Thursday, 2 May 2024 | 10 : 14 pm

4Quarter.co

Thursday, 2 May 2024 | 10 : 14 pm
ออมสิน จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคี ร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน   •   หอการค้าไทย Kick Off โครงการรวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต ปี 2567 ต่อยอดโครงการ 9 แสนซีซี 90 ปี หอการค้าไทย เชิญชวนสมาชิกร่วมบริจาคโลหิต เพื่อใช้สำรองยามขาดแคลน   •   วิริยะประกันภัย ปิดฉากดวลวงสวิงสนามสุดท้ายโซนภาคใต้ “Viriyah Invitational Golf Tournament 2024”   •   “แอกซ่าประกันภัย” เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้า จับมือ “วีซ่า”มอบประกันภัยการเดินทางต่างประเทศฟรี! รับเทรนด์ท่องเที่ยวเติบโต   •   กรุงศรี ออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือน ตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเครื่องกรองน้ำพกพาและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ   •   กรุงเทพประกันชีวิต และ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมจัดงานขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการวางแผนความคุ้มครองและการออมยาวนานกว่า 20 ปี   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด   •   แอปฟินนิกซ์ (FINNIX) เปิดตัวห้องเรียนออนไลน์ฟรี ‘เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์’ ตอบอินไซต์คนทำมาหากินที่ไม่มีเวลา ตั้งเป้าเสริมแกร่ง 10,000 คนทั่วไทยปีนี้   •   ฟิลลิปประกันชีวิต มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้น ภายใต้หัวข้อ “Get To Know Philliplife”   •   BAM จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนาบุคลากร   •   SCG HOME Experience เปิด 3 โซนใหม่ ตอกย้ำทุกเทรนด์การอยู่อาศัยเอาใจคนรักบ้าน   •   ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการ SME รายย่อย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   คิง เพาเวอร์ ส่งท้ายความฮอต ยิ่งช้อป ยิ่งได้ลด ตลอดทั้งเดือน   •   TOA เปิดนโยบาย GREEN MISSION เดินหน้าพันธกิจ พิชิต Net Zero เสริมแกร่งด้วย ฉลากลดโลกร้อน (CFR) มากที่สุดในสีทาอาคาร ตอกย้ำผู้นำตลาดสีเบอร์หนึ่ง เติบโตสู่ปีที่ 60 อย่างยั่งยืน   •   การเคหะแห่งชาติ ก่อสร้างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% คาดว่าจะส่งมอบให้ผู้อยู่อาศัยประมาณเดือนพฤษภาคม 2567   •   ทิพยประกันภัย จับมือ BEM มอบของขวัญช่วงวันแรงงาน สำหรับผู้ถือบัตร MRT/MRT PLUS และ EASY PASS รับฟรี! ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท พร้อมค่าชดเชยรายวัน 500 บาทต่อวัน   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ส่ง“โอเชี่ยนไลฟ์ เบทเทอร์ ไลฟ์ 95/60 (Package)” แบบประกันตลอดชีพแนวคิดใหม่ ที่จะช่วยให้คุณออกแบบอนาคตที่ดียิ่งกว่าสำหรับวัยเกษียณ   •   กสิกรไทย ประกาศลดดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง 0.25% เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในช่วงที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่   •   TQM ร่วมกับ BKI จัดแคมเปญรับวันแรงงาน กับแนวคิด ประกันภัยมนุษย์เงินเดือน: ทุกความเสี่ยงบริหารได้ พร้อมมอบฟรีประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม (ไมโครอินชัวรันส์)   •   กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต จัดกิจกรรมลูกค้า “Barista Workshop” ณ จ.เชียงราย และเชียงใหม่ เอาใจคนรักกาแฟ   •   ศุภาลัย ร่อนโปรฯเด็ด “ของแทร่ แฟร์ทุกช้อยส์” เลือกเล้ย เครื่องใช้ไฟฟ้าสุดพรีเมียม 8 ชิ้น หรือช่วยผ่อนสูงสุด 2 แสนบาท!   •   กรุงศรี คว้ารางวัล “Best Bank for Sustainable Finance” และกวาดรางวัลด้านความยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าธุรกิจไว้วางใจ สู่การเติบโตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน   •   กลุ่มเอไอเอ ประกาศผลประกอบการมูลค่าธุรกิจใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยมูลค่าธุรกิจใหม่ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52 บาท   •   วิริยะประกันภัย ถวายเครื่องอุปโภคบริโภค มูลนิธิสหชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดการแก้ปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก   •   TOA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 และอนุมัติจ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลัง 0.35 บาทต่อหุ้น   •   บีคอน วีซี ร่วมกับ SUN Group ลงทุน Series A ใน ION Energy สตาร์ทอัพพลังงานโซลาร์สัญชาติไทย หนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำ   •   เมืองไทยประกันภัย จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 จ่ายเงินปันผล 5.00 บาทต่อหุ้น   •   เคทีซี ควงแขน ซีไลฟ์ แบงคอก ชวนครอบครัวท่องเที่ยว เปิดประสบการณ์นอกห้องเรียน

