Sunday, 22 December 2024 | 5 : 26 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 5 : 26 pm
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

ดูแลสุขภาพกายและใจในภาวะวิกฤติ COVID-19 กับ 5 ท่าบริหารฟื้นฟูปอด

ในช่วงการระบาดของเชื้อ COVID-19 ทำให้หลายคนเป็นกังวลว่าตนเองจะติดเชื้อหรือไม่ หรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้ว ก็อาจจะกังวลใจว่าอาการของตนเองนั้นอยู่ในระดับใด จะแพร่เชื้อสู่คนรอบข้างหรือไม่ จนเกิดภาวะเครียดและส่งผลต่ออาการป่วยได้ รวมถึงผู้ป่วยที่เข้าพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลแล้ว อาจมีความเครียดเกิดขึ้นจากความเป็นห่วงคนในครอบครัว เป็นห่วงงานที่ต้องรับผิดชอบจนลืมดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจของตนเอง การสังเกตอาการทางกายและจิตใจจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสุขภาพจิตที่ดีจะส่งผลถึงสุขภาพกายที่ดีด้วยเช่นเดียวกัน

พญ. อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้อำนวยการศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ในขณะนี้หลายคนมีความกังวลเรื่องของการติดเชื้อและเริ่มตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพจิตใจสำหรับสถานการณ์ COVID-19 ที่การดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มผู้ติดเชื้อที่กำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล อยู่ระหว่างรอเตียงในโรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลสนาม ที่จะเกิดความวิตกกังวลในส่วนของอาการป่วยรวมถึงเป็นห่วงครอบครัว งาน ว่าจะเป็นการผลักภาระให้กับคนรอบข้าง จนเกิดอาการเครียดและรู้สึกไม่สบายใจ ทำให้สุขภาพจิตใจแย่ลง รวมทั้งสุขภาพกายที่อาจทำให้ปอดทำงานหนักขึ้นเพราะเมื่อมีความกังวลเรื่องต่าง ๆ แล้ว ทำให้มีการพูดคุยที่มากขึ้นขณะที่ป่วย อาทิการสอบถามเรื่องการรักษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบ่อย ๆ การติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือเพื่อสั่งงาน จะทำให้ปอดทำงานหนักจนสุขภาพกายอาจจะทรุดลงได้ เพราะสุขภาพใจก็เหมือนกับสุขภาพกาย ที่ต้องการการดูแลและใส่ใจอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อต่อสู้กับโรคร้าย สิ่งที่ควรปฎิบัติข้อแรกคือ การพักปอด หากมีการติดเชื้อ COVID-19 ผลที่ตามมาคือ ปอดจะทำงานหนัก เพื่อแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนให้เพียงพอ ผู้ป่วยจึงควรลดการพูดคุยหรือการใช้โทรศัพท์มือถือเท่าที่จำเป็น เพื่อเป็นการพักปอด เพื่อให้ปอดฟื้นตัวและหายป่วยได้เร็วขึ้น ข้อที่สอง คือ การพักใจ  ต้องมีสติรู้ตัว อย่าวิตกกังวลอยู่ในอาการของโรค จนทำให้เสียทั้งงานและเสียทั้งสุขภาพ ให้เราตั้งสติ ปล่อยวางแล้วเริ่มหาแนวทางการแก้ไขจะดีกว่าจมอยู่ในเรื่องเดิมนาน ๆ

ทั้งนี้ นางสาวมุจิรารัศมิ์ ภัทรจริยากุล ครูสอนโยคะ ศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ  แนะนำการบริหารปอดให้แข็งแรงและฟื้นตัวกลับมาโดยเร็ว สามารถทำได้เป็นประจำสม่ำเสมอด้วย 5 ท่าบริหารปอดที่สามารถทำเองได้ทั้งผู้ที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อเพื่อเป็นการฟื้นฟูและบริหารปอดให้แข็งแรงอยู่เสมอ

    1.ท่าจับท้อง นั่งให้ลำตัวตรง นำมือจับที่ซี่โครงด้านข้าง ปลายนิ้วมือเลื่อนมาแตะบริเวณหน้าท้อง หายใจเข้าลึก ๆ ด้วยจมูก จะรู้สึกถึงการขยายของซี่โครงและหน้าท้อง หายใจออกทางจมูกช้า ๆ ให้รู้สึกถึงท้องที่ยุบลงช้า ๆ ไม่ควรรีบ พยายามหายใจเข้าลึก ๆ ให้มีความยาวเท่ากับลมหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมลมหายใจและจังหวะให้คงที่อย่างน้อย 10 -15 ครั้ง

    2.ท่ายืดแขน นั่งลำตัวตรง ผสานนิ้วมือทั้ง 10 นิ้วเข้าด้วยกัน นำมาไว้ด้านหน้า หายใจเข้าให้ลึกเพื่อนำออกซิเจนเข้าให้สุดแล้ว จึงเริ่มพลิกผ่ามือยกขึ้นเหนือศีรษะ หายใจออกให้แขม่วท้องช้า ๆ ไล่ลมออกจากท้องจนหมด ลดแขนและผ่อนคลายไหล่ลงไปทางด้านข้าง 

    3.ท่างู เริ่มจากค่อย ๆ นอนคว่ำตัวลงกับพื้น ขาเหยียดตรงไปทางด้านหลัง วางมือให้อยู่บริเวณเดียวกับหัวไหล่หรือเอว เมื่อหายใจเข้าให้ใช้มือดันพื้นขึ้นพร้อมยกศีรษะ หน้าอก และหน้าท้อง หายใจออกค่อย ๆ งอศอก วางหน้าท้อง หน้าอก และศีรษะลงไปกับพื้น เมื่อทำเสร็จแล้วก่อนจะลุกขึ้นให้นำแขนมาซ้อนกันบริเวณข้างหน้าลดศีรษะลง แล้วจึงลุกขึ้นช้า ๆ 

    4.ท่านั่งและบิดลำตัว นั่งลำตัวตรง ให้สะโพกก้นทั้ง 2 ข้างเต็มพื้น ชันเข่าขวาขึ้น ขาซ้ายให้อยู่บริเวณด้านล่างงอเข่าแล้วนำเท้าขวาไปค่อมขาซ้ายอีกทบนึง พยายามกดสะโพก 2 ข้างลงให้ชิดพื้นแล้วนั่งยืดลำตัว นำมือขวาพาดไปทางด้านหลัง แขนและศอกด้านซ้ายจะนำมาขัดหัวเข่าของด้านขวาหรือจะนำมือมาแตะเข่าหรือข้อเท้าอีกข้างก็ได้ แล้วค่อย ๆ ยืดตัวขึ้น แขม่วท้องพร้อมบิดลำตัว มองไปทางด้านหลัง บิดเอว หน้าอก ช้า ๆ เปิดและหันศีรษะไปทางด้านหลัง หมุนหัวไหล่ขวาไปทางด้านหลังและหันศรีษะตามไป อยู่ในท่านี้ประมาณ 5 ลมหายใจ จะรู้สึกถึงหน้าท้องที่โดนนวด จากนั้นค่อย ๆ หมุนลำตัวกลับมา ทำสลับข้างอีกครั้ง

    5.ท่าปลา นอนหงายกับพื้น เหยียด 2 ขาตรง ใช้ 2 แขนสอดใต้ลำตัวทั้งขวาและซ้าย กดมือและข้อศอกลงไปกับพื้นให้แน่น หายใจเข้า ยกหน้าอกขึ้นแล้วค่อย ๆ เงยคางขึ้นเล็กน้อย หายใจออก คางเงย แล้ววางศรีษะโดยจุดกลางกระหม่อมวางบนพื้น กดข้อศอกแล้วพยายามยืดหน้าท้องและหน้าอกไปทางด้านบน เงยคางให้เยอะที่สุดเท่าที่ทำได้ เกร็งหน้าท้องด้านล่าง เหยียดขาทั้ง 2 ข้างให้ตรง และพ้อยท์เท้าให้อยู่ในท่านี้ 5 – 10 ลมหายใจ เมื่อครบแล้วจึงค่อย ๆ ยกศีรษะขึ้น วางศีรษะและหลังกลับลงไปที่พื้น นำแขนทั้ง 2 ข้างออกมาพักในท่านอนหงายสักครู่นึง จากนั้นลุกขึ้นช้า ๆ จากการตะแคงข้าง งอเข่า ดันลำตัวลุกขึ้นนั่ง ถ้าทำแล้วรู้สึกปวดคอ หรือเจ็บหลังให้นำผ้าขนหนูหนา ๆ หรือว่าหมอนอิงมารองใต้ศีรษะ หรือหลังเพื่อป้องกันการบาดเจ็บได้

นอกจากการฝึก 5 ท่าบริหารฟื้นฟูปอดนี้แล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องเช็กอาการตัวเองอยู่เสมอ ดูแลและหมั่นสังเกตอาการตัวเองในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ มีการไอ หรือมีไข้หรือไม่ และตรวจเช็กความเสี่ยงในการติดเชื้อว่าไปพื้นที่เสี่ยงหรืออยู่ใกล้บุคคลที่มีความเสี่ยงหรือไม่ และตรวจเช็กสุขภาพจิตใจว่ามีอาการวิตกกังวล รู้สึกเครียด จิตตกหรือไม่ หากมีอาการวิตกกังวลมากไม่สามารถพาตนเองออกจากความคิดความกังวลได้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที เพื่อสุขภาพกายและสุขภาพใจที่จะกลับมาแข็งแรงและดำเนินชีวิตได้อย่างปกติในแนวทางนิวนอร์มัล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์จิตรักษ์ รพ.กรุงเทพ โทร.02 310 3751-52  หรือ แอดไลน์ @bangkokhospital 

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img