Tuesday, 23 April 2024 | 8 : 46 pm

4Quarter.co

Tuesday, 23 April 2024 | 8 : 46 pm
กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คว้า 6 รางวัลใหญ่ จากงาน Retail Banker International Asia Trailblazer Awards 2024   •   กรุงเทพประกันชีวิต ใส่ใจพัฒนาสิทธิประโยชน์ใหม่ 5 ด้าน ยกระดับความสุขทั้งไลฟ์สไตล์ และ สุขภาพผ่านบีแอลเอ แฮปปี้ไลฟ์ คลับ   •   บอร์ดการเคหะแห่งชาติลงพื้นที่เคหะชุมชนดินแดง 2 กำชับให้การเคหะแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่   •   FWD ประกันชีวิต จัดฟรีคอนเสิร์ตใหญ่เล่นน้ำกลางเมือง “FWD Music Live Fest 3 #TimeToPlaySongkran” ฉลองวันไหลสงกรานต์ครั้งแรกในกรุงเทพฯ ณ ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์   •   เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ประกาศปรับผังองค์กรครั้งใหญ่ มุ่งสู่กลุ่มธุรกิจประกันภัยและบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร   •   เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ รุ่นปี 2567 เพิ่มความเข้มข้นในทุกมิติ มุ่งสร้างการเรียนรู้การทำธุรกิจเสมือนจริง   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ ไอคอนสยาม จัดกิจกรรม “เมืองไทย Smile Exclusive Dining on Pruek Cruise” สำหรับสมาชิกเมืองไทยสไมล์คลับ   •   กรุงเทพประกันภัย จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 31   •   “เงินติดล้อ” สมาชิกสมาคมสินเชื่อทะเบียนรถฯ ร่วมส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับ อาสาสมัครเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร (อสท.)   •   เคทีซี รวมน้ำใจสมาชิกบัตรเครดิต สมทบทุนเข้า มูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท   •   BAM ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดทำโครงการ HOME & HOPE ต่อเนื่องปีที่ 4 มอบเงินสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส จังหวัดนครศรีธรรมราช   •   ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 กำไร 13,486 ล้านบาท   •   กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง   •   ธ.ก.ส. จัดประชุมขับเคลื่อนภารกิจสู่ความสำเร็จ Bank Agenda ประจำปี 2567   •   ป้องกันโรคร้ายที่มากับฤดูร้อน มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน สู่คุณภาพชีวิตที่ดีโดย APCO   •   ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 626.1 ล้านบาท   •   กรุงศรี เผยผลกำไรสุทธิไตรมาสแรกปี 2567 จำนวน 7.54 พันล้านบาท สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจริงอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวดระมัดระวัง   •   เคทีซี เผยงบรวมไตรมาส 1/2567 กำไร 1,803 ล้านบาท เดินหน้าโฟกัสคุณภาพสินทรัพย์ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม   •   คปภ. เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ที่จังหวัดนครพนม   •   วิริยะประกันภัย ร่วมรณรงค์ “ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 จังหวัดนครราชสีมา   •   ออมสิน เปิดให้กู้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” ตั้งเป้าแก้หนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐ ลดดอกเบี้ย 4 กลุ่มสินเชื่อ ช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ P-Loan ลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน   •   เอสซีบี เอกซ์ ประกาศผลกำไรสุทธิประจำไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย   •   กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ   •   ทิพยประกันภัย ร่วมกับ OR เพิ่มความสะดวก และรวดเร็ว ในการซื้อประกันภัย ผ่าน QR Code ใน พีทีที สเตชั่น   •   คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ เร่งบริหารงานเชิงรุก เพื่อให้การเคหะแห่งชาติขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน   •   นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิด “โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยหรืออาจจะฉ้อฉลประกันภัยกับภาคธุรกิจ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”   •   ธ.ก.ส. จัดกิจกรรมสงกรานต์สราญใจ ประจำปี 2567   •   การเคหะแห่งชาติ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสารแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งบางละมุง   •   คปภ. ผนึกพลัง 4 สมาคม จัดเรตติ้งพฤติกรรม “ตัวแทน-นายหน้าประกันภัย” พร้อมใจเปิดโครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย

คปภ. จับมือ การบินพลเรือนฯ เร่งพัฒนากรมธรรม์ประกันภัย “โดรน” ลดความเสี่ยงการแพร่กระจายไวรัสโควิด-19

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอัตราการใช้งานอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยประโยชน์ใช้สอยที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับราคาไม่สูงเหมือนในอดีตจึงทำให้มีการใช้ โดรน อย่างแพร่หลายในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสื่อสาร ด้านการเกษตร ด้านการสำรวจ ฯลฯ ซึ่ง สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นหน่วยงานกำกับการดำเนินธุรกิจทางอากาศยาน ตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องหลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 เพื่อควบคุมดูแลการใช้โดรนให้เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียน

สำหรับผู้ใช้โดรนใน 3 ประเภท คือ 1. โดรนติดกล้อง 2. โดรนที่หนักเกิน 2 กิโลกรัม และ 3. โดรนที่น้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม และที่สำคัญในการขึ้นทะเบียนดังกล่าวได้กำหนดให้ต้องมีเอกสารกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งคุ้มครองความเสียหายอันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่สาม วงเงินประกันไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาท ต่อครั้งเป็นหลักฐานประกอบการขอขึ้นทะเบียนดังกล่าวด้วย

สำนักงาน คปภ. ได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้โดรนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หากมีการนำโดรนมาใช้สำรวจภัย ความเสียหาย หรือเก็บข้อมูลจากคน สถานที่ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยมีการเน้น social distance หรือ การรักษาระยะห่าง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนั้นเลขาธิการ คปภ. จึงได้มอบหมาย นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงกรมธรรม์ดังกล่าว เข้าประชุมหารือร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่ของ กพท. โดยมี นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการ กพท. เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สำนักงานการบินพลเรือนฯ ตึกไอทีสแควร์ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร

โดยได้ข้อสรุปร่วมกัน 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ ประเด็นแรก แนวทางในการพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการใช้อากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (โดรน) เพื่อใช้ประกอบการขึ้นทะเบียนผู้ใช้โดรน ซึ่งจะจัดทำเป็นกรมธรรม์ประกันภัยแบบมาตรฐานร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย ด้วยการสนับสนุนข้อมูลที่เกี่ยวข้องจาก กพท. เพื่อให้ความคุ้มครองที่สอดคล้องกับกฎหมายและเพิ่มความสะดวกในการตรวจสอบเอกสารการขึ้นทะเบียน

ประเด็นที่ 2 การพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้ขนส่งที่ดำเนินการรับขนทางอากาศที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการรับขน (Freight Forwarder) เพื่อให้การประกันภัยมีความต่อเนื่องและครอบคลุมตลอดเส้นทางการขนส่ง ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทประกันภัยส่วนหนึ่งรับประกันภัยอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะมีการจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดของผู้ขนส่งฯ ฉบับมาตรฐานเพิ่มเติม ซึ่งมีแนวทางในการพิจารณารับประกันภัยแบบกลุ่มร่วมกับสมาคมขนส่งฯ ที่เกี่ยวข้อง

ประเด็นที่ 3 การปรับใช้โดรนสำหรับธุรกิจประกันภัยที่มีข้อจำกัดทางกฎหมาย เนื่องจากการใช้โดรนในการสำรวจความเสียหายในพื้นที่ห่างไกล หรือใช้สำหรับตรวจสอบความเสี่ยงก่อนพิจารณารับประกันภัยเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฯ เช่น ห้ามทำการบินในบริเวณเขตห้าม/เขตจำกัด ทั้งนี้ ผู้บังคับโดรนต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทำการบิน เป็นต้น ซึ่ง กพท. รับทราบประเด็นดังกล่าวเพื่อนำไปพัฒนาแนวทางการกำกับที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับการประกันภัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมธรรม์ประกันภัยสำหรับสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการบิน และกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้ขนส่งที่ดำเนินการรับขนส่งทางอากาศ ซึ่งพบว่า มีกรมธรรม์ประกันภัยในตลาดรองรับและไม่พบอุปสรรคในการดำเนินงานใดๆ

“สำนักงาน คปภ. ให้ความสำคัญต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้กับธุรกิจประกันภัยและธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในต่างประเทศได้มีการนำโดรนมาใช้ในระบบการเคลมค่าสินไหมทดแทนในกรณีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุชนกันบนท้องถนน ทำให้คู่กรณีสามารถเคลื่อนรถยนต์ที่เกิดอุบัติเหตุออกจากผิวจราจรได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว ดังนั้น ถ้าส่งเสริมให้มีการพัฒนาและใช้โดรนสำรวจภัย ความเสียหาย หรือเก็บข้อมูลจากคน สถานที่ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อจะเป็นการตอบโจทย์ social distance หรือ การรักษาระยะห่างก็จะช่วยป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโควิด-19

ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาและปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับผู้ใช้โดรน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับความเสี่ยงภัยของทั้งผู้ประกอบธุรกิจและประชาชน รวมถึงกำหนดความคุ้มครองให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อจัดทำเป็นกรมธรรม์ประกันภัยแบบมาตรฐานต่อไป” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย