Monday, 6 May 2024 | 9 : 00 am

4Quarter.co

Monday, 6 May 2024 | 9 : 00 am
โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต   •   กรุงเทพประกันภัย ห่วงใยลูกค้าที่ประสบภัยลมพายุฤดูร้อน รับแจ้งเคลม 24 ชั่วโมง โทรสายด่วน 1620   •   คณะกรรมการ คปภ. มีมติเห็นชอบแต่งตั้งรองเลขาธิการ และผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   สสว. ส่งภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ “ปวดหัวซินโดรม” มุ่งสร้างการรับรู้และแนะนำบริการ E-Service เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME   •   เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ตอกย้ำความสำเร็จ การก้าวสู่องค์กร Net Zero   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเงิน 6 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี   •   ธ.ก.ส. จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันฉัตรมงคล 2567   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เผยมาตรฐาน “Green Living Standard” ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนกลับคืนสู่โลก หนึ่งพันห้าร้อยล้านลิตรตลอด 3 ปี ลดผลกระทบ PM2.5 และประหยัดค่าไฟ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่าให้แก่ลูกบ้าน   •   TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67 ตอกย้ำพันธกิจ Green Mission นวัตกรรมสีและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   •   HKSTP นำเสนอโครงการบ่มเพาะ หวังเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชี้ไทยที่มีศักยภาพสูง เล็งดึงสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้   •   ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันฉัตรมงคล   •   เคทีซี จับมือ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ มอบสิทธิพิเศษ สำหรับชุดน้ำชายามบ่ายจากผลงานศิลปะชิ้นเอกของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ   •   FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT & Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล   •   เก็บคูปองส่วนลดสูงสุด 200 บาท/เดือน กับบัตรกรุงศรี เดบิต หรือบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Lazada   •   THAIFA ประกาศผลรางวัลตัวแทนยอดเยี่ยมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2567   •   MTL Click แอปพลิเคชันจากเมืองไทยประกันชีวิต คว้ารางวัลสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี “BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4   •   ออมสิน จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคี ร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน   •   หอการค้าไทย Kick Off โครงการรวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต ปี 2567 ต่อยอดโครงการ 9 แสนซีซี 90 ปี หอการค้าไทย เชิญชวนสมาชิกร่วมบริจาคโลหิต เพื่อใช้สำรองยามขาดแคลน   •   วิริยะประกันภัย ปิดฉากดวลวงสวิงสนามสุดท้ายโซนภาคใต้ “Viriyah Invitational Golf Tournament 2024”   •   “แอกซ่าประกันภัย” เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้า จับมือ “วีซ่า”มอบประกันภัยการเดินทางต่างประเทศฟรี! รับเทรนด์ท่องเที่ยวเติบโต   •   กรุงศรี ออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือน ตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเครื่องกรองน้ำพกพาและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ   •   กรุงเทพประกันชีวิต และ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมจัดงานขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการวางแผนความคุ้มครองและการออมยาวนานกว่า 20 ปี   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด   •   แอปฟินนิกซ์ (FINNIX) เปิดตัวห้องเรียนออนไลน์ฟรี ‘เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์’ ตอบอินไซต์คนทำมาหากินที่ไม่มีเวลา ตั้งเป้าเสริมแกร่ง 10,000 คนทั่วไทยปีนี้   •   ฟิลลิปประกันชีวิต มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้น ภายใต้หัวข้อ “Get To Know Philliplife”   •   BAM จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนาบุคลากร   •   SCG HOME Experience เปิด 3 โซนใหม่ ตอกย้ำทุกเทรนด์การอยู่อาศัยเอาใจคนรักบ้าน   •   ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการ SME รายย่อย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   คิง เพาเวอร์ ส่งท้ายความฮอต ยิ่งช้อป ยิ่งได้ลด ตลอดทั้งเดือน

“อยุธยา”พร้อมสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะชุมชนวันละ 300 ตัน เป็นต้นแบบนำร่องการกำจัดขยะแบบครบวงจร อยุธยา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อบจ.พระนครศรีอยุธยา) เตรียมลงนามในสัญญาให้เอกชนร่วมทุนโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการระบบกำจัด
ขยะมูลฝอยแบบครบวงจร และสร้างโรงไฟฟ้า ขนาด 6.5 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงโดยใช้
ขยะมูลฝอยประมาณวันละ 300 ตันมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF (Refuse Derived Fuel)

