Saturday, 27 April 2024 | 7 : 48 am

4Quarter.co

Saturday, 27 April 2024 | 7 : 48 am
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” ประจำปี 2566 ในงาน AIA Annual Agency Awards Presentation 2023­­­­   •   ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่ม คงเหลืออัตราดอกเบี้ย MRR (หลังปรับลด) = 6.595%   •   Caring is Giving “Protect Your Car” ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ใส่ใจคุณ พร้อมเคียงข้างทุกการเดินทาง ชวนลดความเสี่ยง ปกป้องรถที่คุณรักอย่างยั่งยืน   •   เคทีซี เผยยอดใช้จ่ายไอเทมคลายร้อนที่ KTC U SHOP พุ่งกว่า 120% เปิดช่องทางช้อปใหม่ผ่านแอป KTC Moblie สะดวก ปลอดภัย พร้อมรับโปรสุดคุ้ม   •   กสิกรไทย ร่วมฉลองความสำเร็จ KCBL รุ่น 1   •   กคช. ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ มุ่งการพัฒนาควบคู่ 4 มิติ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงบั้นปลาย   •   ถอดบทวิเคราะห์ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ เผยมุมมองขยายพอร์ต สู่ 4 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ “กาญจนาภิเษก – พุทธมณฑล – พัฒนาการ – รามคำแหง”   •   สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายรัฐบาล ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง   •   ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับรางวัล TOP CEO Thailand 2023   •   วิริยะประกันภัย รวมพลังจิตอาสาสร้างโป่งเทียม แหล่งอาหารช้างป่า ผืนป่าภาคตะวันออก   •   กรุงศรี เดินหน้ากลยุทธ์กลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ รุกสร้างระบบนิเวศเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมต่อโอกาสลงทุนในอาเซียน   •   ทีทีบี ชวนเอสเอ็มอี ร่วมสัมมนา finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต..สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน   •   เงินติดล้อ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม มอบเงินสนับสนุน “มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์”   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย คว้ารางวัลสุดยอดนายจ้างระดับโลก “Global Best Employer Brand Awards 2024”   •   เปิดบ้านหรู 3 ชั้น พร้อมชม Club House สุดหรู ที่ ศุภาลัย เอเลแกนซ์ พหลโยธิน 50   •   กสิกรไทย ปรับโครงสร้างคณะกรรมการ ลดจำนวนกรรมการเป็น 15 คนจาก 18 คน เพิ่มสัดส่วนกรรมการอิสระเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสอดคล้องมาตรฐานสากล   •   เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 2567 ดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เดินหน้านวัตกรรมกรีนต่อเนื่อง เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจในตลาดเติบโตสูง   •   การเคหะแห่งชาติ ร่วมรับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านการส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน” ภายในงาน “มอบรางวัล SIAMRATH AWARDS 2024”   •   ทิพยประกันภัย ปลุกกระแสประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพแพทย์ สร้างความอุ่นใจให้แพทย์ มอบความคุ้มครองสูงสุดถึง 6 ล้านบาท   •   องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี จับมือ เคทีซี เดินหน้าขยายฐานนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร จัดกิจกรรม “SMART HEALTHY CHALLENGE 2024” ดูแลสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก นำทุกคนก้าวสู่โลกใหม่เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี   •   “สำนักงาน คปภ. – ภาคธุรกิจประกันภัย” เตรียมความพร้อมรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17)   •   สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%   •   เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุฟรี แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ร่วมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2   •   ทิพยประกันภัย คว้าสุดยอด 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ รางวัลผู้บริหารองค์กรดีเด่นแห่งปี และรางวัลบริษัทประกันภัยที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการพัฒนาสังคมยอดเยี่ยม   •   ศุภาลัย ผนึก ทีโอเอ ปั้นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว ผุดโปรเจกต์ยักษ์ ‘ฝ้ายิปซัม & สีรักษ์โลก’ เดินหน้าสู่องค์กร Zero Waste อย่างยั่งยืน   •   ออมสิน รับรางวัลองค์กรแห่งความยั่งยืนเพื่อสังคม   •   ธ.ก.ส. จับรางวัลชำระดีมีโชค ครั้งที่ 2 มอบโชคอีกกว่า 208 ล้านบาท ส่งเสริมแนวทางลดภาระหนี้อย่างยั่งยืน   •   ทีทีบี เสริมศักยภาพเอสเอ็มอี ด้วยฟีเจอร์ใหม่ “analytic report” ภายใต้แอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ttb smart shop วิเคราะห์ข้อมูลการขายเชิงลึก ครบทุกมิติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

