[กรุงเทพฯ, 10 พฤศจิกายน 2564] — บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการโซลูชันไอซีทีชั้นนำระดับโลก จัดแสดงนิทรรศการด้านนวัตกรรมภายใต้ธีม “Experience the Limitless Life with 5G” เผยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยล่าสุด ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2564 ซึ่งจัดขึ้นที่อิมแพ็ค
อารีน่า เมืองทองธานี โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 9 – 19 พฤศจิกายน 2564
งานดังกล่าวถือเป็นงานจัดแสดงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงความสำคัญและคุณค่าใหม่ๆ จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เข้าถึงความรู้และทักษะใหม่ๆ เพื่อเตรียมประเทศให้พร้อมสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยนวัตกรรมและบริการที่นำมาจัดแสดงนั้นล้วนพัฒนาขึ้นร่วมกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์ Thailand 5G Ecosystem Innovation Center (5G EIC) ที่เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีระดับโลกและแพลตฟอร์มการสร้างนวัตกรรมที่ล้ำสมัย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้เกียรติเยี่ยมชมและทดลองการใช้งานจริงในบูธจัดแสดงของหัวเว่ยและพาร์ทเนอร์ ได้แก่ บริษัท ทีเคเค
คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท อิลูชั่น คอนเน็ก (ประเทศไทย) จำกัด และ ห้องปฏิบัติการวิจัย CMIT Robotics มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ร่วมกันทดลองใช้งานโซลูชัน 5G ซึ่งพัฒนาผ่านศูนย์ 5G EIC โดยมี นายอาเบล เติ้ง ซีอีโอของหัวเว่ย ประเทศไทย ให้การต้อนรับ พร้อมอธิบายภาพรวมของนวัตกรรมต่างๆ ตลอดจนประโยชน์ที่จะได้รับจากการนำโซลูชันอัจฉริยะมาใช้ในอุตสาหกรรมจริง
ภายในงาน หัวเว่ย ได้เปิดตัวนวัตกรรมสุดล้ำ ซึ่งพัฒนาขึ้นร่วมกับพาร์ทเนอร์ ผ่านแพลตฟอร์มการพัฒนาที่สนับสนุนโดย 5G EIC โซลูชันหลักที่นำมาให้ผู้เข้าชมสัมผัสนั้นพร้อมรองรับเทคโนโลยีขั้นสูงหลากหลาย อาทิ 5G, AI, Big Data, Virtual Reality และ cloud ไฮไลต์ประจำบูธจัดแสดงในครั้งนี้ ได้แก่ 1) Cheetah Greet Bot – โรบ็อตให้บริการอัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วย AI พร้อมรองรับการจดจำใบหน้าและการวิเคราะห์ข้อมูล 2) Lucki Service Bot – โรบ็อตส่งสินค้าอัจฉริยะ 3) Steriliz Air – เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศและพื้นผิว มาพร้อมกับเทคโนโลยีมัลติพลาสม่า ยับยั้งแบคทีเรียและไวรัสโคโรน่าได้ถึง 99.99% 4) VR Live Broadcast – รองรับการสตรีมสดแบบเสมือนจริงด้วยความละเอียดสูงถึง 8K เพื่อประสบการณ์ด้านความบันเทิงและการจำลองงานแบบสมจริง 5) Cobot – ระบบ X-pert System Automation เพื่อการประมวลผลเซนเซอร์อัจฉริยะในอุตสาหกรรมการผลิต สามารถนำมาเชื่อมต่อเพื่อแสดงผลผ่านอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการทำงานอัจฉริยะผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (IoT)
นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมงานยังสามารถเยี่ยมชมและทดลองใช้งาน VR Headset ที่ประมวลผลผ่านคลาวด์ ทำให้การเชื่อมต่อลื่นไหลและรวดเร็ว ทั้งยังได้พบกับ AR Glasses สำหรับการแพทย์ทางไกลผ่าน 5G ที่ทำให้การวินิจฉัยโรคเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยแว่นอัจฉริยะดังกล่าวนำมาใช้งานจริงแล้วที่โรงพยาบาลศิริราช กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลพญาไท ศรีราชา
หัวเว่ยมุ่งมั่นสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน ผู้ซึ่งจะกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลยุคใหม่ ผ่านนิทรรศการในครั้งนี้ โดยนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สังคมของเรากำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 อย่างรวดเร็ว โดยมีเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นแรงขับเคลื่อน เทคโนโลยีไอซีทีอย่าง 5G, เอไอ, IoT หรือคลาวด์ จะถูกผสานรวมเข้ากับทุกมิติของสังคม อุตสาหกรรม ตลอดจนการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ กระแสการทรานสฟอร์มสู่ดิจิทัลได้เติบโตทั่วโลกอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 7 ปี และ 10 ปี ที่ผ่านมาในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีและพันธมิตรด้านไอซีทีที่ได้รับความไว้วางใจจากอุตสาหกรรม หัวเว่ยได้ปูรากฐานที่แข็งแกร่งให้แก่ดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชันของประเทศไทยและมอบคุณค่าทางสังคมมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 22 ปี เรามีเป้าหมายที่จะบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลและการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชน เพื่อร่วมมุ่งสู่ดิจิทัลไทยแลนด์และส่งเสริมให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางดิจิทัลของอาเซียน”