Sunday, 22 December 2024 | 1 : 49 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 1 : 49 pm
spot_img
ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน   •   ธ.ก.ส. เตือนภัย! ระวังมิจฉาชีพทำหนังสือแอบอ้างเป็นธนาคาร เพื่อหลอกให้โอนเงิน
spot_img

กุมารแพทย์เตือน ผู้ปกครองต้องเข้าใจ ใส่ใจดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อความปลอดภัย ห่างไกลจาก COVID-19

สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายๆ คนเกิดความวิตกกังวล ยิ่งในครอบครัวที่มีเด็ก ความกังวลของพ่อแม่ผู้ปกครองยิ่งมีมากขึ้น ถึงแม้รายงานการติดเชื้อ COVID-19 ในเด็กมีไม่มากนัก แต่การเฝ้าระวังโรคทั้งตัวผู้ปกครอง หรือแม้แต่ตัวเด็ก ก็ต้องมีมาตรการที่เหมาะสมเพื่อป้องกันให้ห่างไกลจากไวรัส COVID-19

นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารแพทย์ สาขาโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ จำนวนเด็กที่ติดเชื้อยังมีไม่มากนัก เป็นเพราะเด็กไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงหลัก เนื่องจากไม่ได้เดินทางหรือพบปะผู้คนมากเท่าผู้ใหญ่ จึงทำให้โอกาสติดเชื้อน้อยลง ตลอดจนเป็นช่วงปิดเทอมและการประกาศงดกิจกรรมที่มีคนหมู่มาก โดยส่วนใหญ่เด็กมักได้รับเชื้อมาจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิด หรือติดจากเพื่อนที่โรงเรียน สิ่งที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ในบ้าน ควรต้องรักษาสุขอนามัยของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่เอาเชื้อมาติดเด็กๆ นอกจากโอกาสการติดเชื้อของเด็กมีน้อยกว่าผู้ใหญ่แล้ว ความรุนแรงและผลกระทบต่อสุขภาพก็น้อยกว่าเช่นกัน เพราะระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทั่วไปมักแข็งแรง มีการปรับตัวต่อการติดเชื้อไวรัสอยู่อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นเด็กที่มีโรคประจำตัวหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยอาการของโรคในเด็กคล้ายกับผู้ใหญ่ แต่มักไม่รุนแรงเท่า คือ มีอาการไข้สูง ไอ หายใจเร็วหรือปอดบวม ซึ่งคุณหมอใช้วิธีการรักษาตามอาการและเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 นอกเหนือจากการได้รับเชื้อมาจากผู้ใหญ่และคนในครอบครัวแล้ว การพาเด็กไปในที่สาธารณะ ชุมชน สถานที่ที่มีคนเยอะ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการพาไปพื้นที่ดังกล่าวโดยไม่จำเป็น หากเด็กมีอาการป่วย แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตอาการดังต่อไปนี้ ไข้สูง ไอ เหนื่อยหอบ ซึม ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที และที่สำคัญต้องแจ้งข้อมูลต่างๆ ให้กับทางโรงพยาบาลโดยละเอียด โดยเฉพาะประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวหรือเพื่อนร่วมโรงเรียน

การป้องกันที่สำคัญ หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กสัมผัสสิ่งของต่างๆ โดยไม่จำเป็น รวมทั้งควรสอนเด็กๆ เรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล ไม่ใช้สิ่งของประจำตัวร่วมกับผู้อื่น กินอาหารปรุงสุก ไม่กินของสุกๆดิบๆ ใช้ช้อนกลาง และล้างมืออย่างถูกวิธีที่สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยไม่ให้เป็นแหล่งรังโรค สังเกตอาการเจ็บป่วยของคนในบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เอาเชื้อมาติดลูกได้ สำหรับเด็กที่มีโรคประจำตัว ควรควบคุมโรคเดิมให้ดี กินยาอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันโรคไอพีดี เพื่อป้องกันปอดอักเสบ

อีกหนึ่งเกราะป้องกันลูกรักให้ห่างไกลจากไวรัส COVID-19 คือ การสร้างความรู้ความเข้าใจกับตัวโรคแก่เด็ก อย่างกระชับ เพื่อให้เข้าใจถึงสถานการณ์และการปฏิบัติตัวซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อให้กับเด็กๆ ได้ อาทิ 1.บอกกับลูกว่า ตอนนี้มีเชื้อโรคตัวใหม่และรุนแรง ที่สามารถติดกันได้ง่ายจากการไอ จาม และการสัมผัสสิ่งของร่วมกันทุกคนต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น 2. สอนให้ลูกล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ทุกครั้งอย่างถูกต้อง ก่อนและหลังทำกิจกรรมต่างๆ 3. อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ควรหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้าหรือเอามือเข้าปาก เพราะทำให้ติดเชื้อโรคได้ 4. ต้องใส่หน้ากากอนามัยเสมอเมื่อไปนอกบ้านหรือที่มีคนเยอะ

ในสถานการณ์เช่นนี้ แนะนำว่าประชาชนทั่วไป ควรตระหนักกับโรคระบาด แต่ไม่ตระหนกกับโรคจนเกินไป มีความตื่นตัวในสถานการณ์ของโรค แต่ไม่ตื่นตูมหรือเสพข่าวสาร จนเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ จนภูมิคุ้มกันของตัวเองลดลง ที่สำคัญ การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) ลดการออกไปนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการใช้ขนส่งสาธารณะ งดการเดินทางไปแหล่งชุมชน พยายามใช้การทำงานที่บ้าน เดินทางให้น้อยที่สุดทั้งในและนอกประเทศ เน้นเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล หมั่นล้างมือ กินอาหารปรุงสุกใหม่ สวมหน้ากากอนามัย และคอยติดตามข่าวสารอยู่เสมอก็จะช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยดี

ถึงแม้แนวโน้มการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในวัยเด็ก จะมีอัตราผู้ป่วยไม่มากเท่ากับช่วงวัยอื่นๆ แต่การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด คุณพ่อคุณแม่หรือคนในบ้านต้องล้างมือและทำความสะอาดตัวเองทุกครั้งก่อนสัมผัสลูก เด็กอายุ 1 ขวบขึ้นไปสามารถสวมใส่หน้ากากอนามัยได้อย่างปลอดภัย แต่ไม่แนะนำในเด็กเล็กสวมใส่หน้ากากอนามัยโดยไม่มีผู้ปกครองดูแล เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจยังไม่แข็งแรง อาจทำให้หายใจลำบากได้

ที่สำคัญ คือคนใกล้ชิดเด็กต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยด้วย การหมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อสร้างภูมิต้านทาน หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ทั้งคุณพ่อคุณแม่และแก้วตาดวงใจของคุณ ห่างไกลจาก COVID-19

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img