Sunday, 22 December 2024 | 7 : 03 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 7 : 03 pm
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

“แอสตร้าเซนเนก้า” ใกล้บรรลุเป้าหมาย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ จากโครงการพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับ “ฮันนี่เวลล์”

แอสตร้าเซนเนก้า ใกล้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ จากโครงการพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับฮันนี่เวลล์ อุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เกือบเป็นศูนย์ แอสตร้าเซนเนก้ายังประกาศใช้กระแสไฟฟ้าทั้งหมดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน พร้อมตั้งเป้าหมายใหม่ด้านความยั่งยืนสำหรับเครือข่ายซัพพลายเออร์

China shenzhen Skyscraper

แอสตร้าเซนเนก้า และ ฮันนี่เวลล์ จะร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่โดยใช้สารขับดันชนิด HFO-1234ze ซึ่งมีค่าศักยภาพในการทําให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential หรือ GWP) ต่ำกว่าสารขับดันทั่วไปซึ่งมีการใช้ในเภสัชภัณฑ์สำหรับโรคระบบทางเดินหายใจถึง 99.9%1

บริษัท ฯ ประกาศความร่วมมือดังกล่าวพร้อมกับการเผยแพร่รายงานด้านความยั่งยืนประจำปีของแอสตร้าเซนเนก้า และแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของ Ambition Zero Carbon ซึ่งเป็นโครงการด้านความยั่งยืนหลักขององค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ทั้งนี้ รายงานด้านความยั่งยืน ประจำปี 2565 ได้ระบุว่าพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของแอสตร้าเซนเนก้าที่นำมาใช้นั้นมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และบริษัทฯ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และทางอ้อม (Scope 2) ได้ถึง 59% นับตั้งแต่ปี 2558  โดยเป็นการคำนวณรวมคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ Alexion ด้วย

นายปาสกาล โซริออท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “แอสตร้าเซนเนก้ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการผลักดันบริษัทสาขาต่าง ๆ ทั่วโลกให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2568 และตั้งเป้ามีห่วงโซ่ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนในอัตราติดลบภายในปี 2573 ความร่วมมือของแอสตร้าเซนเนก้ากับ ฮันนี่เวลล์ ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

ดาเรียส อดัมซิค ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ฮันนี่เวลล์ กล่าวว่า “ความร่วมมือของฮันนี่เวลล์ และแอสตร้าเซนเนก้าในโครงการพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่ ซึ่งใช้สารขับดันที่มีค่า GWP เกือบเป็นศูนย์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เรามีเป้าหมายที่จะลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกจากการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยปราศจากการจำกัดทางเลือกในการรักษาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านสุขภาพของผู้ป่วย”

อุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่

ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพายาสูดพ่น2 และหลายคนใช้อุปกรณ์สูดพ่นยาขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลว (Pressurized metered dose inhalers หรือ pMDIs)2 ซึ่งมีการใช้ก๊าซเรือนกระจกเป็นสารขับดันเพื่อนำส่งยาเข้าสู่ปอดของผู้ใช้ 3

ผลล่าสุดจากการทดลองครั้งแรกในมนุษย์ระยะที่ 1 ซึ่งใช้สารขับดันชนิด HFO-1234ze ที่มีค่าก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential หรือ GWP) เกือบเป็นศูนย์ ในยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลวหรือ pMDIs ซึ่งมี Budesonide, Glycopyrronium และ Formoterol fumarate เป็นสารประกอบ พบว่ามีผลเชิงบวกจากการใช้ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี โดยพบว่ามีความปลอดภัย ความทนต่อยาและการดูดซึมของสารองค์ประกอบเข้าสู่ร่างกายในระดับที่ใกล้เคียงกับการใช้ยา Breztri Aerosphere (ซึ่งมี Budesonide, Glycopyrronium และ Formoterol fumarate เป็นองค์ประกอบ) แอสตร้าเซนเนก้าคาดว่ายา Breztri จะเป็นยาชนิดแรกที่จะมีการพัฒนาใช้แพลตฟอร์ม pMDI แบบใหม่ ซึ่งจะมีการยื่นขึ้นทะเบียนเพื่อการอนุมัติทะเบียนยาในลำดับต่อไป ทั้งนี้นอกจากยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลวหรือ pMDIs รุ่นใหม่ แอสตร้าเซนเนก้ายังจะเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมยาสูด ชนิดผงแห้งอีกด้วย

โรคระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก โดยพบว่าในทางการแพทย์มีความต้องการยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลวหรือ pMDIs ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย-9 โดยความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ สมรรถภาพปอดที่ลดลง และระดับอายุของผู้ป่วยทั้งในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญประกอบการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ยาสูดพ่นที่เหมาะสมที่สุด5-9

การกำหนดเป้าหมายด้านผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนให้แก่เครือข่ายซัพพลายเออร์ โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์

แอสตร้าเซนเนก้าถือเป็นหนึ่งใน 7 บริษัทแรกของโลกที่มีเป้าหมายให้ปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ขององค์กร ผ่านการตรวจสอบและยืนยันโดยโครงการกำหนดเป้าหมายโดยอิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative หรือ SBTi) ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ขององค์กร(Corporate Net Zero Standard) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกขององค์กร แอสตร้าเซนเนก้ามุ่งผลักดันให้ 95% ของเครือข่ายซัพพลายเออร์และพันธมิตรทางธุรกิจ มีเป้าหมายที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์เช่นเดียวกัน ภายในสิ้นปี 2568 

แอสตร้าเซนเนก้าแบ่งปันข้อมูลจากประสบการณ์ด้านการลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โดยบริษัทเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Energize โปรแกรมซึ่งเปิดตัว ณ การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) อันมุ่งเน้นการยกระดับการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนสำหรับซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมยา และ Sustainable Markets Initiative (SMI) Health System Taskforce โครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพในกลุ่มประเทศต่างๆ ซึ่งมุ่งขับเคลื่อนให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่มีปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของแอสตร้าเซนเนก้าในปี 2564 ในรายงานด้านความยั่งยืน และข้อมูลด้านความยั่งยืน ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านมา

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img