Monday, 30 December 2024 | 1 : 43 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Monday, 30 December 2024 | 1 : 43 am
spot_img
กรุงเทพประกันภัย-กรมสุขภาพจิต จับมือส่งเสริมสุขภาพใจ พร้อมสร้างความเข้าใจภาวะซึมเศร้าในกลุ่มเยาวชน สู่การป้องกันที่ยั่งยืน   •   เมืองไทยประกันชีวิต และ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม ออกหน่วยบริการตรวจวัดสายตาและมอบแว่นตาให้ผู้สูงอายุต่อเนื่อง ปีที่ 6   •   การเคหะแห่งชาติ จัดโปรบ้านคุ้มค่า ราคาโดนใจ รับปีใหม่ 2568   •   “CIMB THAI TRIATHLON 2024” ไตรกีฬารักษ์โลก เปลี่ยนเสื้อไตรกีฬาสู่เสื้อนักเรียน ส่งมอบให้ ร.ร. และน้องๆ ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์   •   ออมสิน มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ให้ลูกค้าที่มีประวัติชำระหนี้ดี รายละ 1,000 บาท   •   เลขาธิการ คปภ. นำทีมร่วมเวที IAIS 2024 ผลักดัน 4 แนวทางหลัก สะท้อนบทบาทเชิงรุก ขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยไทยสู่ระดับโลก พร้อมรับมือความท้าทายแห่งอนาคต   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จัดกิจกรรมลูกค้าส่งท้ายปีอย่างเหนือระดับ มอบประสบการณ์เอ็กซ์คลูซีฟบนเรือยอร์ช และกิจกรรมทางน้ำสุดเอ็กซ์ตรีม ณ Ocean Marina Yacht Club Pattaya   •   ภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต – ประกันภัย จับมือรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2568 พร้อมเปิดตัวกรมธรรม์ไมโครอินชัวรันส์   •   วิริยะประกันภัย พร้อมจ่ายสินไหมทดแทน กรณี อุบัติเหตุรถยนต์ชนประชาชน หน้าโรงเรียนบ้านดอนขวาง จ.นครราชสีมา   •   ฟิลลิปประกันชีวิต ร่วมกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) อำนวยความสะดวกคนไทยกลับบ้านปลอดภัย เทศกาลปีใหม่ 2568   •   การเคหะแห่งชาติ พุ่งเป้าปี 2568 พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยรองรับทุกกลุ่มเป้าหมายให้สอดรับกับนโยบายกระทรวง พม.   •   คปภ. ชี้แจง Copayment สัญญาประกันสุขภาพปี 2568 ย้ำ! มีผลเฉพาะผู้เข้าเงื่อนไขเท่านั้น   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568   •   ออมสิน เปิดลงทะเบียนโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” แล้ววันนี้ ผ่านเว็บไซต์ของธนาคาร www.gsb.or.th และแอปพลิเคชัน MyMo   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ส่งพลังความรักมอบความสุขให้ทุกการเดินทางในงาน “รณรงค์ความปลอดภัยการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2568”
spot_img

เลขาธิการ คปภ. ระดมสมองวางกรอบยุทธศาสตร์ 3 ปี

เลขาธิการ คปภ. ระดมสมองวางกรอบยุทธศาสตร์ 3 ปี นำสำนักงาน คปภ. ฟันฝ่า “ยุคโควิดภิวัฒน์” ก้าวสู่ความเป็นองค์กรชั้นนำที่สร้างเสริมระบบประกันภัยให้เข้าถึงโดยง่าย เป็นธรรม และยั่งยืน

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการคปภ.) เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ของสำนักงาน คปภ. (OIC Strategic Management) สำหรับผู้บริหารระดับสูง เพื่อกำหนดทิศทางในการจัดทำกรอบแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. 3 ปี (ปี2564 – 2566) และจัดทำแผนการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ปี 2564 จัดโดยสายกลยุทธ์องค์กร สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรม Renaissance Pattaya Resort & Spa จังหวัดชลบุรี

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้กล่าวในตอนหนึ่งว่า การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. 3 ปี (ปี 2564 – 2566) และจัดทำแผนการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ปี 2564 มีความแตกต่างไปจากทุก ๆ ครั้งที่ผ่านมา เนื่องจากครั้งนี้จำเป็นต้องหยิบยก สภาพปัญหา โอกาส และความท้าทาย ของสำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันภัยที่กำลังเผชิญอยู่ เพื่อนำมาใช้เป็นกรอบความคิดหลัก ๆ ในการจัดทำแผนฯ ดังกล่าว ซึ่งสภาพปัญหา โอกาส และความท้าทาย 7 ประการ ได้แก่

ประการแรก การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด – 19 กลายเป็นตัวเร่งให้สังคมไทยเข้าสู่รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “ยุคโควิดภิวัฒน์” ที่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป มีการใช้เทคโนโลยีและทำธุรกรรมออนไลน์มากขึ้น มีการดำเนินธุรกิจจะเป็นรูปแบบใหม่ภายใต้ New Normal หรืออาจปรับไปสู่ New Business Model มีการนำ Application AI Platform และ API (Application Programming Interface) มาสนับสนุนในการทำธุรกิจประกันภัยตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำมากขึ้น เช่น การเปรียบเทียบเงื่อนไขความคุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย อัตราเบี้ยประกันภัย การเสนอขาย การ Underwrite การออกกรมธรรม์ประกันภัย รวมถึงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องของจำนวนวันในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ เป็นต้น

