฐาน “Green Living Standard” ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนกลับคืนสู่โลก หนึ่งพันห้าร้อยล้านลิตรตลอด 3 ปี ลดผลกระทบ PM2.5 และประหยัดค่าไฟ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่าให้แก่ลูกบ้าน   •   TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67 ตอกย้ำพันธกิจ Green Mission นวัตกรรมสีและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   •   HKSTP นำเสนอโครงการบ่มเพาะ หวังเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชี้ไทยที่มีศักยภาพสูง เล็งดึงสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้   •   ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันฉัตรมงคล   •   เคทีซี จับมือ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ มอบสิทธิพิเศษ สำหรับชุดน้ำชายามบ่ายจากผลงานศิลปะชิ้นเอกของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ   •   FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT & Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล   •   เก็บคูปองส่วนลดสูงสุด 200 บาท/เดือน กับบัตรกรุงศรี เดบิต หรือบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Lazada   •   THAIFA ประกาศผลรางวัลตัวแทนยอดเยี่ยมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2567   •   MTL Click แอปพลิเคชันจากเมืองไทยประกันชีวิต คว้ารางวัลสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี “BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4   •   ออมสิน จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคี ร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน   •   หอการค้าไทย Kick Off โครงการรวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต ปี 2567 ต่อยอดโครงการ 9 แสนซีซี 90 ปี หอการค้าไทย เชิญชวนสมาชิกร่วมบริจาคโลหิต เพื่อใช้สำรองยามขาดแคลน   •   วิริยะประกันภัย ปิดฉากดวลวงสวิงสนามสุดท้ายโซนภาคใต้ “Viriyah Invitational Golf Tournament 2024”   •   “แอกซ่าประกันภัย” เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้า จับมือ “วีซ่า”มอบประกันภัยการเดินทางต่างประเทศฟรี! รับเทรนด์ท่องเที่ยวเติบโต   •   กรุงศรี ออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือน ตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเครื่องกรองน้ำพกพาและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ   •   กรุงเทพประกันชีวิต และ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมจัดงานขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการวางแผนความคุ้มครองและการออมยาวนานกว่า 20 ปี   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด   •   แอปฟินนิกซ์ (FINNIX) เปิดตัวห้องเรียนออนไลน์ฟรี ‘เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์’ ตอบอินไซต์คนทำมาหากินที่ไม่มีเวลา ตั้งเป้าเสริมแกร่ง 10,000 คนทั่วไทยปีนี้   •   ฟิลลิปประกันชีวิต มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้น ภายใต้หัวข้อ “Get To Know Philliplife”   •   BAM จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนาบุคลากร   •   SCG HOME Experience เปิด 3 โซนใหม่ ตอกย้ำทุกเทรนด์การอยู่อาศัยเอาใจคนรักบ้าน   •   ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการ SME รายย่อย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   คิง เพาเวอร์ ส่งท้ายความฮอต ยิ่งช้อป ยิ่งได้ลด ตลอดทั้งเดือน

โรคเบาหวานขึ้นตา ความเสี่ยงจากหลายปัจจัย

เมื่อลูกต้องเรียนออนไลน์ หรือการ Work From Home นั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์อยู่บ้านนาน ๆ รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป แล้วขาดการออกกำลังกาย อาจเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้โดยไม่รู้ตัวและอาจมีโรคแอบแฝงที่เป็นอันตรายได้ทุกส่วนของร่างกาย รวมถึงดวงตา ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสตาบอดมากกว่าคนทั่วไปถึง 25 เท่าถ้าเบาหวานขึ้นจอตา การรู้เท่าทันเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย

พญ.วีรยา พิมลรัฐ จักษุแพทย์ ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่สามารถพบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย ซึ่งพบได้มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวาน ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคเบาหวานในเด็กเพิ่มมากขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้นในเด็ก โดยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด มักพบในคนอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนเบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี แต่ในวัยรุ่นก็พบได้เช่นกัน ซึ่งมีสาเหตุจากการรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไป ขาดการออกกำลังกาย เพราะเด็กมักจะมีพฤติกรรมนั่งอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์ แทนการวิ่งเล่นหรือเล่นกีฬามากขึ้น หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดซึ่งส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายรวมถึงดวงตา ได้แก่ กล้ามเนื้อตา เลนส์ตา ขั้วประสาทตา เส้นประสาทตา และจอตา ซึ่งสามารถได้รับผลกระทบจากเบาหวานทั้งสิ้น ซึ่งภาวะเบาหวานขึ้นตาเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้สูญเสียการมองเห็น

โรคเบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดเลือดที่จอตา (Retina) ได้รับความเสียหาย โดยมี 2 ภาวะหลักที่ทำให้การมองเห็นแย่ลง คือ จุดภาพชัดบวมน้ำ (macular edema) เกิดขึ้นเมื่อมีการรั่วของสารน้ำและโปรตีนจากหลอดเลือดบริเวณจุดภาพชัดซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการมองเห็นส่วนกลาง ทำให้จุดภาพชัดหนาตัวและบวมขึ้นรบกวนการมองเห็นส่วนกลางและอาจเห็นภาพบิดเบี้ยว และ เบาหวานขึ้นตาระยะที่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ (Proliferative Diabetic Retinopathy: PDR) เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดที่จอตาถูกทำลายจากเบาหวานจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ทำให้จอตาขาดเลือดและออกซิเจนกระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งหลอดเลือดที่สร้างขึ้นใหม่เหล่านี้อาจไม่ได้พัฒนาอย่างเหมาะสม มีผนังไม่แข็งแรง เปราะแตกฉีกขาดได้ง่าย มีเลือดออกในวุ้นตา เกิดพังผืดดึงรั้งจอตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้จอตาลอก (Retinal detachment) ตามมา และอาจทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ หลอดเลือดงอกใหม่ที่ม่านตา (Neovascularization of the iris) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานขึ้นตาที่จอตามีการขาดเลือดและออกซิเจนอย่างรุนแรง หลอดเลือดงอกใหม่บริเวณม่านตาสามารถอุดกั้นการระบายน้ำออกจากตา ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน เรียกภาวะนี้ว่า ต้อหินชนิดมีเส้นเลือดงอกใหม่ (Neovascular glaucoma) ซึ่งเป็นต้อหินชนิดรุนแรงทำให้เกิดการปวดตามากจากความดันตาที่ขึ้นสูงและรักษายาก มักไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวเหมือนกับต้อหินชนิดอื่นๆ จำเป็นต้องรักษาเบาหวานขึ้นตาร่วมด้วย 

นอกจากนี้ต้อกระจก (Cataract) ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการมองเห็นที่ลดลง พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานโดยระยะเวลาในการเป็นเบาหวานและการควบคุมระดับน้ำตาลเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเป็นต้อกระจกเร็วขึ้นกว่าคนปกติ ในระยะเริ่มต้นอาจแก้ไขสายตาด้วยการใส่แว่น การผ่าตัดรักษาต้อกระจกจะทำเมื่อการมองเห็นแย่ลงหรือต้อกระจกบดบังการตรวจจอตาและรักษาเบาหวานขึ้นตา ความผิดปกติของกระจกตาจากเบาหวาน (Diabetic Keratopathy) ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิดการถลอกหรือแผลที่กระจกตาได้ง่ายจากการสูญเสียการรับความรู้สึกบริเวณกระจกตา ในกรณีที่เบาหวานที่ระดับน้ำตาลสูงเป็นระยะเวลานาน ผิวกระจกที่ถลอกหรือหลุดลอกจากอุบัติเหตุ การผ่าตัด หรือจากการใส่คอนแทคเลนส์ อาจจะหายยากกว่าปกติและมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลติดเชื้อที่กระจกตาได้มากขึ้น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Paresis of extraocular muscle) อาจทำให้เกิดอาการเห็นภาพซ้อน (double vision) อย่างฉับพลัน เนื่องจากเบาหวานทำลายหลอดเลือดขนาดเล็กที่มาเลี้ยงเส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 4, หรือ 6 ที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อในการกลอกตาแต่ละมัด โดยส่วนใหญ่ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจากเบาหวาน อาการจะดีขึ้นหลังตรวจพบประมาณ 3 เดือน และสามารถหายเป็นปกติได้ ถ้าเกิดภาพซ้อนจะรักษาด้วยแว่นปริซึม หากนานเกิน 6-12 เดือนยังไม่ดีขึ้น อาจพิจารณาผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตา ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ต่อดวงตาจากเบาหวาน ผู้ป่วยต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควรออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ และ งดดื่มแอลกอฮอล์ สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นและควรพบจักษุแพทย์หากพบว่ามีการมองเห็นเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น ตามัว มองไม่ชัด มองเห็นเป็นจุดดำ เห็นภาพบิดเบี้ยว หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น 

ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจตาโดยละเอียดและขยายม่านตาตรวจจอตาแม้ไม่มีอาการผิดปกติทางการมองเห็นเพื่อคัดกรองเบาหวานขึ้นตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หลังการขยายม่านตาตรวจจอตาผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวเป็นเวลา 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเอง ควรมีญาติไปด้วยเพื่อความปลอดภัย หากไม่พบความผิดปกติ ควรตรวจตาและขยายม่านตาปีละ 1 ครั้ง หากพบเบาหวานขึ้นตา อาจจะต้องได้รับการรักษาหรือการตรวจบ่อยขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของเบาหวานขึ้นตาและความรุนแรงของโรคด้วย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.02-755-1005  หรือ แอดไลน์ @bangkokhospital