Saturday, 4 May 2024 | 12 : 02 pm

4Quarter.co

Saturday, 4 May 2024 | 12 : 02 pm
สสว. ส่งภาพยนตร์โฆษณาเรื่องใหม่ “ปวดหัวซินโดรม” มุ่งสร้างการรับรู้และแนะนำบริการ E-Service เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ SME   •   เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ตอกย้ำความสำเร็จ การก้าวสู่องค์กร Net Zero   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเงิน 6 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงพยาบาลรามาธิบดี   •   ธ.ก.ส. จัดพิธีถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันฉัตรมงคล 2567   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เผยมาตรฐาน “Green Living Standard” ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนกลับคืนสู่โลก หนึ่งพันห้าร้อยล้านลิตรตลอด 3 ปี ลดผลกระทบ PM2.5 และประหยัดค่าไฟ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งกว่าให้แก่ลูกบ้าน   •   TOA โชว์วิชั่นผู้นำนวัตกรรมรักษ์โลก ชูแนวคิดความยั่งยืน “Future Tree” ในงานสถาปนิก’67 ตอกย้ำพันธกิจ Green Mission นวัตกรรมสีและวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม   •   HKSTP นำเสนอโครงการบ่มเพาะ หวังเพิ่มศักยภาพของสตาร์ทอัพทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชี้ไทยที่มีศักยภาพสูง เล็งดึงสตาร์ทอัพไทยเข้าสู่ฮ่องกงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้   •   ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันฉัตรมงคล   •   เคทีซี จับมือ โรงแรม เดอะ เซนต์ รีจิส กรุงเทพฯ มอบสิทธิพิเศษ สำหรับชุดน้ำชายามบ่ายจากผลงานศิลปะชิ้นเอกของ วินเซนต์ แวน โก๊ะ   •   FWD ประกันชีวิต จัดงาน MDRT & Agency Annual Awards 2024 ฉลองความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพตัวแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล   •   เก็บคูปองส่วนลดสูงสุด 200 บาท/เดือน กับบัตรกรุงศรี เดบิต หรือบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Lazada   •   THAIFA ประกาศผลรางวัลตัวแทนยอดเยี่ยมแห่งชาติ ครั้งที่ 24 ประจำปี 2567   •   MTL Click แอปพลิเคชันจากเมืองไทยประกันชีวิต คว้ารางวัลสุดยอดสินค้าและบริการแห่งปี “BUSINESS+ PRODUCT INNOVATION AWARDS 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4   •   ออมสิน จับมือ กรมทรัพยากรทางทะเลฯ และองค์กรภาคี ร่วมอนุรักษ์ป่าชายเลน   •   หอการค้าไทย Kick Off โครงการรวมพลังคนไทย บริจาคโลหิต ปี 2567 ต่อยอดโครงการ 9 แสนซีซี 90 ปี หอการค้าไทย เชิญชวนสมาชิกร่วมบริจาคโลหิต เพื่อใช้สำรองยามขาดแคลน   •   วิริยะประกันภัย ปิดฉากดวลวงสวิงสนามสุดท้ายโซนภาคใต้ “Viriyah Invitational Golf Tournament 2024”   •   “แอกซ่าประกันภัย” เดินหน้ายกระดับประสบการณ์ลูกค้า จับมือ “วีซ่า”มอบประกันภัยการเดินทางต่างประเทศฟรี! รับเทรนด์ท่องเที่ยวเติบโต   •   กรุงศรี ออกมาตรการช่วยเหลือ ลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% ให้ลูกค้ากลุ่มเปราะบาง เป็นเวลา 6 เดือน ตอบรับแนวทางการช่วยเหลือของสมาคมธนาคารไทย   •   กรุงเทพประกันภัย มอบเครื่องกรองน้ำพกพาและน้ำดื่มสนับสนุนภารกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ   •   กรุงเทพประกันชีวิต และ ธนาคารกรุงเทพ ร่วมจัดงานขอบคุณลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจใช้บริการวางแผนความคุ้มครองและการออมยาวนานกว่า 20 ปี   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด   •   แอปฟินนิกซ์ (FINNIX) เปิดตัวห้องเรียนออนไลน์ฟรี ‘เงินดีมีสุข รู้ทันหนี้ไม่มีทุกข์’ ตอบอินไซต์คนทำมาหากินที่ไม่มีเวลา ตั้งเป้าเสริมแกร่ง 10,000 คนทั่วไทยปีนี้   •   ฟิลลิปประกันชีวิต มอบรางวัลผู้ชนะการประกวดภาพยนตร์สั้น ภายใต้หัวข้อ “Get To Know Philliplife”   •   BAM จับมือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนาบุคลากร   •   SCG HOME Experience เปิด 3 โซนใหม่ ตอกย้ำทุกเทรนด์การอยู่อาศัยเอาใจคนรักบ้าน   •   ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการ SME รายย่อย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   คิง เพาเวอร์ ส่งท้ายความฮอต ยิ่งช้อป ยิ่งได้ลด ตลอดทั้งเดือน   •   TOA เปิดนโยบาย GREEN MISSION เดินหน้าพันธกิจ พิชิต Net Zero เสริมแกร่งด้วย ฉลากลดโลกร้อน (CFR) มากที่สุดในสีทาอาคาร ตอกย้ำผู้นำตลาดสีเบอร์หนึ่ง เติบโตสู่ปีที่ 60 อย่างยั่งยืน   •   การเคหะแห่งชาติ ก่อสร้างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% คาดว่าจะส่งมอบให้ผู้อยู่อาศัยประมาณเดือนพฤษภาคม 2567   •   ทิพยประกันภัย จับมือ BEM มอบของขวัญช่วงวันแรงงาน สำหรับผู้ถือบัตร MRT/MRT PLUS และ EASY PASS รับฟรี! ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท พร้อมค่าชดเชยรายวัน 500 บาทต่อวัน

SCB CIO คาดสงครามรัสเซีย – ยูเครน แนวโน้มยืดเยื้อ เป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก แนะกลยุทธ์ลงทุนเพิ่มน้ำหนักถือเงินสด รอจับจังหวะสะสมหุ้นไทย-เวียดนาม

SCB CIO ประเมินสงครามระหว่างรัสเซีย-และยูเครนยังมีความไม่แน่นอนสูง มีแนวโน้มยืดเยื้อ เป็นความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงมีแนวโน้มยืดเยื้อเพิ่มมากขึ้น แต่ธนาคารกลางหลัก Fed และ ECB จะไม่ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงจนเกินไป ยังคงมุมมองเพิ่มน้ำหนักการถือเงินสด ไม่ซื้อไม่ขายสินทรัพย์เสี่ยง จับจังหวะสะสมหุ้นไทยและเวียดนามเพื่อใช้เป็นหลุมหลบภัยในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง

ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ สงครามระหว่างรัสเซีย-และยูเครนยังมีความรุนแรง และ ความไม่แน่นอนสูง สัญญาณล่าสุดมีแนวโน้มยืดเยื้อมีความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลก ที่อาจมีบางประเทศมีความเสี่ยงต่อภาวะ Stagflation มากขึ้น (เศรษฐกิจเติบโตต่ำ แต่เงินเฟ้อและอัตราการว่างงานสูง) จากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่าง ในการวิเคราะห์กลยุทธ์การลงทุน SCB CIO ประเมินจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) การสู้รบมีทั้งทางบก น้ำ อากาศ และ cyber ยูเครนต่อสู้อย่างเข้มข้น โดยได้รับความช่วยเหลือด้านต่างๆ รวมถึงอาวุธจากหลายประเทศในยูโรปและสหรัฐ ในขณะที่รัสเซียมีการขู่ใช้อาวุธนิวเคลียร์ 2) มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย สะท้อนผ่านราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น มาตรคว่ำบาตรต่อภาคการเงินการธนาคารและเศรษฐกิจรัสเซียยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการขู่ลดการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ทำให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้น และมีความเสี่ยงต่อภาวะ Stagflation สูงขึ้น และ3) การเจรจา ที่ผ่านมาเป็นการเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่ SCB CIO ประเมินว่าตลาดจะให้น้ำหนักกับการเจรจาของเจ้าหน้าที่ระดับสูง โดยเฉพาะประธานาธิบดีของทั้งสองประเทศมากกว่า

ทั้งนี้ ความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกถดถอย (Stagflation concern ) ในขณะที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อสูงและยืดเยื้อเพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ทั้งส่งออกและนำเข้า ของรัสเซียและยูเครนต่อประเทศเศรษฐกิจหลักจะมีไม่มากนัก แต่ความยืดเยื้อของสงครามและจากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ความมั่นใจของผู้บริโภคและนักลงทุนลดลง ราคาพลังงานและเงินเฟ้อที่สูง และภาวะทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป จึงนับเป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

ความกังวลต่อการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์หลักของรัสเซีย เช่น ปิโตรเลียม ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ข้าวสาลี อลูมิเนียม ทองแดง และ ปุ๋ยเคมี ทำให้ราคาสินค้าดังกล่าวเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง และเป็นความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อด้านพลังงานและอาหาร (energy and food inflation) ในหลายประเทศ ที่มีแนวโน้มยืดเยื้อมากกว่าที่ธนาคารกลางและตลาดคาดไว้ก่อนหน้านี้

ในระยะถัดไปเราประเมินว่าราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นและมีแนวโน้มยืดเยื้อ จะทำให้เงินเฟ้อสูงจากปัจจัยด้านต้นทุน (cost push inflation) เป็นปัจจัยกังวลหลักของตลาดต่อไป ซึ่งประเทศในเอเชียอาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ต้องนำเข้าพลังงานสุทธิ ยกเว้น มาเลเซียและอินโดนีเซีย โดยประเทศไทยนำเข้าพลังงานต่อ GDP สูงที่สุด เงินเฟ้อด้านค่าจ้าง (wage inflation) ยังคงโตต่ำยกเว้นในสหรัฐฯ ส่วนเงินเฟ้อจากอาหาร (food inflation) มีแนวโน้มเร่งตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเทศที่ใช้ข้าวสาลีเป็นหลัก แต่ในเอเชียได้รับผลกระทบน้อยเฉพาะข้าวไทยและเวียดนาม ไม่ได้ปรับตัวสูงมากนัก

ดร. กำพล กล่าวต่อไปว่า SCB CIO คาดการณ์ว่า ดอกเบี้ยยังเป็นขาขึ้น โดยธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะไม่ส่งสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงจนเกินไป เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ไว้ ธนาคารกลางประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะ Fed จะยังคงส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ย แต่ด้วยความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกถดถอย จึงเชื่อว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยเพียง 25 bps ในการประชุม 15-16 มี.ค. และ รวมทั้งหมด 150 bps ในปี 2022 ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศพัฒนาแล้วอาจไม่ได้ขยับขึ้นเร็วนัก เนื่องจากตลาดอยู่ในช่วงนักลงทุนหันไปถือสินทรัพย์ปลอดภัยมากขึ้น (risk-off mode) จากความกังวลประเด็น stagflation จะทำให้อัตราผลตอบแทน (yield curve) มีลักษณะไม่ผันผวน (flattening) มากขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงกดดันกับหุ้นในกลุ่มธนาคารในระยะถัดไป ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในประเทศ Emerging markets ที่อ่อนไหว (sensitive) ต่อเงินเฟ้อ เช่น บราซิล ตุรกี ยังอยู่ในระดับสูงและมีความเสี่ยงอยู่มากโดยเฉพาะรัสเซีย ในขณะที่ Asian bond yields ยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อต่ำกว่า

อย่างไรก็ตาม SCB CIO คงมุมมองเพิ่มน้ำหนักการถือเงินสด ไม่ซื้อไม่ขายสินทรัพย์เสี่ยง จับจังหวะสะสมหุ้นไทยและเวียดนาม และยังคงมุมมองหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกู้ต่างประเทศ โดยเฉพาะหุ้นกู้ High Yield bond ของจีน รวมทั้งพันธบัตรและหุ้นกู้ที่เกี่ยวข้องกับรัสเซีย หรือธนาคารในยุโรป ผลกระทบจากประเด็นสงครามต่อเศรษฐกิจเวียดนามและไทย ส่วนใหญ่จะมาจากราคาพลังงานและเงินเฟ้อ แต่เราคาดว่าธนาคารกลางใน 2 ประเทศจะยังคงเน้นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และผลกระทบต่อผลประกอบการน่าจะอยู่ในระดับที่จัดการได้ รวมถึง valuation ของตลาดเริ่มกลับสู่ระดับที่น่าสนใจ