Sunday, 28 April 2024 | 6 : 56 pm

4Quarter.co

Sunday, 28 April 2024 | 6 : 56 pm
ธ.ก.ส. ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ลง 0.25% หนุนการฟื้นตัวกลุ่มเปราะบาง   •   เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” ประจำปี 2566 ในงาน AIA Annual Agency Awards Presentation 2023­­­­   •   ERGO ยกระดับการดูแล ส่งต่อความห่วงใย เปลี่ยนการเดินทางให้ง่ายขึ้นตลอดช่วง 7 วันอันตราย   •   ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่ม คงเหลืออัตราดอกเบี้ย MRR (หลังปรับลด) = 6.595%   •   Caring is Giving “Protect Your Car” ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ใส่ใจคุณ พร้อมเคียงข้างทุกการเดินทาง ชวนลดความเสี่ยง ปกป้องรถที่คุณรักอย่างยั่งยืน   •   เคทีซี เผยยอดใช้จ่ายไอเทมคลายร้อนที่ KTC U SHOP พุ่งกว่า 120% เปิดช่องทางช้อปใหม่ผ่านแอป KTC Moblie สะดวก ปลอดภัย พร้อมรับโปรสุดคุ้ม   •   กสิกรไทย ร่วมฉลองความสำเร็จ KCBL รุ่น 1   •   กคช. ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ มุ่งการพัฒนาควบคู่ 4 มิติ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงบั้นปลาย   •   ถอดบทวิเคราะห์ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ เผยมุมมองขยายพอร์ต สู่ 4 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ “กาญจนาภิเษก – พุทธมณฑล – พัฒนาการ – รามคำแหง”   •   สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายรัฐบาล ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง   •   ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับรางวัล TOP CEO Thailand 2023   •   วิริยะประกันภัย รวมพลังจิตอาสาสร้างโป่งเทียม แหล่งอาหารช้างป่า ผืนป่าภาคตะวันออก   •   กรุงศรี เดินหน้ากลยุทธ์กลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ รุกสร้างระบบนิเวศเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมต่อโอกาสลงทุนในอาเซียน   •   ทีทีบี ชวนเอสเอ็มอี ร่วมสัมมนา finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต..สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน   •   เงินติดล้อ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม มอบเงินสนับสนุน “มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์”   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย คว้ารางวัลสุดยอดนายจ้างระดับโลก “Global Best Employer Brand Awards 2024”   •   เปิดบ้านหรู 3 ชั้น พร้อมชม Club House สุดหรู ที่ ศุภาลัย เอเลแกนซ์ พหลโยธิน 50   •   กสิกรไทย ปรับโครงสร้างคณะกรรมการ ลดจำนวนกรรมการเป็น 15 คนจาก 18 คน เพิ่มสัดส่วนกรรมการอิสระเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสอดคล้องมาตรฐานสากล   •   เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 2567 ดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เดินหน้านวัตกรรมกรีนต่อเนื่อง เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจในตลาดเติบโตสูง   •   การเคหะแห่งชาติ ร่วมรับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านการส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน” ภายในงาน “มอบรางวัล SIAMRATH AWARDS 2024”   •   ทิพยประกันภัย ปลุกกระแสประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพแพทย์ สร้างความอุ่นใจให้แพทย์ มอบความคุ้มครองสูงสุดถึง 6 ล้านบาท   •   องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี จับมือ เคทีซี เดินหน้าขยายฐานนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร จัดกิจกรรม “SMART HEALTHY CHALLENGE 2024” ดูแลสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก นำทุกคนก้าวสู่โลกใหม่เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี   •   “สำนักงาน คปภ. – ภาคธุรกิจประกันภัย” เตรียมความพร้อมรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17)   •   สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%   •   เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุฟรี แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ร่วมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2   •   ทิพยประกันภัย คว้าสุดยอด 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ รางวัลผู้บริหารองค์กรดีเด่นแห่งปี และรางวัลบริษัทประกันภัยที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการพัฒนาสังคมยอดเยี่ยม   •   ศุภาลัย ผนึก ทีโอเอ ปั้นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว ผุดโปรเจกต์ยักษ์ ‘ฝ้ายิปซัม & สีรักษ์โลก’ เดินหน้าสู่องค์กร Zero Waste อย่างยั่งยืน   •   ออมสิน รับรางวัลองค์กรแห่งความยั่งยืนเพื่อสังคม

คปภ. เดินหน้าภารกิจวิเคราะห์ผลกระทบจากกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย เชิญกูรูกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จัด Workshop ติวเข้มพนักงาน คปภ

คปภ. เพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแล โดยเดินหน้าภารกิจวิเคราะห์ผลกระทบจากกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย เชิญกูรูกฎหมายจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จัด Workshop ติวเข้มพนักงาน คปภ.

ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis : RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ให้แก่พนักงานสำนักงาน คปภ. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงาน คปภ. ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565

เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนหนึ่งว่า ตามแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2564 – 2566) มีพันธกิจในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยให้มีเสถียรภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมีธรรมาภิบาล ส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันภัยให้ยั่งยืน สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับกติกาสากล รวมถึงคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน โดยเครื่องมือหนึ่งในการทำให้พันธกิจดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ คือ การออกกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายที่ใช้ในการกำกับดูแลและพัฒนาธุรกิจประกันภัยให้เป็นกฎหมายที่ดี มีคุณภาพ และเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว จะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย

โดยในปีนี้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติประกันชีวิตฯ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัยฯ รวมทั้งอนุบัญญัติที่ออกตามความกฎหมายแม่บทดังกล่าวด้วย ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ และพระราชบัญญัติคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยฯ จะได้ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ในปี 2566

สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis : RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายให้แก่พนักงานสำนักงาน คปภ. ในครั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ยกร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 อันเป็นหลักการตามแนวนโยบายของมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญ มาอบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานสำนักงาน คปภ. ในเชิงปฏิบัติการ (Workshop) พร้อมฝึกภาคปฏิบัติครอบคลุมเนื้อหา 3 หัวข้อหลัก คือ หัวข้อแรก การทำ RIA กฎหมายและกฎ เพื่อแนะนำและฝึกให้พนักงานของสำนักงาน คปภ. ทดลองทำแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบของกฎหมายตามแบบฟอร์มที่ใช้งานจริง โดยใช้โจทย์เป็นอนุบัญญัติของสำนักงาน คปภ. เพื่อให้เห็นภาพกระบวนการที่เป็นรูปธรรมของแนวคิด วิธีการ และเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล การระบุสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ วิธีการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา การใช้หลักเหตุผลและความจำเป็นที่รัฐควรเข้าแทรกแซงโดยเลือกใช้มาตรการทางกฎหมาย ซึ่งรวมไปถึงแนวทางการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนได้เสียให้ครอบคลุม และรูปแบบการเปิดรับฟังความคิดเห็นที่เหมาะสมเพื่อให้ได้รับข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นอกจากนี้จะได้เรียนรู้หลักการสำคัญของการวิเคราะห์ผลกระทบที่ต้องคำนึงถึงทั้งมิติทางด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตลอดจนการประยุกต์ใช้หลักความได้สัดส่วน (Principle of Proportionality) เช่น การใช้ Standard Cost Model วิธีการคำนวณภาระต้นทุนในการปฏิบัติตามกฎหมาย มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการชั่งน้ำหนักระหว่างผลกระทบกับความคุ้มค่าของการออกกฎหมายตามหลักคิดสากล
หัวข้อที่ 2 การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายและกฎ ซึ่งเป็นขั้นตอนและกระบวนการควบคุมคุณภาพของกฎหมายหลังจากที่กฎหมายได้ออกมาใช้บังคับแล้วชั่วระยะเวลาหนึ่ง พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องประเมินผลสัมฤทธิ์กฎหมายและกฎของตัวเองทุกรอบระยะเวลา 5 ปี โดยกำหนดให้มีการประเมินรอบแรกสำหรับพระราชบัญญัติที่มีผลใช้บังคับก่อนปี 2562 ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2568 ซึ่งสำนักงาน คปภ. มีภารกิจที่ต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายและกฎที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลรวม 5 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.บ.ประกันชีวิตฯ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัยฯ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ พ.ร.บ.คปภ.ฯ และ พ.ร.ก.กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติฯ ดังนั้น การอบรม Workshop ตามหัวข้อนี้จะทำให้พนักงานของสำนักงาน คปภ. มีองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาวิเคราะห์ว่ากฎหมายที่ออกไปแล้วนั้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แต่แรกเพียงใด เกิดภาระหรือผลกระทบที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ มีอุปสรรคและปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร มีสถิติการดำเนินคดีมากน้อยเพียงใด เพื่อนำมาสู่ขั้นตอนของการประเมินผลสัมฤทธิ์ว่ากฎหมายหรือกฎดังกล่าวยังคงจำเป็นต้องดำรงอยู่ หรือควรปรับปรุง หรือควรให้ยกเลิกไป โดยต้องจัดทำข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานการประเมิน ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายตามที่กำหนด
และหัวข้อที่ 3 การแนะนำการใช้งาน “ระบบกลางทางกฎหมาย(Law Portal) ซึ่งเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ตาม พ.ร.บ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางรวบรวมกฎหมายของภาครัฐให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้จากแหล่งเดียว ตามเจตจำนงของมาตรา 77 แห่งรัฐธรรมนูญที่มุ่งหมายให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายได้โดยสะดวก เข้าใจกฎหมายได้ง่าย และสามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ ระบบกลางทางกฎหมายยังถูกกำหนดให้เป็นช่องทางสื่อสารหลัก ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐทุกแห่งใช้เป็น Platform ในการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับร่างกฎหมายและกฎของตนเอง คำอธิบายกฎหมาย คำแปลกฎหมาย รายงาน RIA รายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งยังเป็นเวทีเปิดเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน อันเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสะท้อนและแสดงออกซึ่งความคิดเห็นต่อกฎหมายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น ในการปฏิบัติภารกิจด้านการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายรวมถึงอนุบัญญัติของสำนักงาน คปภ. ต่อจากนี้ จะต้องดำเนินการผ่านระบบกลางทางกฎหมายเป็นหลัก ควบคู่ไปกับวิธีการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงาน หรือจัดประชุม Focus Group หรือวิธีการอื่นดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่เดิมซึ่งเป็นไปตามความเหมาะสม เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ของการได้รับข้อมูลที่มีคุณภาพอันจะนำไปสู่การตัดสินใจที่มีคุณภาพ และก่อเกิดเป็นกฎหมายที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไป

“การอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (Regulatory Impact Analysis : RIA) และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ที่จัดให้กับพนักงานสำนักงาน คปภ. ในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่จำเป็นที่จะต้องเร่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และสร้างประสบการณ์การปฏิบัติงานเสมือนจริงเพื่อพัฒนาศักยภาพของพนักงานสำนักงาน คปภ. โดยการเรียนรู้จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่เป็น Authority ในเรื่องนี้ ซึ่งหากพนักงานของสำนักงาน คปภ. เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะทำให้การนำเอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย