Monday, 14 April 2025 | 11 : 30 am
คปภ. ประสานภาคธุรกิจประกันภัย เร่งประเมินความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว แนะผู้เอาประกันเตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการรับค่าสินไหม   •   “พาณิชย์” ดัน SMEs ไทย เจรจาธุรกิจออนไลน์อาเซียน-ตะวันออกกลาง คาดสร้างยอดขายได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้าน พร้อมโอกาสขยายความร่วมมือในระยะยาว   •   คปภ. ร่วมมือกับ ปภ. บูรณาการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 68 “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ”   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. รณรงค์สงกรานต์สร้างสุขด้วยการประกันภัยและความปลอดภัยทางถนน   •   การเคหะแห่งชาติ จัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ 2568 โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1   •   “ธนาคารไทยเครดิต” ส่งมอบโปรโมชั่นพิเศษรับสงกรานต์เพียงเปิดบัญชีเงินฝาก ‘สาขาสยามพารากอน’ รับฟรี สินค้าที่ระลึกจาก Buttery World   •   อุ่นใจรับเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568…เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง AIS ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยสุขใจสงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์)” ร่วมเติมเต็มความสุขและรอยยิ้ม   •   คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน   •   ทิพยประกันภัย จัดทัพน้ำใจ TIP Smart Assist เสริมความปลอดภัย ดูแลประชาชนทั่วไทยรับสงกรานต์   •   กสิกรไทย ให้คนไทยเที่ยวนอกสะดวก ง่ายไปอีกขั้น ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ได้แล้วใน 47 ประเทศทั่วโลก พร้อมตั้งเป้าธุรกรรมปีนี้โต 9 เท่า   •   “ออมสิน” จัดพิธีรดน้ำขอพรต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ 2568 สืบสานประเพณีไทยอันดีงาม   •   วิริยะประกันภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงสงกรานต์ 68 “ง่วงไม่ขับ เมาไม่ขับ ขับไม่โทร”   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยการเดินทางและการส่งเสริมการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2568   •   พิธีเปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568   •   คปภ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย เสริมความมั่นคงธุรกิจประกันภัยไทย
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Monday, 14 April 2025 | 11 : 30 am
spot_img
คปภ. ประสานภาคธุรกิจประกันภัย เร่งประเมินความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว แนะผู้เอาประกันเตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการรับค่าสินไหม   •   “พาณิชย์” ดัน SMEs ไทย เจรจาธุรกิจออนไลน์อาเซียน-ตะวันออกกลาง คาดสร้างยอดขายได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้าน พร้อมโอกาสขยายความร่วมมือในระยะยาว   •   คปภ. ร่วมมือกับ ปภ. บูรณาการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 68 “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ”   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. รณรงค์สงกรานต์สร้างสุขด้วยการประกันภัยและความปลอดภัยทางถนน   •   การเคหะแห่งชาติ จัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ 2568 โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1   •   “ธนาคารไทยเครดิต” ส่งมอบโปรโมชั่นพิเศษรับสงกรานต์เพียงเปิดบัญชีเงินฝาก ‘สาขาสยามพารากอน’ รับฟรี สินค้าที่ระลึกจาก Buttery World   •   อุ่นใจรับเทศกาลสงกรานต์ ปี 2568…เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง AIS ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยสุขใจสงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์)” ร่วมเติมเต็มความสุขและรอยยิ้ม   •   คปภ. ทำงานร่วมกับ กทม. ลงพื้นที่ประสานงานกรณีตึกถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เร่งตรวจสอบสิทธิประโยชน์ด้านประกันภัยเพื่อดูแลผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน   •   ทิพยประกันภัย จัดทัพน้ำใจ TIP Smart Assist เสริมความปลอดภัย ดูแลประชาชนทั่วไทยรับสงกรานต์   •   กสิกรไทย ให้คนไทยเที่ยวนอกสะดวก ง่ายไปอีกขั้น ขยายบริการ QR สแกนจ่ายผ่าน K PLUS ได้แล้วใน 47 ประเทศทั่วโลก พร้อมตั้งเป้าธุรกรรมปีนี้โต 9 เท่า   •   “ออมสิน” จัดพิธีรดน้ำขอพรต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ 2568 สืบสานประเพณีไทยอันดีงาม   •   วิริยะประกันภัย ร่วมใจลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงสงกรานต์ 68 “ง่วงไม่ขับ เมาไม่ขับ ขับไม่โทร”   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยการเดินทางและการส่งเสริมการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ประจำปี 2568   •   พิธีเปิดศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2568   •   คปภ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณสำรองเบี้ยประกันภัย เสริมความมั่นคงธุรกิจประกันภัยไทย
spot_img

GPSC เดินหน้าแผนศึกษาพัฒนาเทคโนโลยี SMR ตอบโจทย์ภาคการผลิตเพื่อลดคาร์บอนฯ มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero

GPSC เจาะลึกเทคโนโลยี SMR ตอบโจทย์พลังงานสะอาด หนุนลดคาร์บอนฯ ในภาคการผลิต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมเดินหน้าจับมือ Seaborg Technologies จากเดนมาร์ก ศึกษาความเป็นไปได้พัฒนาในไทย วางเป้าหมายเป็นเทคโนโลยีที่สร้างเสถียรภาพด้านพลังงาน มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นายศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่าสถานการณ์ความต้องการด้านพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพในการส่งมอบทั้งไฟฟ้าและไอน้ำในประเทศไทย มีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ฯลฯ ที่ไม่สามารถผลิตไอน้ำได้ ในขณะที่การผลิตไฟฟ้ายังคงไม่มีความต่อเนื่องขึ้นกับสภาพอากาศ ดังนั้น GPSC จึงเร่งศึกษาพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดประเภทอื่นๆ ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนภาคการผลิตของประเทศไทย ให้สามารถรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนพลังงาน ควบคู่กับการลดการปล่อยคาร์บอนฯ สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทยภายในปี 2608

โดยขณะนี้ GPSC ได้ให้ความสนใจในเทคโนโลยี Small Modular Reactor หรือ SMR ในเจเนอเรชันที่ 4 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าผลิตพลังงานแบบโมดูล่าร์ขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นโมดูลที่ผลิตและประกอบเบ็ดเสร็จจากโรงงานผู้ผลิต สามารถขนย้ายได้ โดยร่วมกับบริษัท Seaborg Technologies จากประเทศเดนมาร์ก เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการพัฒนาโครงการฯ ซึ่งกำหนดแผนระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี (ระหว่างปี 2567-2570)นอกจากนี้ จากรายงานตัวเลขของไทยที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สูงถึง 250 ล้านตันต่อปีนั้น แบ่งเป็นแหล่งที่มาจากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า 37% การขนส่งคมนาคม 34% ภาคอุตสาหกรรม 24% และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ 5% โดยที่ไทยมีแผนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จนถึงปี 2593 โดยเน้นไปที่กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า ให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง จาก 2562 ที่ 100 ล้านตัน จนไปถึงปี 2593 จะอยู่ที่ 41 ล้านตัน แต่ในส่วนของภาคอุตสาหกรรม ปี 2562 อยู่ที่ 42 ล้านตัน แต่ช่วงปี 2593 กลับขึ้นมาเป็นประมาณ 50 ล้านตัน แสดงว่าแผนการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ประสบความสำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมจำเป็นต้องใช้พลังงานความร้อน (Thermal Energy) ซึ่งไม่สามารถผลิตจากพลังงานหมุนเวียนประเภทแสงอาทิตย์หรือลมได้

ในขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังติดตามเรื่องนโยบาย CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ของสหภาพยุโรป ที่ได้กำหนดราคาคาร์บอนฯ สำหรับสินค้าบางรายการที่นำเข้าไปในกลุ่มประเทศยุโรป มีผลบังคับใช้ในปี 2569 หากเอกชนยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานสะอาดได้ หรือมีพลังงานหมุนเวียนไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันลดลง หรือโดนกำแพงภาษีเพิ่มขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยี SMR สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายรูปแบบ อาทิ การผลิตไฮโดรเจน การผลิตไอน้ำ การใช้เป็นแหล่งพลังงานสีเขียวในกระบวนการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS)

“สำหรับกระบวนการศึกษาความเป็นไปได้กับผู้เชี่ยวชาญจาก Seaborg จะสามารถทำให้ GPSC เข้าถึงมาตรฐานความปลอดภัยของเทคโนโลยี SMR ตามข้อกำหนดของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) อย่างไรก็ตาม การศึกษาความเป็นไปได้ SMR จะต้องดำเนินการตามกฎระเบียบที่ภาครัฐกำหนด และรับฟังความเห็นจากทุกภาคส่วนภายในประเทศที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งด้านกฎหมาย ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ฯลฯ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โดยคาดว่าภายในปี 2578 จะเห็นเทคโนโลยี SMR ในเชิงพาณิชย์ได้ในต่างประเทศ” นายศิริเมธ กล่าว

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img