Saturday, 27 April 2024 | 12 : 21 am

4Quarter.co

Saturday, 27 April 2024 | 12 : 21 am
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” ประจำปี 2566 ในงาน AIA Annual Agency Awards Presentation 2023­­­­   •   ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่ม คงเหลืออัตราดอกเบี้ย MRR (หลังปรับลด) = 6.595%   •   Caring is Giving “Protect Your Car” ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ใส่ใจคุณ พร้อมเคียงข้างทุกการเดินทาง ชวนลดความเสี่ยง ปกป้องรถที่คุณรักอย่างยั่งยืน   •   เคทีซี เผยยอดใช้จ่ายไอเทมคลายร้อนที่ KTC U SHOP พุ่งกว่า 120% เปิดช่องทางช้อปใหม่ผ่านแอป KTC Moblie สะดวก ปลอดภัย พร้อมรับโปรสุดคุ้ม   •   กสิกรไทย ร่วมฉลองความสำเร็จ KCBL รุ่น 1   •   กคช. ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ มุ่งการพัฒนาควบคู่ 4 มิติ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงบั้นปลาย   •   ถอดบทวิเคราะห์ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ เผยมุมมองขยายพอร์ต สู่ 4 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ “กาญจนาภิเษก – พุทธมณฑล – พัฒนาการ – รามคำแหง”   •   สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายรัฐบาล ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง   •   ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับรางวัล TOP CEO Thailand 2023   •   วิริยะประกันภัย รวมพลังจิตอาสาสร้างโป่งเทียม แหล่งอาหารช้างป่า ผืนป่าภาคตะวันออก   •   กรุงศรี เดินหน้ากลยุทธ์กลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ รุกสร้างระบบนิเวศเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมต่อโอกาสลงทุนในอาเซียน   •   ทีทีบี ชวนเอสเอ็มอี ร่วมสัมมนา finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต..สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน   •   เงินติดล้อ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม มอบเงินสนับสนุน “มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์”   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย คว้ารางวัลสุดยอดนายจ้างระดับโลก “Global Best Employer Brand Awards 2024”   •   เปิดบ้านหรู 3 ชั้น พร้อมชม Club House สุดหรู ที่ ศุภาลัย เอเลแกนซ์ พหลโยธิน 50   •   กสิกรไทย ปรับโครงสร้างคณะกรรมการ ลดจำนวนกรรมการเป็น 15 คนจาก 18 คน เพิ่มสัดส่วนกรรมการอิสระเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสอดคล้องมาตรฐานสากล   •   เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 2567 ดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เดินหน้านวัตกรรมกรีนต่อเนื่อง เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจในตลาดเติบโตสูง   •   การเคหะแห่งชาติ ร่วมรับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านการส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน” ภายในงาน “มอบรางวัล SIAMRATH AWARDS 2024”   •   ทิพยประกันภัย ปลุกกระแสประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพแพทย์ สร้างความอุ่นใจให้แพทย์ มอบความคุ้มครองสูงสุดถึง 6 ล้านบาท   •   องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี จับมือ เคทีซี เดินหน้าขยายฐานนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร จัดกิจกรรม “SMART HEALTHY CHALLENGE 2024” ดูแลสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก นำทุกคนก้าวสู่โลกใหม่เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี   •   “สำนักงาน คปภ. – ภาคธุรกิจประกันภัย” เตรียมความพร้อมรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17)   •   สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%   •   เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุฟรี แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ร่วมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2   •   ทิพยประกันภัย คว้าสุดยอด 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ รางวัลผู้บริหารองค์กรดีเด่นแห่งปี และรางวัลบริษัทประกันภัยที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการพัฒนาสังคมยอดเยี่ยม   •   ศุภาลัย ผนึก ทีโอเอ ปั้นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว ผุดโปรเจกต์ยักษ์ ‘ฝ้ายิปซัม & สีรักษ์โลก’ เดินหน้าสู่องค์กร Zero Waste อย่างยั่งยืน   •   ออมสิน รับรางวัลองค์กรแห่งความยั่งยืนเพื่อสังคม   •   ธ.ก.ส. จับรางวัลชำระดีมีโชค ครั้งที่ 2 มอบโชคอีกกว่า 208 ล้านบาท ส่งเสริมแนวทางลดภาระหนี้อย่างยั่งยืน   •   ทีทีบี เสริมศักยภาพเอสเอ็มอี ด้วยฟีเจอร์ใหม่ “analytic report” ภายใต้แอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ttb smart shop วิเคราะห์ข้อมูลการขายเชิงลึก ครบทุกมิติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

“อะโครเมกาลี” โรคหายาก สิทธิบัตรทองใช้รักษาได้

หากเอ่ยถึงโรคไจแกนติสซึม (Gigantism) และ อะโครเมกาลี (Acromegaly) เชื่อว่าหลายคนอาจจะไม่รู้จัก โรค “ไจแกนติสซึมและอะโครเมกาลี” จัดเป็นหนึ่งในโรคหายาก (Rare Disease) เนื่องจากมีความชุกของโรคต่ำมากในกลุ่มประชากร เนื่องจากการมีผู้ป่วยจำนวนน้อยมากทำให้การพัฒนายาเพื่อนำมาใช้ในการวินิจฉัย บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรคหายากนี้เกิดขึ้นช้ากว่าการพัฒนายาสำหรับโรคที่มีความชุกสูงๆ ยาที่นำมาใช้ในการรักษาโรคหายากนี้จึงจัดเป็น “ยากำพร้า” ซึ่งมักจะมีราคาสูงหรือยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

รศ.พญ.เมตตาภรณ์ พรพัฒน์กุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าจากข้อมูลระบุว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปมีความชุกของโรคอะโครเมกาลีประมาณ 50 ราย ต่อประชากร 1 ล้านคน ถือว่าเป็นหนึ่งในโรคหายาก สำหรับประเทศไทย แม้ยังไม่มีข้อมูลศึกษาที่ชัดเจนแต่มีการคาดการณ์ว่า มีผู้ป่วยโรคอะโครเมกาลีจำนวน 3,000 คนทั่วประเทศ

โรคไจแกนติสซึมและอะโครเมกาลีเป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากภาวะที่มีระดับฮอร์โมนเจริญเติบโต (Growth hormone) ในเลือดสูงกว่าปกติ ฮอร์โมนเจริญเติบโตนี้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของร่างกาย หากพบฮอร์โมนนี้สูงเกินกว่าปกติในวัยเด็กจะทำให้ร่างกายมีการสูงใหญ่กว่าปกติจะเรียกว่าโรคไจแกนติสซึมหรือโรคยักษ์ แต่ถ้าหากมีฮอร์โมนสูงกว่าปกติหลังพ้นวัยเจริญเติบโตก็จะเกิดโรคอะโครเมกาลี ซึ่งผู้ป่วยจะมีกระดูกบางส่วนของร่างกายแผ่ขยายขนาดเพิ่มมากขึ้นผิดปกติ อาทิ กระดูกใบหน้า มือและเท้า ทำให้มีรูปหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป มีสันคิ้วหนา กรามใหญ่ คางยื่น การสบฟันผิดปกติ และมีมือเท้าใหญ่ขึ้น
การที่มีระดับฮอร์โมนเจริญเติบโตสูงผิดปกตินอกจากจะทำให้ร่างกายสูงใหญ่ รูปหน้าเปลี่ยนแปลง มือเท้าใหญ่ขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้เกิดความผิดปกติของระบบต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย อาทิเช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ลิ้นโตคับปาก หัวใจโต ข้อเสื่อม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกายทำให้มีโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูงตามมาได้ ผู้ป่วยที่มีโรคไจแกนติสซึมอะโครเมกาลี จะมีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าประชากรทั่วไปประมาณ 2-3 เท่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ควบคุมระดับฮอร์โมนเจริญเติบโตไม่ได้

รศ.พญ.เมตตาภรณ์ กล่าวว่า สาเหตุของโรคนี้มักเกิดจากเนื้องอกของต่อมใต้สมองเป็นหลักส่วนอาการของโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นอาการของโรคซึ่งเกิดจากภาวะที่มีฮอร์โมนเกิน และอีกส่วนหนึ่งจะเป็นอาการที่เกิดจากการที่เนื้องอกไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียง โดยสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะที่มีฮอร์โมนเกิน สังเกตได้จากมือและเท้าที่ใหญ่กว่าปกติจนผู้ป่วยต้องเปลี่ยนขนาดแหวน ขนาดรองเท้า การมีใบหน้าที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น กรามใหญ่ คางยื่น จมูกใหญ่ ริมฝีปากหนา ผิวหนังหน้าหยาบขึ้น หรือร่างกายที่สูงผิดปกติเป็นต้น ขณะเดียวกันอาจจะมีหัวใจโต ความดันโลหิตสูง มีโรคเบาหวานที่ควบคุมได้ยาก เและอาการอีกส่วนหนึ่งที่เกิดจากเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองไปเบียดอวัยวะสำคัญที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณนั้น เช่น เส้นประสาทตา เส้นประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา เส้นประสาทที่เลี้ยงความรู้สึกบริเวณใบหน้า ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ตามัว เห็นภาพซ้อน หรือมีอาการชาบริเวณหน้าผากและโหนกแก้ม

“โรคนี้มีอาการที่หลากหลาย ผู้ป่วยบางคนอาจจะมาด้วยอาการปวดศีรษะหรือมองเห็นผิดปกติ บางคนถึงขั้นเป็นโรคเบาหวาน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หัวใจโตเหนื่อยง่าย บางคนอาจมาเพราะเกิดจากมีคนทักรูปร่างหน้าตาที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้แพทย์จะประเมินอาการแสดงที่เข้าได้กับโรคนี้ (ซึ่งสามารถดูได้จากภาพ) และการตรวจยืนยันว่ามีฮอร์โมนเจริญเติบโตสูงเกินระดับปกติหรือไม่ ร่วมกับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีเพื่อประเมินก้อนเนื้องอกของต่อมใต้สมอง”

รศ.พญ.เมตตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคอะโครเมกาลี ถูกบรรจุอยู่ในกลุ่มโรคหายากที่สามารถใช้สิทธิรักษาประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)ได้แล้วฉะนั้น หากมีอาการสงสัยและคิดว่าจะเป็นโรคนี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์ตามสิทธิการรักษาได้ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้การรักษาทำได้ยากขึ้นและไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร มีโอกาสที่จะมีโรครุนแรงและโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้มาก แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถตรวจพบได้เร็วและทำการรักษาเพื่อที่จะทำให้ระดับฮอร์โมนของผู้ป่วยใกล้เคียงกับคนปกติก็จะช่วยลดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ลงได้
การรักษาจะมีเป้าหมายเพื่อควบคุมระดับฮอร์โมนเจริญเติบโตในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุดและการลดขนาดของก้อนเนื้องอก แนวทางการรักษาแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกเป็นลำดับแรกถ้าหากไม่มีข้อห้ามของการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้ แต่สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่หรือลุกลามมากซึ่งไม่สามารถผ่าตัดออกให้หมดได้ หรือในผู้ป่วยที่ไม่หายขาดหลังการผ่าตัด แพทย์อาจพิจารณาการรักษาด้วยการฉายแสง หรือการใช้ยาเพื่อลดและควบคุมระดับฮอร์โมน หรืออาจใช้ทั้งการฉายแสงควบคู่ไปกับการให้ยา