Long COVID เชื้อจบ อาการไม่จบ : ทำความเข้าใจภาวะเรื้อรังหลังหายป่วยโควิด-19

กรุงเทพฯ- กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก ชี้แจงเกี่ยวกับภาวะลองโควิด (LONG COVID) อาการที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แม้จะหายจากการติดเชื้อแต่ยังมีผลข้างเคียงซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยในระยะยาว พร้อมแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นสุขภาพร่างกายเมื่อหายป่วย

พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอด สถาบันโรคทรวงอก อธิบายว่า Long COVID  หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 พบในผู้ป่วยบางรายที่เป็น โควิด–19 และพ้นระยะการแพร่เชื้อ ( เชื้อ โควิดอยู่ในร่างกายประมาณ 10-14 วันมากสุด 21 วัน) แล้วแต่ยังแสดงอาการคล้ายคลึงกับอาการขณะที่ยังติดมีเชื้อโควิด–19 อยู่ ในภาวะปกติหลังติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ต่ในผู้ป่วย Long COVID กลับพบว่ามีอาการมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป และสามารถมีอาการได้นานถึง 4-6 เดือน ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตได้ในกรณีที่มี ภาวะ Long COVID คือจะมีอาการคั่นเนื้อคั่นตัว อาการไอเล็กน้อย อ่อนเพลีย ยังรู้สึกถึงการไม่ฟื้นตัวจากอาการป่วย เช่น ยังรู้สึกเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม อาการ Long COVID ไม่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวกว่านั้น 

อย่างไรก็ดี ภาวะ LONG Covid ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่หายจากอาการติดเชื้อทุกคน  สาเหตุของภาวะ Long COVID นั้นเกิดจากภาวะอักเสบที่ยังหลงเหลือ หรือเกิดจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด LONG Covid ได้แก่ อายุ กล่าวคือผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่พบว่ามีภาวะ LONG Covid หรือโรคประจำตัวเช่น ภาวะอ้วน ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คนไข้จึงรู้สึกอ่อนเพลีย อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด LONG Covid คือความเครียด ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวลอันเนื่องจากความเจ็บป่วย หรือความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องถูกจำกัดบริเวณจากการกักตัวเป็นเวลานาน 

แนวทางการรักษาภาวะ Long COVID นั้นจะเน้นที่การรักษาตามอาการเป็นหลัก ผู้ป่วยสามารถรอให้หายเองได้หากรู้สึกถึงอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น อยากมีอาการไอ เหนื่อย หอบมมากขึ้น หรือมีอาการทางระบบประสาทที่มีมากกว่าปกติ เช่น รู้สึกสับสน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาต่อไป การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกลับมาทำงานของร่างกายได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ นอกจากนี้ป่วยต้องอาศัยกำลังใจทั้งจากตนเองและคนรอบข้าง อย่างเช่นการพูดคุย สื่อสาร ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อบรรเทาความเครียด ก็สามารถช่วยให้สุขภาพจิตที่ย่ำแย่อันเนื่องมาจากภาวะ Long COVID ดีขึ้นได้ 

“อีกหนึ่งข้อสงสัยที่ว่าการรับวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Long COVID ได้หรือไม่นั้น สามารถกล่าวได้ว่าวัคซีนจะเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยเมื่อติดเชื้อ จะไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง กล่าวคือ เมื่อไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง ก็เท่ากับว่ามีโอกาสที่จะเกิดภาวะ Long COVID ได้น้อยลงแน่นอน”

มีข้อสงสัยว่าในผู้ป่วยที่ภาวะปอดอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากดีขึ้นแล้ว กลับมามีปัญหาหอบเหนื่อย และมีภาวะออกซิเจนต่ำนั้น คือภาวะ Long COVID หรือไม่ อาการดังที่กล่าวเกิดจากความเสียหายของปอดนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะ Long COVID โดยตรง หากแต่มีผลมาจากการทำลายเนื้อเยื่อโดยภูมิคุ้มกันทำให้ปอดมีความเสื่อม และยังไม่ฟื้นตัวพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ เกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่ทำให้เหนื่อยหอบ หรือเกิดจากการติดเชื้อ อื่นซ้ำเติมเช่น เชื้อราหรือ แบคทีเรีย อาการของ Long COVID ที่แท้จริงคืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว รู้สึกมีอาการไข้ หรือไอมากกว่าปกติ แต่ไม่ได้ส่งผลให้เนื้อปอดอักเสบเพิ่มขึ้น