Sunday, 22 December 2024 | 10 : 18 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 10 : 18 am
spot_img
เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน   •   ธ.ก.ส. เตือนภัย! ระวังมิจฉาชีพทำหนังสือแอบอ้างเป็นธนาคาร เพื่อหลอกให้โอนเงิน   •   บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” ผนึกเอไอเอสรุกขยายฐานสมาชิกใหม่ผ่าน e-Applicationเคทีซีเดินเกมรุกขยายฐานสมาชิกบัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว” (KTC PROUD) ผ่านช่องทางของ
spot_img

“รู้ทันกลโกง! กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผยเคล็ดลับ ‘รู้ให้เท่า-หลีกให้ทัน’ ป้องกันภัยไซเบอร์ยุคดิจิทัล”

กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จึงมีเคล็ดลับมาแนะนำเพื่อให้คุณรู้เท่าทันและป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ

•คิดก่อนจะทำตามปลายสายบอก : ถ้าได้รับข้อความหรือโทรศัพท์สายแปลก ๆ จากคนที่ไม่รู้จัก อย่าเพิ่งเชื่อว่านั่นคือความจริง ใช้เวลาสักนิดเพื่อคิดและไตร่ตรองให้ดีก่อนทำตามที่ปลายสายบอก หากไม่แน่ใจ วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยป้องกันตัวเองได้ คือ เลือกไม่กดรับ แล้วบล็อก จากนั้นลบเบอร์นั้นทิ้งด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับการติดต่อซ้ำ

•อย่ากดลิงค์หรือสแกน QR Code ที่ไม่รู้แหล่งที่มา : หากได้รับคำขอแปลก ๆ ผ่าน SMS, e-Mail หรือ Line อาทิ ขอให้โอนเงิน, ขอเลข OTP, ขอเลขบัตรเครดิต, ขอให้กดลิงค์รับรางวัลหรือกดยืนยันรับพัสดุ ฯลฯ ให้คิดไว้ก่อนว่าอาจเป็นมิจฉาชีพที่ส่งมาล่อลวง ตั้งสติให้ดีและอย่าเพิ่งกดลิงค์หรือสแกน QR Code ที่ไม่มั่นใจ ควรจะตรวจสอบแหล่งที่มาก่อนว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ หากไม่แน่ใจให้ลบทิ้งทันที

•อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ : หากได้รับโทรศัพท์จากคนที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานใด ๆ ก็ตาม อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือยอมทำธุรกรรมการเงินตามคำร้องขอ ให้พยายามขอชื่อ-นามสกุล ชื่อหน่วยงานที่สังกัดเพื่อนำไปตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ และให้รีบหาทางวางสายก่อนที่จะโดนล้วงข้อมูลอื่น ๆ

•อย่าใช้รหัสผ่านที่เดาง่าย : เมื่อใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีทุกชนิด เช่น โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, แท็บเล็ต, โมบายแอปพลิเคชันต่าง ๆ เป็นต้น ควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากและเปลี่ยนบ่อย ๆ

•ตรวจสอบความปลอดภัยของเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน : ก่อนทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ทุกครั้ง ควรตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีการเข้ารหัสข้อมูล โดยสามารถสังเกตสัญลักษณ์กุญแจล็อกบนแถบ URL หรือ “https://” (Hypertext Transfer Protocol Secure) เพื่อป้องกันไม่ให้มีใครสามารถอ่านข้อมูลที่ส่งผ่านบนอินเทอร์เน็ตไปใช้งานได้

•ตรวจสอบก่อนเพิ่มเพื่อนใน Line : ก่อนเพิ่มเพื่อนใน Line ควรมั่นใจว่าเป็นบัญชีที่เชื่อถือได้ เพราะถ้าเผลอกดเพิ่ม Line ปลอมที่มิจฉาชีพทำขึ้นเพื่อหลอกเรา อาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวถูกขโมย เช่น รหัสผ่านหรือข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น หรืออาจถูกหลอกให้ติดตั้งมัลแวร์บนอุปกรณ์ ทำให้ข้อมูลถูกขโมยหรืออุปกรณ์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น หรือบางกรณี มิจฉาชีพอาจ Add Line และแอบอ้างว่าเป็นคนรู้จัก เพื่อหลอกให้โอนเงิน หรือแอบอ้างเป็นสถาบันการเงินหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อหลอกขอข้อมูล หรือหลอกให้ทำธุรกรรม ทางที่ดีหากไม่แน่ใจควรตรวจสอบเพื่อยืนยันก่อนจะหลงเชื่อทำธุรกรรมใด ๆ

•ทำธุรกรรมออนไลน์ด้วยช่องทาง ‘Official Account’ เท่านั้น : เมื่อจำเป็นต้องทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนทุกครั้งว่าเป็นช่องทาง ‘Official Account’ หรือช่องทางการสื่อสารอย่างเป็นทางการของแบรนด์เท่านั้น เพื่อป้องกันมิจฉาชีพทำช่องทางปลอมมาล้วงข้อมูล

•ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอป : ก่อนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันและแพลตฟอร์มออนไลน์มาใช้งานทุกครั้ง ให้ดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้เพราะจะผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนนำแอปขึ้นให้ดาวน์โหลด เช่น App Store, Google Play, Huawei AppGallery เป็นต้น นอกจากนั้น แอปพลิเคชันปลอมมักจะขอสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเกินความจำเป็น หากแอปขอสิทธิ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานหลักของแอป ควรพิจารณาก่อนติดตั้งและลบทิ้งทันทีหากไม่แน่ใจ

•ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะทำธุรกรรมออนไลน์ : หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงินหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวขณะใช้งาน Wi-Fi สาธารณะ เพราะมิจฉาชีพอาจดักข้อมูลที่คุณส่งผ่านเครือข่ายเพื่อขโมยข้อมูลของคุณได้

•เปิดใช้งาน 2FA: 2FA (Two-Factor Authentication) คือ การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน เพื่อยืนยันว่าผู้ใช้บริการทำการยืนยันตัวตนด้วยตนเองจริงเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกรรม โดยวิธีการคือคุณต้องกรอกรหัสที่ได้รับผ่าน SMS หรือแอปพลิเคชันเพิ่มจากรหัสผ่านปกติ ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแพลตฟอร์มที่นิยมให้คุณยืนยันตัวตนลักษณะนี้

•อัพเดตซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันบ่อย ๆ : การอัพเดตซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันเป็นประจำช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ข้อมูลเพราะระบบจะช่วยป้องกันช่องโหว่ที่มิจฉาชีพอาจใช้ในการเข้าถึงข้อมูลของคุณ รวมถึงยังช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบให้ทำงานดีขึ้น

คำแนะนำเหล่านี้เป็นเพียงเกราะป้องกันตัวเองเบื้องต้นที่คุณสามารถทำตามได้ง่าย ๆ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คุณต้องใช้ ‘สติ’ นำทางชีวิต และ ‘เตือนตัวเอง’ ให้ ‘ระมัดระวัง’ ตลอดเวลา รวมทั้งไม่ประมาทกับทุกการกระทำ เพื่อสามารถรับมือกับภัยมิจฉาชีพได้และไม่ตกที่นั่งลำบากให้ต้องทุกข์ใจ

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img