สวพส. โชว์ผลงานวิจัย “โลกร้อนกับเกษตรบนดอย” ปรับตัวอย่างไร ในสภาพอากาศที่แปรปรวน

นักวิจัย สวพส. เผยผลงานวิจัย “โลกร้อน กับเกษตรบนดอย” หวังเป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง ที่พบกับการผันแปรของสภาพอากาศระหว่างปีค่อนข้างสูง โดยบูรณาการจากภาครัฐเอกชน และเกษตรกร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศทั้งระยะสั้นและระยะยาว การวิจัยศึกษาด้านสภาพภูมิอากาศและการวิจัยพืช เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการสร้างการรับรู้ของสถานการณ์ ศึกษาวิธีการ และกลยุทธ์การปรับตัวของเกษตรกรที่สามารถนำไปใช้ได้

นางสาวอัจฉรา ภาวศุทธิ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. เปิดเผยว่า ปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) มีการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.8 พันล้านคน อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรจะเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียสจากสภาวะโลกร้อน (Global warming) ขณะที่พื้นที่ที่ใช้เพาะปลูกมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลต่อพืชอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง คือ สภาวะจากสิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic stress) เช่น สภาพความร้อน ความเย็น ความแห้งแล้ง ความเค็มของดิน โลหะหนัก ที่ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 50-80% และสภาวะจากสิ่งไม่มีชีวิต (Biotic stress) เช่น โรคพืช แมลง วัชพืช มนุษย์จากการใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย 5-20%

ภาวะโลกร้อน คืออะไร ภาวะโลกร้อนคือ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรโดยมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบว่าในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา คือ พ.ศ.2448-2548 อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้ผิวดินทั่วโลกมีค่าสูงขึ้น 0.74 องศาเซลเซียส สภาพอากาศที่ร้อนจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ทั้งสภาวะแห้งแล้งที่รุนแรง ยาวนาน ปริมาณฝนที่ลดลงหรือเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ความต้องการใช้น้ำของพืช ความชื้นในดิน คุณภาพของดินที่ใช้เพาะปลูก รวมถึงการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีพของมนุษย์

สำหรับประเทศไทย มีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียสในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อผลผลิตการเกษตรโดยตรงเนื่องจาก ร้อยละ 75 เป็นการทำการเกษตรแบบอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ

สำหรับพื้นที่สูงของไทย มีรายงานการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสในอีก 50 ปีข้างหน้า โดยค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิสูงสุดมีแนวโน้มลดลง ขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดมีแนวโน้มสูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนรวมต่อปีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวงพบการผันแปรของสภาพอากาศระหว่างปีค่อนข้างสูง และกระทบต่อพัฒนาการ การให้ผลผลิตของพืช โดยเฉพาะไม้ผลและพืชผักเขตหนาว ปัจจัยซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่มีฝนตก สมบัติของดินทางกายภาพ เคมี ความชื้นในดินในแต่ละช่วงของปี รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา แต่ละพื้นที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผลผลิตที่แตกต่างกัน

ดังนั้น การวางแผนกลยุทธการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรทั้งโดยภาครัฐเอกชน และเกษตรกร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศทั้งระยะสั้นและระยะยาวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีแนวทางดังนี้

1) การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นความท้าทายที่ทำให้เกิดการวิจัยในการหาพันธุ์พืชให้เหมาะสมและสามารถปรับสภาพตามสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น พันธุ์ที่ทนโรค แมลงศัตรูพืช พันธุ์ที่ทนร้อนทนแล้งได้มากขึ้น ทนดินเค็ม น้ำเค็ม ทนน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับพืช การปรับปรุงพันธุ์หรือคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือให้มีช่วงการเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน รวมไปถึงการอนุรักษ์ คัดเลือกพันธุ์ท้องถิ่น เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ทนโรค และเติบโตได้ดีในพื้นที่

2) การพัฒนาการผลิตพืชที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น การปลูกพืชในโรงเรือน การทำเกษตรแบบ Smart farming โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีต่าง ๆ

3) Biotic interaction คือ การใช้สิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ต่างๆ ในการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช เพิ่มการเจริญเติบโตของพืช หรือป้องกันกำจัดโรคพืชแมลงศัตรูพืช ได้แก่ การใช้จุลินทรีย์ Bacillus subtilis Trichiderma sp., Streptomyces sp.ในการควบคุมโรคพืช

4) การใช้สารบางชนิด เช่น ABA, Ethylene, Salicylic acid, GA3 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นพืช เพิ่มคุณภาพผลผลิต หรือลดการสูญเสียผลผลิตจากสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น ความหนาวเย็น ดินเค็ม ความแห้งแล้ง หรือทนต่อแสงแดดที่รุนแรง

5) การปรับปรุงแนวทางการทำเกษตรของเกษตรกรให้หลากหลาย หรือการปลูกพืชที่หลากหลายที่เหมาะสมกับพื้นที่ การพัฒนาระบบการผลิตกล้าพืชที่แข็งแรงและปลอดโรค การจัดการแบบผสมผสานในระบบเกษตรอินทรีย์ ระบบการเตือนภัยจากแมลงศัตรูพืช เป็นต้น

ดังนั้น การวิจัยศึกษาด้านสภาพภูมิอากาศและการวิจัยพืช เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการสร้างการรับรู้ของสถานการณ์ และศึกษาวิธีการ กลยุทธ์การปรับตัวของเกษตรกรที่สามารถนำไปใช้ได้ เราต้องเริ่มจากการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิอากาศในพื้นที่แต่ละแห่งให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และต่อเนื่อง มีฐานข้อมูลพืชบนพื้นที่สูง เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมกับพืชให้กับเกษตรกร และใช้เทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพืช พื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์และบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในภาคเกษตรทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกร และนำไปสู่การตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือกปลูกพืชบนพื้นที่สูงได้