จากสัญญาดังกล่าว บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) จะเป็นผู้ลงทุนใน
กระบวนการจัดการเชื้อเพลิงขยะที่รับจาก อบจ.พระนครศรีอยุธยา แล้วนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยโดยใช้เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะแบบเชิงกลและชีวภาพ (Mechanical Biological Treatment : MBT) ร่วมกับเทคโนโลยีเตาเผาขยะชุมชนและผลิตพลังงานไฟฟ้า (Stoker-Type Incinerator) ในโครงการ บนที่ดินราชพัสดุ ขนาดพื้นที่ 73 ไร่ 2 งาน ณ ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อบจ.พระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ครอบครองสิทธิการเช่าจากกรมธนารักษ์

ทั้งนี้ โดยบริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเช่าที่ดินนั้นแก่กรมธนารักษ์ ทั้งนี้ ECW มีระยะเวลาดำเนินกิจการตามสัญญานาน 24 ปี เมื่อสิ้นสุดสัญญา ECW จะส่งมอบกรรมสิทธิ์ในระบบ สิ่งก่อสร้าง อาคาร เครื่องจักร วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์อื่นๆ ของระบบให้เป็นกรรมสิทธิของ
กระทรวงการคลัง

บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่าง
บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 กับ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25 ด้วยทุนจดทะเบียน เริ่มต้น 32.5 ล้านบาท

นายอบีนาช มาจี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท EEP ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ECW เปิดเผยว่าโครงการ
ผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ณ ศูนย์จัดการขยะต้นแบบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต.มหาพราหมณ์ อ. บางบาล
จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เงินลงทุนในโครงการประมาณ 990 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารระบบ
ผลิตเชื้อเพลิงขยะแบบ MBT และเครื่องจักรกลหลัก เป็นเงิน 20 ล้านบาท การปรับพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน
และระบบสาธารณูปโภค เป็นเงิน 50 ล้านบาท งานก่อสร้างอาคารและระบบเตาเผาขยะและผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็น
เงิน 800 ล้านบาท งานระบบสนับสนุนและอุปกรณ์เครื่องจักรหนัก เป็นเงิน 35 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดิน 14.66 ล้านบาท และงานสนับสนุนอื่น ๆ เป็นเงิน 70.34 ล้านบาท โดยแหล่ง เงินทุนแบ่งสัดส่วนเป็นการกู้เงินจากธนาคารในประเทศ ร้อยละ 70 ในวงเงิน 693 ล้านบาท และเงินทุนของผู้ร่วมทุน ร้อยละ 30 เป็นเงิน 297 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 7 ปี มีแหล่งรายได้จากค่ากำจัดขยะรับจาก อบจ.พระนครศรีอยุธยา อัตราตันละ 200 บาท และรายได้
จากการขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

“การที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินโครงการนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหลายด้าน เช่น ส่งเสริม
ให้การจัดการขยะชุมชนเป็นไปอย่างเหมาะสมโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยลดปัญหาขยะล้นเมือง ส่งเสริม
ให้มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบทางเลือก นอกจากนี้ศูนย์บริหารจัดการขยะ ยังจะเป็น
ตัวอย่างของรูปแบบทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้รับ
ส่วนแบ่งจากผลตอบแทนรายได้จากการขายไฟฟ้าเข้าระบบการไฟฟ้า และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม ด้านสุข
อนามัยของประชาชนด้วย ” นาย อบีนาช มาจี้ กล่าวในตอนท้าย

สำหรับที่มาของโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะชุมชนในจังหวัด พระนครศรีอยุธยานั้นเกิดจาก แผนการดำเนิน
งานระยะยาวของกระทรวงมหาดไทย ที่ได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้ลงทุนแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน โดยมอบให้ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อการกำจัดขยะ จึงเป็นที่มาของการร่วมทุนระหว่าง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยบริษัทในเครือ คือ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ( PEA ENCOM )
กับ บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ ในการดำเนินธุรกิจบริหารจัดการ
ขยะชุมชนอย่างครบวงจร ด้วยการนำขยะชุมชนมาแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า
แบบใช้พลังไอน้ำ ในพื้นที่ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เกิดเป็น
บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้(พระนครศรีอยุธยา) จำกัด และเข้ายื่นความจำนงเข้าร่วมลงทุนดำเนินโครงการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ของ อบจ.พระนครศรีอยุธยาดังกล่าว