Tuesday, 10 December 2024 | 8 : 51 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Tuesday, 10 December 2024 | 8 : 51 am
spot_img
“ศุภาลัย ปาล์มสปริงส์ สระบุรี-แก่งคอย” ชีวิตที่ลงตัว ใกล้ชิดธรรมชาติ ในทำเลเชื่อมต่อทุกการเดินทาง   •   โกลเด้น เพลซ สาขาพระราม 9 โฉมใหม่ ปรับพื้นที่ เพิ่มโซนร้านค้า-สินค้าสุขภาพครบครัน พร้อมตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ ช้อป ชิม ชิล   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ รวมพลังธุรกิจในเครือ ร่วมต้านคอร์รัปชั่น ตอกย้ำองค์กรโปร่งใส มีธรรมาภิบาล   •   ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย รับรางวัล องค์กรที่ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ ประจำปี 2567 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 สะท้อนความมุ่งมั่นในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง ให้โอกาสอย่างเสมอภาค   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุนงานวิ่งการกุศล BCC Chongkho Run 2024   •   กรุงศรี โชว์ศักยภาพผู้นำ องค์กรไทยแห่งเดียวที่คว้ารางวัลเกียรติยศ The Asset ESG Corporate Platinum Award และ Best Sustainability Officerกรุงเทพฯ   •   ที ไลฟ์ ประกันชีวิต ขนประกันออมทรัพย์พร้อมโปรโมชั่นจัดหนักในงาน “Insure Mall Thailand”   •   อลังการ! เรนวูด ปาร์ค ทุ่มงบกว่า 120 ลบ. สร้าง “ทอล์คออฟเดอะทาวน์” ครั้งใหญ่ เขย่าวงการอสังหาฯ ไทย เนรมิต “Sales Gallery” ระดับ World-Class กว่า 800 ตร.ม. ด้วยแนวคิด ‘Innovation Sales Experience’   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ร่วมเปิดมิติใหม่ในการเลือกซื้อประกันชีวิตออนไลน์ครบวงจร พร้อมโปรสุดว้าว! ให้ได้ทั้งรับทั้งลุ้น ในงาน Insure Mall Thailand 2024   •   สยามคูโบต้า จับมือ กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดโครงการ “คูโบต้า กล้า ท้า ปลูก ปี 2” ยกระดับการทำนาที่ยั่งยืน   •   “ฟอลคอนประกันภัย จ่ายสินไหม 4.5 ล้าน ดูแลครอบครัวผู้เสียชีวิตจากเหตุ BMW ชน จยย. ที่จังหวัดชุมพร”   •   “รู้ทันกลโกง! กรุงศรี คอนซูมเมอร์ เผยเคล็ดลับ ‘รู้ให้เท่า-หลีกให้ทัน’ ป้องกันภัยไซเบอร์ยุคดิจิทัล”   •   กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต พลิกโฉมความบันเทิง ร่วมมือกับพันธมิตรจัดกิจกรรม “SkyTrain Music Fest” เปลี่ยนขบวน BTS เป็นเวทีคอนเสิร์ตครั้งแรกในไทย ในการมอบประสบการณ์แห่งความประทับใจผ่านเสียงดนตรี   •   ประกันภัยไทยวิวัฒน์ สานฝันศิลปินตัวน้อย พร้อมส่งเสริมขับขี่ปลอดภัยผ่านกิจกรรมประกวดภาพศิลปะชิงทุนการศึกษา หัวข้อ “ดื่มไม่ขับ”   •   เคทีซี ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ผนึก 3 ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซ Shopee, Lazada, TikTok มอบของขวัญส่งท้ายปี   •   SUPALAI ควงคู่ SCG คว้ารางวัล LEED ที่ “ศุภาลัย ไอคอน สาทร” การันตีมาตรฐานสากลสู่อาคารสำนักงานลักซ์ชัวรี่รักษ์โลก   •   BAM จัดงาน “ BAM Save The Sea #2 (25th Anniversary) ”ปล่อยปลาฉลามกบ เพื่อรักษาระบบนิเวศทะเลไทย   •   5 ธนาคารพาณิชย์ จับมือหนุน วัน แบงค็อก ร่วมปล่อยกู้สินเชื่อสีเขียว 5 หมื่นล้านบาท มุ่งพัฒนาโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน   •   เคทีซี เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต KTC หมวดไลฟ์สไตล์บิวตี้สโตร์ เติบโตต่อเนื่อง เดินหน้าจับมือ EVEANDBOY มอบโปรฉลองครบรอบ 19 ปี   •   IMET MAX สานต่อการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ปีที่ 7 เสริมทัพอุทยานผู้นำ พัฒนา “คนดี-คนเก่ง” สู่สังคมไทยที่ยั่งยืน   •   เดอะวิสดอมกสิกรไทย จับสัญญาณความผันผวนเศรษฐกิจโลก 2025 จากมาตรการภาษีและสงครามการค้าขยายแนวรบ ในยุค “ทรัมป์ 2.0”   •   ไทยประกันชีวิต ร่วมกับเพจไทยรัน จัด “Love Life Run 2024” รายได้สมทบโครงการ “หนึ่งคนให้ หลายคนรับ เพื่อชีวิตใหม่หัวใจเด็ก”   •   โลตัส ชวน “กงยู” ร่วมมอบมื้ออาหารดีให้น้องๆ รับเปิดเทอมสานต่อความมุ่งมั่น “โครงการอาหารดีพี่ให้น้อง” ปีที่ 7 ครบ 3 ล้านมื้อ   •   ลูกค้าบัตร Krungsri Boarding Card สมัครโครงการแลกเปลี่ยน Work & Travel USA กับ ACADEX รับส่วนลด 2,000 บาท   •   การเคหะแห่งชาติ เตรียมความพร้อมบรรจุผู้เช่าโครงการอาคารเช่าพักอาศัย จ.อุดรธานี (สามพร้าว)   •   “อมตะ” เตรียมรับคลื่นลงทุนใหม่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์ความต้องการนักลงทุนกลุ่มไฮเทคครบวงจรสร้างมูลค่าเพิ่มในพื้นที่ EEC   •   วิริยะประกันภัย สนับสนุน “วันโลกรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน” (World Day of Remembrance for Road Traffic Victims)   •   รฟฟท. คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 ตอกย้ำความสำเร็จต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน   •   BAM รับรางวัล “องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน” ประจำปี 2567 ระดับดีเด่น   •   คปภ. เร่งเครื่อง Digital Insurance ยกระดับวงการประกันภัยไทย
spot_img

โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภัยเงียบอันตรายที่พร้อมคร่าชีวิต

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะมีด้วยกันหลายประเภท ที่พบได้บ่อยที่สุดคือหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ซึ่งผู้ป่วยมากกว่า 50% มักไม่มีอาการผิดปกติ ทำให้เข้าถึงการรักษาล่าช้าและเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 1.5 – 3.5 เท่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ศราวุธ ลิ้มประเสริฐ อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เฉพาะทางด้านสรีระไฟฟ้าหัวใจ โรงพยาบาลเวชธานี อธิบายว่า โรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว หรือ Atrial Fibrillation เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของหัวใจห้องบน ส่งผลให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะไม่สม่ำเสมอ ซึ่งบ่อยครั้งทำให้หัวใจเต้นเร็วมากกว่าปกติ

มากกว่าครึ่งของผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติ ซึ่งถือนำไปสู่การรักษาที่ล่าช้าได้ อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรค ได้แก่ ใจสั่น เพลีย วิงเวียนศีรษะ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก และเกิดความวิตกกังวลระหว่างที่มีหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ ซึ่งอาการเหล่านี้มีได้ตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยที่ไม่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน จนถึงกระทั่งรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวันได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่พบได้บ่อย ประกอบไปด้วย

  • อายุที่มากขึ้น ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยที่สุด
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
  • โรคนอนกรน
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • การรับประทานเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่

การคัดกรองโรคมีความสำคัญมาก เพราะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาแต่เนิ่น ๆ โดยนอกจากการเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอแล้ว การตรวจโดยใช้เทคโนโลยีสวมใส่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกาหรืออุปกรณ์เฉพาะ สามารถตรวจจับการทำงานของหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ

การวินิจฉัยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ ตรวจร่างกาย ตรวจชีพจร อัตราการเต้นของหัวใจ การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เช่น ตรวจหาภาวะโลหิตจาง ไตวาย ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ และอาจมีแนวทางในการวินิจฉัยการตรวจคัดกรองเพิ่มเติมด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมงโดยใช้ Holter Monitor

หลักการในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ประกอบไปด้วย การดูแลรักษาโรคร่วมและกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ, ลดโอกาสการเกิดโรคอัมพฤกษ์อัมพาต ด้วยการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด, ลดหรือป้องกันอาการของโรค ด้วยการควบคุมทั้งอัตราการเต้นของหัวใจและจังหวะหัวใจให้เป็นปกติ

ในส่วนของการรักษา ปัจจุบันนิยมใช้วิธีจี้ไฟฟ้าหัวใจเพื่อทำให้จังหวะหัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติ โดยแพทย์จะใช้สายสวนชนิดพิเศษ ใส่ไปในตำแหน่งทีมีการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ และใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่สูงเท่ากับคลื่นวิทยุจี้ไปยังตำแหน่งที่มีความผิดปกติ ขณะทำการรักษาผู้ป่วยจะได้รับยาระงับความรู้สึก จึงช่วยลดอาการเจ็บขณะทำหัตถการได้ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีจี้ไฟฟ้าหัวใจไม่เพียงลดอาการของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยได้เท่านั้น แต่ยังช่วยชะลอการดำเนินโรค ซึ่งอาจช่วยให้ลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรคได้เช่นกัน

การเตรียมตัวก่อนทำหัตถการจี้ไฟฟ้าหัวใจ

ก่อนการทำหัตถการจี้ไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยจะต้องงดรับประทานยาต้านการเต้นของหัวใจผิดจังหวะอย่างน้อย 3 วัน หรืออยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และให้นำยาที่รับประทานอยู่เป็นประจำมาด้วยในวันทำหัตถการ งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง นอกจากนี้ผู้ป่วยจะได้รับการเตรียมผิวหนังบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้างหรือคอด้านขวาขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แพทย์จะใส่สายสวน รวมทั้งจะได้รับการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำบางรายจะได้รับการใส่สายสวนปัสสาวะด้วย

การปฏิบัติตัวหลังการทำหัตถการจี้ไฟฟ้าหัวใจ

หลังทำการรักษาเสร็จเรียบร้อยผู้ป่วยจะต้องพักอยู่ที่ห้องพักฟื้น 1 คืนเพื่อรับการติดตามดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อถึงห้องพักต้องนอนราบห้ามงอขาข้างที่ทำอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการมีเลือดออกและมีก้อนเลือดใต้ผิวหนัง หากมีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ เวียนศีรษะ มีไข้และรู้สึกอุ่น ๆ หรือพบว่ามีเลือดออกหรือมีก้อนเลือดใต้ผิวหนังบริเวณแผลขาหนีบ ควรแจ้งให้แพทย์พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบทันที

“แม้ผู้ป่วยส่วนมากของโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่โรคนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพราะเป็นโรคที่นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตมากกว่าคนปกติราว 1.5-3.5 เท่า รวมถึงยังพบว่าผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากกว่าร้อยละ 60 มีโอกาสสูญเสียคุณภาพชีวิตที่ดี, ร้อยละ 30 จะมีภาวะหัวใจล้มเหลวร่วมด้วย, ร้อยละ 20 มีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้า, และมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมราว 1.4 – 1.6 เท่า นอกจากนี้ จากสถิติพบผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์อัมพาตมีสาเหตุมาจากโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วมากถึงร้อยละ 30 โดยผู้ป่วยโรคหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วยังมีความเสี่ยงต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลถึงร้อยละ 10-40 ต่อปี”

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img