ประการที่ 2 การพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางประกันภัย หรือ Insurance Bureau System (IBS) ให้เป็นคลังข้อมูลที่ทรงประสิทธิภาพให้กับระบบประกันภัยของไทย ซึ่งในอนาคตจำเป็นต้องวาง Organization Structure ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการพัฒนา IBS อย่างรวดเร็วและยั่งยืน สำหรับภารกิจเร่งด่วนคือการพัฒนา OIC Gateway เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลกับบริษัทประกันภัยกว่า 80 แห่งเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อบริการประชาชนผ่านระบบกลางที่เดียว และต่อยอดให้เกิดความร่วมมือทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมประกันภัยในอนาคต โดยประชาชนผู้เอาประกันภัยจะสามารถใช้เลขที่บัตรประจำตัวประชาชนในการตรวจสอบการทำประกันภัยผ่าน OIC Chatbot ในระยะต่อไปจะมีการต่อยอดให้มีการนำข้อมูลจาก IBS มาใช้ผ่าน Platform เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในอุตสาหกรรมโดยการทำ Big Data Analytics

ประการที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมประกันภัยให้มีความมั่นคงและเติบโตอย่างยั่งยืน (Growth and Sustainable Development) เพื่อให้สามารถแข่งขันในเวทีสากล โดยการให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยภายใต้รูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Model) ที่เหมาะสม ทั้งในเรื่องความมั่นคงทางการเงิน (Prudential) การปฏิบัติและให้บริการแก่ลูกค้า (Market Conduct) ทั้งสองประเด็นนี้ต้องดำเนินการควบคู่กันไป เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าบริษัทประกันภัยมีความมั่นคง สามารถปฏิบัติตามภาระผูกพันต่อผู้เอาประกันภัยได้

ประการที่ 4 ผลักดันให้ธุรกิจประกันภัยมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยการส่งเสริมให้การประกันภัยเข้าไปช่วยรองรับความเสี่ยงให้กับทรัพย์สิน หรือ มหันตภัยให้แก่ภาครัฐ ซึ่งจะเห็นว่าขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการทำประกันภัยทรัพย์สินภาครัฐ หรือในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม (Climate Change) จึงควรมีการศึกษาเรื่องการจัดตั้งกองทุนประกันภัยพิบัติขึ้น โดยมีกติกา และกำหนดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

ประการที่ 5 กติกาสากลที่มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยมาตรฐานสากลมีการปรับเปลี่ยนในหลายด้าน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น มาตรฐานการรายงานทางการเงิน หรือ IFRS 17 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัยเป็นอย่างมาก ดังนั้น สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจต้องเตรียมพร้อมรับมือ และหาทางร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการต้นทุน (Cost Optimization ) เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ประการที่ 6 การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆ (New Product Development) โดยส่งเสริมให้ภาคธุรกิจมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ตอบสนองพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันด้วยเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและความคุ้มครองที่ผู้เอาประกันภัยแต่ละราย (Tailor – Made Insurance) พร้อมทั้งสนับสนุนให้บริษัทประกันภัยมีการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการกำหนดรูปแบบกรมธรรม์ประกันภัยให้มีความเป็นสากลและหลากหลาย หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ตามภูมิภาคหรือพื้นที่เฉพาะ เช่น การประกันภัยทุเรียนภูเขาไฟ การประกันภัยประมง เป็นต้น

และประการที่ 7 Regulatory Reform เพื่อให้สำนักงาน คปภ. สามารถ Deliver Values to Stakeholders ได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากขึ้น การลดความซับซ้อนของกฎระเบียบ การพัฒนาและปรับปรุงกฎระเบียบในการกำกับดูแลที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีความทันสมัยและสามารถประยุกต์ใช้กับสภาพแวดล้อม มีการปรับกฎกติกาให้เป็น
Principle – Based มากขึ้น โดยปรับปรุงกระบวนการเข้าร่วมโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) ให้มีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และมีการพิจารณาอนุมัติที่รวดเร็ว เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัย คนกลางประกันภัย และ Tech Firms สามารถนำนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ หรือลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ ซึ่งขณะนี้ได้ขยายขอบเขตของ Regulatory Sandbox ไปสู่ Own Sandbox แล้ว นอกจากนี้จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในเรื่อง Regulatory Guillotine โดยยกเลิกกฎกติกาที่ล้าสมัยปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัย รวมถึงพัฒนาการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อลดภาระให้กับภาคธุรกิจทำให้สามารถประกอบธุรกิจได้คล่องตัวและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น

“สภาพปัญหา โอกาส และความท้าทาย ทั้ง 7 ประการ ได้ถูกนำมาใช้เป็นกรอบ ในการระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดทิศทางในการจัดทำกรอบแผนยุทธศาสตร์ฯ ในครั้งนี้ และมีทีมจากสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยมีการแบ่งกลุ่มทำเวิร์คช็อปอย่างเข้มข้น ซึ่งผมได้ร่วมระดมสมองเพื่อตกผลึกความคิด และได้ข้อสรุปร่วมกันว่า แผนยุทธศาสตร์ของสำนักงาน คปภ. 3 ปี (ปี 2564 – 2566) จะต้องเป็นแผนที่มีความยืดหยุ่นพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้เหมาะสมกับทุกสถานการณ์และขับเคลื่อนภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ของสำนักงาน คปภ.ที่จะมุ่งสู่การเป็นองค์กรชั้นนำ ที่สร้างเสริมระบบประกันภัย ให้เข้าถึงโดยง่าย เป็นธรรม และยั่งยืน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบและสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img