Tuesday, 25 February 2025 | 5 : 30 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Tuesday, 25 February 2025 | 5 : 30 pm
spot_img
BAM แต่งตั้ง “ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร” นั่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ในฐานะพันธมิตรหลักของสโมสรลิเวอร์พูล มอบประสบการณ์สุดพิเศษแก่ลูกค้า เอาใจคอลูกหนัง พาชมแมตช์ว่าที่แชมป์ ระหว่าง ลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์ซิตี้   •   คปภ. ยกระดับการตรวจสอบประกันภัยผ่าน Examination Form ป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบ – คุ้มครองผู้เอาประกันภัย   •   ธ.ก.ส. กาญจนบุรี จัดส่งถุงยังชีพ บรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยและฟื้นฟูเกษตรกร   •   BAM มอบเงินสนับสนุน มูลนิธิศรีสวางควัฒน ในพระอุปถัมภ์ฯ ในโอกาสครบรอบวันสถาปนาบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ก้าวสู่ปีที่ 34   •   ธ.ก.ส. ยกทัพสินค้าและผลิตภัณฑ์จากเกษตรกรคุณภาพถึงมือผู้บริโภคโดยตรงกับงาน “ของดีมีตลาด ภาคตะวันออก x ภาคกลาง” 26-28 ก.พ. นี้ ที่ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่   •   ทิพยประกันชีวิต ร่วมกิจกรรม CSR มูลนิธิบ้านครูบุญชูเพื่อเด็กพิเศษ   •   เมืองไทยประกันชีวิต จัดงาน “DM KICK OFF 2025” ผสานพลังตัวแทนฝ่ายขาย Direct Marketing ทั่วประเทศ   •   สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงาน “บางกอกเจมส์” ครั้งที่ 71 งานแสดงสินค้าจิวเวลรี่ยิ่งใหญ่ 1 ใน 4 ของโลก จัดโดยกระทรวงพาณิชย์   •   Mecha BREAK เปิด OBT ‘Global Storm’ ให้เล่นแล้วตอนนี้! พร้อมโหมด PvPvE ใหม่ล่าสุดเกมยิง PvP หุ่นยนต์ที่ทุกคนรอคอยมากที่สุด เตรียมเปิด OBT ใหม่ บน PC แล้ววันนี้   •   กรุงศรี เอ็กซ์คลูซีฟ มองเศรษฐกิจโลก 2025 ฟื้นตัว แม้มีปัจจัยเสี่ยงชี้ตราสารหนี้และหุ้นยังคุ้มค่าท่ามกลางความผันผวน   •   เอสซีจี ร่วมกับ Frasers Property คว้ามาตรฐาน LEED for Homes ประเภท Single Family ระดับ GOLD ที่แรกในอาเซียน ในโครงการ THE GRAND Riverfront Ratchapruek – Rama 5   •   “กสิกรไทย” ส่งบริการมัดใจตลาดเวียดนาม กวาด 2 รางวัลใหญ่ ระดับนานาชาติ สุดยอดบัตรเครดิตใหม่และสุดยอดธนาคารแห่งใหม่เพื่อเอสเอ็มอีออนไลน์   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ก้าวสู่ปีที่ 76 ชูแนวคิด Love Mindset – Love Solution ใช้ความรักนำไปพบทุกคำตอบของการใช้ชีวิตอย่างมั่นคง มั่นใจ และมีความสุข   •   บมจ.กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ร่วมกับรายการ The First Ultimate จัดกิจกรรม Big Trip in Khao Yai
spot_img

คปภ. ยกระดับการตรวจสอบประกันภัยผ่าน Examination Form ป้องกันความเสี่ยงเชิงระบบ – คุ้มครองผู้เอาประกันภัย

นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงาน คปภ. ได้กำหนดทิศทางและการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ในส่วนของธุรกิจประกันภัยให้มีเสถียรภาพความมั่นคง ปรับตัวได้ เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหนึ่งในภารกิจของแผนงานดังกล่าว คือ การยกระดับการตรวจสอบและการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยผ่านแบบประเมิน Examination Form สำนักงาน คปภ. จึงได้มอบหมายให้สายตรวจสอบ นำโดย นายโสรัจจ์ แรกสกุลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการ สายตรวจสอบ เดินหน้าพัฒนาแบบประเมิน Examination Form เพื่อใช้ประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และหน่วยงานกำกับภายใน (Key Control Function) ของบริษัทประกันภัย ในมิติของการปฏิบัติตามกฎหมายของบริษัทประกันภัยที่ต้องดำเนินการภายใต้กฎหมายของสำนักงาน คปภ.

โดยแบบประเมินดังกล่าวถูกพัฒนาให้มีข้อคำถามที่สะท้อนถึงการทำหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และหน่วยงานกำกับภายใน (Key Control Function) เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทประกันภัยมีระบบการบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายในที่เหมาะสม รวมถึงดูแลให้ระบบต่างๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรการถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) มุ่งเสริมสร้างความโปร่งใส มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงมีการกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อผู้เอาประกันภัย อันนำมาซึ่งเสถียรภาพความมั่นคง ปรับตัวได้ เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปของบริษัทประกัน

นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันสายตรวจสอบได้พัฒนาแบบประเมิน Examination Form เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะมีการประเมินใน 9 ส่วน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการบริษัท 2) คณะกรรมการตรวจสอบ 3) คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง 4) คณะกรรมการผลิตภัณฑ์ประกันภัย 5) คณะกรรมการลงทุนและคณะกรรมการสินเชื่อ 6) หน่วยงานตรวจสอบภายใน 7) หน่วยงานบริหารความเสี่ยง 8) หน่วยงานคณิตศาสตร์ประกันภัย และ 9) หน่วยงานดูแลการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยจะมีการจัดส่งแบบประเมิน Examination Form ให้บริษัทประกันภัยจัดทำเป็นประจำทุกไตรมาส เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1/2568 เป็นต้นไป ซึ่งในไตรมาสที่ 1/2568 กำหนดระยะเวลาให้บริษัทประกันภัยจัดทำให้แล้วเสร็จและนำส่งมายังสำนักงาน คปภ. ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 และเพื่อให้การตอบแบบประเมินมีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ เนื่องจากเป็นการให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้ประเมินตนเอง สำนักงาน คปภ. กำหนดให้ข้อคำถามบางข้อบริษัทต้องแนบเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการตอบแบบสอบถาม

นอกจากนี้ ผลการตอบแบบประเมิน Examination Form ของหน่วยงานกำกับภายในที่สำคัญของบริษัท (Key Control Function) จะต้องให้คณะกรรมการชุดย่อยที่ดูแลหน่วยงานดังกล่าวเป็นผู้พิจารณาคำตอบและลงนามรับรองผลการตอบโดยประธานคณะกรรมการชุดย่อยนั้นๆ สำหรับผลการตอบของคณะกรรมการชุดย่อยและคณะกรรมการบริษัท ให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาคำตอบ ทั้งนี้ผลการตอบแบบประเมิน Examination Form ทุกหมวดจะต้องนำเวียนให้คณะกรรมการบริษัททุกท่านพิจารณาให้ความเห็นชอบ และลงนามรับรองการตอบโดยประธานคณะกรรมการบริษัทมายังสำนักงาน คปภ. ซึ่งสำนักงาน คปภ. โดยสายตรวจสอบจะรวบรวมผลการตอบแบบประเมิน Examination Form มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ ของสายตรวจสอบที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาทิ แบบประเมินตนเองระดับองค์กร (Self-Assessment Questionnaire: SAQ) และแบบประเมินตนเองระดับกิจกรรม (Risk and Control Matrix: RCM) เพื่อนำมากำหนดมาตรการในการตรวจสอบและกำกับดูแลตามความเสี่ยงของบริษัทประกันภัยต่อไป

“ผลของการยกระดับการตรวจสอบและการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยผ่านแบบประเมิน Examination Form ไม่เพียงช่วยให้สำนักงาน คปภ. มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการติดตามและตรวจสอบตามความเสี่ยง แต่ยังช่วยให้บริษัทประกันภัยมีเครื่องมือในการติดตามประเมินการปฏิบัติงานด้วยตนเองของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และหน่วยงานกำกับภายใน (Key Control Function) เป็นประจำทุกไตรมาส และยังเป็นโอกาสให้บริษัทพิจารณาทบทวน ผลงานรวมถึงนำไปปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการให้เกิดประโยชน์แก่บริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด รวมถึงเป็นมาตรการในเชิงป้องกัน (Preventive Measure) การปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายของบริษัท นอกจากนี้ การยกระดับการตรวจสอบและการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยผ่านแบบประเมิน Examination Form จะช่วยให้อุตสาหกรรมประกันภัยมีมาตรฐานและแนวปฏิบัติในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการชุดย่อย และหน่วยงานกำกับภายใน (Key Control Function) ที่เป็นไปในทิศทางตามแนวทางสากลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเสถียรภาพ และเพิ่มความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมประกันภัยในระยะยาว และที่สำคัญสามารถป้องกันปัญหาของความเสี่ยงเชิงระบบ ลดผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจที่จะนำไปสู่ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนในอนาคต กับทั้งช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เอาประกันภัย ประชาชน และผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมประกันภัยด้วย” นายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมายและตรวจสอบ กล่าวในตอนท้าย

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img