ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์แนชั่นแนล ยกระดับบริการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์และโทรศัพท์มือถือสนับสนุนให้ผู้บริโภคและธุรกิจไทยเปิดรับการชำระเงินแบบดิจิทัลในระยะยาว
จากผลสำรวจประจำปี ‘The Future of Payments Study – อนาคตแห่งการใช้จ่าย’ ของ ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่าการใช้เงินสดยังมีคงบทบาทสำคัญในการชำระเงินของคนไทย ซึ่งในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พบการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากการใช้เงินสดเป็นหลัก มาสู่การชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในสัมผัสเชื้อจากพื้นผิวต่าง ๆ ซึ่งทางยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้มีการยกระดับการชำระเงินแบบดิจิทัล การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพราะเล็งเห็นว่าประสบการณ์การใช้จ่ายที่ราบรื่นและกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาดจะช่วยให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงประโยชน์ของการชำระเงินแบบดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
เมื่อไม่นานมานี้ องค์การอนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) ได้ออกมาประกาศเตือนว่า ธนบัตร อาจจะเป็นหนึ่งในวัตถุทที่สามารถปนเปื้อนเป็นเพิ่มการแพร่กระจายของ โควิด-19 ได้เนื่องจากเชื้อไวรัสฯ สามารถฝังตัวอยู่บนพื้นผิวของธนบัตรได้หลายวันติดต่อกัน และเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อโรคองค์กรต่าง ๆ อย่างสมาคมธนาคารไทย ที่ออกมาแนะนำให้ประชาชนหันมาใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลมากยิ่งขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อไวรัสโดยตรง ทางด้าน ธนาคารกลางแห่งประเทศสิงคโปร์ ได้มีการชี้แนะประชาชนให้เปลี่ยนมาใช้การชำระเงินรูปแบบดิจิทัลเพื่อสนับสนุนมาตรการรักษาระยะห่างของภาครัฐ
ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล ขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสนับสนุนให้ผู้บริโภคหันมาใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลอย่างการช้อปปิ้งออนไลน์อยู่บ้าน หรือ การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) และ การชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด (QR Payment) แทนการใช้เงินสดหากมีความจำเป็นที่จะต้องออกไปนอกบ้านเพื่อซื้อของใช้และอาหารที่ซูเปอร์มาร์เก็ต รวมไปถึงประโยชน์ที่การชำระเงินแบบดิจิทัลจะมอบให้กับผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ อย่างเช่น
- ความสะดวกและรวดเร็ว – การชำระเงินแบบดิจิทัลช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการและผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเพลิดเพลินกับการช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ รวมไปถึงบริการจัดส่งอาหารถึงบ้าน
ในประเทศไทย บัตรยูเนี่ยนเพย์ สามารถใช้ได้กับร้านค้าออนไลน์ชั้นนำ อาทิ วัตสัน (Watson), วิลล่า มาร์เก็ต (Villa Market), เซ็นทรัล กรุ๊ป (Central Group), ดีแคทลอน (Decathlon), ซูเปอร์สปอร์ต (Supersport), เอช & เอ็ม (H&M), ซาร่า (Zara) และ พาวเวอร์บาย (Power Buy) รวไปถึงการใช้บนแพลตฟอร์มส่งอาหารอย่าง แกร็บฟู้ด (GrabFood) หรือ บริการส่งของอย่าง ดีเอชแอล (DHL)
- ความปลอดภัย – นอกจากการลดความเสี่ยงของการสัมผัสเชื้อโควิด-19 ที่สามารถอยู่บนธนบัตรได้นานหลายวันแล้ว ระบบความปลอดภัยในการใช้บริการการชำระเงินแบบดิจิทัล ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ สำหรับผู้ให้บริการการชำระเงินดิจิทัลระดับโลกอย่าง ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีเครือข่ายผู้ใช้บริการและร้านค้าคลอบคลุมในหลายประเทศ ระบบความปลอดภัยในการทำธุรกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจฯ จึงมั่นใจได้เลยว่าการชำระเงินของท่านในแต่ละครั้งมีความปลอดภัยสูงสุด ภายใต้แนวทางการจัดการความปลอดภัยของระบบและข้อมูลส่วนบุคคล
- ตรวจสอบยอดใช้จ่ายย้อนหลังและความโปร่งใส – การชำระเงินแบบดิจิทัลยังช่วยเพิ่มความโปร่งใสในการใช้จ่ายให้กับผู้ใช้งานได้ เพราะการทำธุรกรรมในแต่ละครั้งจะตรวจสอบและติดตามยอดค่าใช้จ่ายย้อนหลังได้ทั้งการใช้งานแบบส่วนบุคคลและธุรกิจ ในทุกยอดการใช้จ่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสำหรับนักธุรกิจการที่สามารถตรวจสอบการใช้จ่ายย้อนหลังได้นั้นถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งสามารถตรวจสอบธุรกรรมทั้งหมดได้แบบเรียลไทม์ ผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร ที่ทำให้การควบคุมและจัดการค่าใช้จ่ายง่ายเพียงปลายนิ้ว
- สิทธิประโยชน์และโปรโมชั่น – อีกหนึ่งในประโยชน์จากการใช้บริการการชำระเงินแบบดิจิทัล คนจะหนีไม่พ้นสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ให้บริการและธนาคารผู้ออกบัตรมอบให้ อย่างการสะสมคะแนนพ้อยของบัตรเครดิตที่สามารถนำมาและใช้เป็นส่วนลดหรือแลกเป็นของสุดพิเศษได้ หรือการให้ส่วนลดพิเศษที่ทางผู้ให้บริการระบบการชำระเงินแบบดิจิทัลอย่าง ยูเนี่ยนเพย์ อินเตอร์เนชั่นแนว ร่วมกับร้านค้าต่าง ๆ มามอบให้อยู่อย่างสม่ำเสมอ
สำหรับผู้ถือบัตรยูเนี่ยนเพย์ สามารถใช้การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านขายยาชั้นนำของไทยได้ อาทิ บู๊ทส์, กูร์เมต์ มาร์เก็ต, เลม่อนฟาร์ม ฯลฯ
ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในขณะนี้ อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในการที่ผู้บริโภคเปิดรับการใช้การชำระเงินแบบดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเลือกใช้บริการการชำระเงินแบบดิจิทัลจะต้องคำนึงรูปแบบการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน และแผนการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในระยะยาว โดยผู้บริโภคควรเปิดรับการชำระเงินแบบดิจิทัล ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการชำระเงินในอนาคต เพื่อให้ก้าวทันการพัฒนาของโลกและยุคสมัยที่กำลังผันตัวไปสู่สังคมไร้เงินสดอย่างเต็มรูปแบบซึ่งอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม