Thursday, 2 May 2024 | 4 : 42 am

4Quarter.co

Thursday, 2 May 2024 | 4 : 42 am
SCG HOME Experience เปิด 3 โซนใหม่ ตอกย้ำทุกเทรนด์การอยู่อาศัยเอาใจคนรักบ้าน   •   ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกค้าบุคคล และผู้ประกอบการ SME รายย่อย มีผลตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป   •   คิง เพาเวอร์ ส่งท้ายความฮอต ยิ่งช้อป ยิ่งได้ลด ตลอดทั้งเดือน   •   TOA เปิดนโยบาย GREEN MISSION เดินหน้าพันธกิจ พิชิต Net Zero เสริมแกร่งด้วย ฉลากลดโลกร้อน (CFR) มากที่สุดในสีทาอาคาร ตอกย้ำผู้นำตลาดสีเบอร์หนึ่ง เติบโตสู่ปีที่ 60 อย่างยั่งยืน   •   การเคหะแห่งชาติ ก่อสร้างโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ระยะที่ 2 อาคาร D1 ก่อสร้างแล้วเสร็จ 100% คาดว่าจะส่งมอบให้ผู้อยู่อาศัยประมาณเดือนพฤษภาคม 2567   •   ทิพยประกันภัย จับมือ BEM มอบของขวัญช่วงวันแรงงาน สำหรับผู้ถือบัตร MRT/MRT PLUS และ EASY PASS รับฟรี! ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท พร้อมค่าชดเชยรายวัน 500 บาทต่อวัน   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร ส่ง“โอเชี่ยนไลฟ์ เบทเทอร์ ไลฟ์ 95/60 (Package)” แบบประกันตลอดชีพแนวคิดใหม่ ที่จะช่วยให้คุณออกแบบอนาคตที่ดียิ่งกว่าสำหรับวัยเกษียณ   •   กสิกรไทย ประกาศลดดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบาง 0.25% เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในช่วงที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่   •   TQM ร่วมกับ BKI จัดแคมเปญรับวันแรงงาน กับแนวคิด ประกันภัยมนุษย์เงินเดือน: ทุกความเสี่ยงบริหารได้ พร้อมมอบฟรีประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม (ไมโครอินชัวรันส์)   •   กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต จัดกิจกรรมลูกค้า “Barista Workshop” ณ จ.เชียงราย และเชียงใหม่ เอาใจคนรักกาแฟ   •   ศุภาลัย ร่อนโปรฯเด็ด “ของแทร่ แฟร์ทุกช้อยส์” เลือกเล้ย เครื่องใช้ไฟฟ้าสุดพรีเมียม 8 ชิ้น หรือช่วยผ่อนสูงสุด 2 แสนบาท!   •   กรุงศรี คว้ารางวัล “Best Bank for Sustainable Finance” และกวาดรางวัลด้านความยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นพันธมิตรที่ลูกค้าธุรกิจไว้วางใจ สู่การเติบโตที่ยั่งยืนไปด้วยกัน   •   กลุ่มเอไอเอ ประกาศผลประกอบการมูลค่าธุรกิจใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ด้วยมูลค่าธุรกิจใหม่ 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ   •   ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 มีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ทั้งปีที่อัตราหุ้นละ 0.52 บาท   •   วิริยะประกันภัย ถวายเครื่องอุปโภคบริโภค มูลนิธิสหชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดการแก้ปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก   •   TOA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 และอนุมัติจ่ายปันผลงวดครึ่งปีหลัง 0.35 บาทต่อหุ้น   •   บีคอน วีซี ร่วมกับ SUN Group ลงทุน Series A ใน ION Energy สตาร์ทอัพพลังงานโซลาร์สัญชาติไทย หนุนการเข้าถึงพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำ   •   เมืองไทยประกันภัย จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 จ่ายเงินปันผล 5.00 บาทต่อหุ้น   •   เคทีซี ควงแขน ซีไลฟ์ แบงคอก ชวนครอบครัวท่องเที่ยว เปิดประสบการณ์นอกห้องเรียน   •   พลังบุญทิพย #225 พิธีมหามงคลเทวาภิเษกบวงสรวงองค์เทพหนุมานทิพยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทุกพระองค์ พร้อมจัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ประจำปี เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งแผ่นดินไทย   •   TQMalpha มั่นใจกลุ่มธุรกิจประกันเบี้ยแตะ 33,000 ล้านบาท เร่งสปีดพัฒนาเทค-แพลตฟอร์มกลุ่มประกันและการเงิน เพื่อตอบโจทย์การบริการผู้บริโภค   •   ลดสูงสุด 20% เมื่อจองเที่ยวบิน หรือ ที่พัก ผ่านบัตร Krungsri Boarding Card หรือบัตรกรุงศรี เดบิต ที่ Trip.com   •   “สาระ ล่ำซำ” รับรางวัลเกียรติยศ TOP CEO (THAILAND) 2023 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3   •   ธ.ก.ส. ปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ MRR ลง 0.25% หนุนการฟื้นตัวกลุ่มเปราะบาง   •   เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” ประจำปี 2566 ในงาน AIA Annual Agency Awards Presentation 2023­­­­   •   ERGO ยกระดับการดูแล ส่งต่อความห่วงใย เปลี่ยนการเดินทางให้ง่ายขึ้นตลอดช่วง 7 วันอันตราย   •   ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่ม คงเหลืออัตราดอกเบี้ย MRR (หลังปรับลด) = 6.595%   •   Caring is Giving “Protect Your Car” ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ใส่ใจคุณ พร้อมเคียงข้างทุกการเดินทาง ชวนลดความเสี่ยง ปกป้องรถที่คุณรักอย่างยั่งยืน   •   เคทีซี เผยยอดใช้จ่ายไอเทมคลายร้อนที่ KTC U SHOP พุ่งกว่า 120% เปิดช่องทางช้อปใหม่ผ่านแอป KTC Moblie สะดวก ปลอดภัย พร้อมรับโปรสุดคุ้ม   •   กสิกรไทย ร่วมฉลองความสำเร็จ KCBL รุ่น 1

KKP ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนหนัก ไทยต้องเปลี่ยนวิธีแข่งขัน ก่อนเศรษฐกิจถูกฉุดตลอดทศวรรษ

ยานยนต์โตเพราะ ไทย หรือ ญี่ปุ่น

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของไทย โดยเติบโตจากการลงทุนทางตรงและการย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นเป็นหลัก แม้ว่าส่วนหนึ่งจะเกิดขึ้นเพราะนโยบายเศรษฐกิจของไทย ไม่ว่าจะเป็นการลดภาษีเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ การเปิดเสรีทางการค้า และนโยบายสร้างแรงจูงใจ เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ

อย่างไรก็ตามข้อสังเกต คือ การย้ายฐานการผลิตมาไทยในช่วงนั้นเกิดขึ้นหลังการทำข้อตกลงพลาซาในปี 1985 ที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมากจึงทำให้ญี่ปุ่นเสียความสามารถในการแข่งขันและย้ายฐานการผลิตมาประเทศไทย

แต่ตอนนี้ประเทศไทยอาจไม่โชคดีที่มีคนช่วยเหมือนในอดีต KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ออกรายงาน “เมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนเป็น EV ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง ?” ประเมินว่าอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังจะเปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่โดยเฉพาะการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งนโยบายลดภาษีอย่างเดียวจะไม่ได้ผลในการพัฒนาอุตสาหกรรมอีกต่อไป แต่ต้องพัฒนานวัตกรรมของไทยเอง โดยที่ผ่านมาประเทศไทยยังพึ่งพาแต่นวัตกรรมจากญี่ปุ่นเป็นหลัก ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ไทยไม่สามารถเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เหมือนที่เคยเป็นฐานการผลิตยานยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในอีกต่อไป

EV คืออนาคตที่หนีไม่ได้

ในระยะสั้น KKP Research ประเมินว่ายังเป็นไปไม่ได้ที่ทั้งโลกจะหันมาใช้ EV แทนรถยนต์ ICE (Internal Combustion Engine, เครื่องยนต์สันดาปภายใน) ทั้งหมดในช่วง 5 ปีหลังจากนี้ เนื่องจากกำลังการผลิตแร่ลิเทียมซึ่งต้องใช้ในการผลิตแบตเตอรี่อยู่ที่ 1 แสนตันต่อปี ซึ่งเพียงพอกับการผลิตแบตเตอรี่สำหรับ EV เพียง 11 ล้านคันเท่านั้น ในขณะที่ผลิตรถยนต์ทั่วโลก 80 ล้านคันต่อปี  ซึ่งหมายความว่าในระยะสั้น  ยอดขายรถยนต์ EV จะเติบโตได้อย่างมากที่สุดเฉลี่ยปีละ 30% ลดลงจากช่วง 2019-2021 ที่โตเฉลี่ยปีละ 70% KKP Research คาดว่ายอดขาย EV ทั่วโลกในปี 2025 จะมีสัดส่วน 16.9% ของยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมด ในขณะที่สำหรับไทย จะโตได้ในอัตราที่ต่ำกว่าและมีสัดส่วนเพียง 4.5% เพราะราคา EV ยังแพงกว่า ICE มากและมีทางเลือกน้อย

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวเทคโนโลยีแบตเตอรี่ใหม่ที่กำลังพัฒนา เช่น Solid-State Battery และ Hydrogen Fuel Cell รวมถึงกำลังผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ราคารถยนต์ EV ลดต่ำลง และสนับสนุนให้ยอดขายรถยนต์ EV เติบโตได้เร็วขึ้น

ทำไมไทยเสียเปรียบคู่แข่ง ? บทเรียนจากออสเตรเลีย

สถานการณ์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยคล้ายกับออสเตรเลียในอดีต ย้อนไปปี 1970 ออสเตรเลียผลิตรถยนต์อันดับ 10 ของโลก โดยมีการผลิตกว่า 5 แสนคัน ต่อปี  แต่ตอนนี้การผลิตลดลงเหลือแค่ 5 พันคัน ต่อปี เพราะการปรับตัวที่ไม่ทันการของอุตสาหกรรมรถยนต์ในออสเตรเลียทำให้บริษัทญี่ปุ่นตัดสินใจย้ายฐานการผลิตมาไทย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับสถานการณ์คล้ายกับออสเตรเลียในอดีต คือ 

  1. รถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง แต่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นยังปรับตัวช้าจากแผนการผลิตรถยนต์ EV ที่น้อยกว่ารถยนต์ค่ายยุโรปและอเมริกามากซึ่งจะส่งผลเสียเพราะไทยเป็นฐานการผลิตหลักของรถยนต์ญี่ปุ่น คล้ายกับบริษัท GM-Holden ในออสเตรเลียที่ไม่ปรับตัวตามความต้องการของตลาดโลก
  2. การแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้น จีนและอินโดนีเซียอาจกำลังส่งออกแซงไทย สัดส่วนการส่งออกรถยนต์ในตลาดโลกไทยมีสัดส่วนลดลงจาก 1.7% เหลือ 1.3% ในขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจาก 0.7% เป็น 1.5% โดยไทยโดนจีนแย่งส่วนแบ่งตลาดในประเทศออสเตรเลีย และโดนอินโดนีเซียแย่งส่วนแบ่งตลาดในเวียดนามและฟิลิปปินส์
  3. ไทยกำลังเผชิญปัญหา Economies of scale เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทยส่วนใหญ่เป็นประเทศพวงมาลัยขวา (Right-Hand Driving) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดเล็กอยู่แล้ว โดยมีสัดส่วนแค่ 1 ใน 6 ของโลก เมื่อเจอกับปัญหาตลาดในประเทศที่หดตัวลงจากการเข้าสู่สังคมสูงอายุ ส่วนแบ่งในตลาดโลกที่ลดลง และการผลิตสมัยใหม่ที่ใช้คนน้อยลงทำให้ปริมาณการผลิต(Scale) มีความสำคัญมากขึ้นมาก จะทำให้ไทยเสียเปรียบด้านต้นทุน หรือ การประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ในขณะที่การเปลี่ยนมาผลิตพวงมาลัยซ้ายทำได้ยาก
  4. การมี FTA กับประเทศจีน ทำให้สามารถนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าโดยไม่มีภาษี และการนำเข้ารถยนต์ EV จากจีนมีแนวโน้มที่จะถูกกว่าการผลิตเองภายในประเทศ เพราะปริมาณการการผลิตรถยนต์ EV ที่จีนมีขนาดใหญ่กว่าไทย ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อคันถูกกว่า และไม่มีความจำเป็นที่ไทยต้องนำเข้าชิ้นส่วน เช่น แบตเตอรี่มาประกอบเอง สถานการณ์คล้ายกับออสเตรเลียในอดีตที่เริ่มมี FTA กับไทยและท้ายที่สุดนำเข้ารถยนต์จากไทยแทน
  5. ความสามารถในการแข่งขันที่ลดลงจากต้นทุนที่สูงขึ้น ตามค่าแรงและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง

ไทยอาจไม่ใช่ฐานการผลิตรถยนต์ในอนาคต

มูลค่าเพิ่มหลักกว่า 30% ของรถยนต์ไฟฟ้า คือ Li-Ion Battery ซึ่งไทยแทบไม่มีบทบาทในห่วงโซ่อุปทาน และเสียเปรียบคู่แข่งในหลายมิติ 1) ไทยไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนจีน การผลิตแบตเตอรี่จำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งปัจจุบันจีนครอบครองการผลิตจำนวนมาก โดยบริษัท CALT ในจีนครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 40% ซึ่งสะท้อนข้อจำกัดในการเข้าตลาดสำหรับคู่แข่งรายใหม่ 2) อินโดนีเซียเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวเพราะเป็นแหล่ง Nickel ที่สำคัญของโลกมากถึง 30% ประกอบกับต้นทุนแรงงานที่ถูกกว่า และตลาดที่ใหญ่กว่า ทำให้เริ่มเห็นหลายบริษัท เช่น LG Energy Solution และ Hyundai Motor ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับสองของโลกเริ่มเข้าไปลงทุนในอินโดนีเซีย น่ากังวลว่าท้ายที่สุดประเทศไทยจะเสียส่วนแบ่งตลาดของยานยนต์ไปให้จีนและอินโดนีเซียมากขึ้นเรื่อย ๆ

เศรษฐกิจไทยไปต่อไม่ไหว นโยบายต้องหาทิศทาง

เศรษฐกิจไทยจะถูกกระทบต่อทั้งห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ ไม่ใช่แค่เฉพาะบริษัทประกอบรถยนต์ แต่รวมถึงบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ KKP Research ประเมินว่าชิ้นส่วนที่จะหายไปในการเปลี่ยนเป็นรถยนต์ไฟฟ้า คือ เครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และ ระบบเกียร์ คิดเป็นมูลค่าเพิ่มกว่า 32.5% ของมูลค่าการผลิตรถยนต์สันดาปภายในเดิม โดยมีชิ้นส่วนที่จะถูกกระทบรุนแรง คือ กลุ่ม เครื่องยนต์ ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบปานกลง คือ กลุ่มส่วนประกอบไฟฟ้า ตัวถัง ระบบเบรก และระบบหล่อเย็น ในขณะที่มีชิ้นส่วนบางกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบ คือ ส่วนประกอบภายใน ล้อ-ยาง แต่เป็นชิ้นส่วนที่มูลค่าเพิ่มน้อย 

KKP Research ประเมินว่าการเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ EV จะทำให้ชิ้นส่วนที่ถูกกระทบรุนแรงต้องหยุดการผลิตลงและหากสมมติให้ประเทศไทยยังสามารถทำหน้าที่ผลิตและส่งออกรถยนต์ได้จำนวนเท่าเดิมแต่เปลี่ยนไปผลิต EV แทน มูลค่าเพิ่มที่ไทยสร้างได้จะลดลงจากในปัจจุบันที่ 53% เหลือเพียง 34% เท่านั้น โดยมูลค่าเพิ่มส่วนใหญ่จะเกิดจากการผลิตแบตเตอรี่เป็นส่วนสำคัญแทน

ทั้งนี้ยังไม่นับรวมกรณีเลวร้ายที่ไทยส่งออกรถยนต์ได้ลดลงด้วย ทั้งหมดจะส่งผลต่อเนื่องให้แรงงานจำนวน  7 – 8 แสนคนอยู่ในภาวะเสี่ยงตกงาน และหากไทยต้องเปลี่ยนจากประเทศผู้ผลิตเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกกลายมาเป็นประเทศที่ต้องนำเข้ารถยนต์ส่วนใหญ่ ดุลการค้าไทยในทศวรรษหน้ามีความเสี่ยงกลายเป็นขาดดุลได้

จากงานศึกษาฉบับนี้ KKP Research ประเมินว่ามี 3 บทเรียนที่ภาครัฐควรนำไปปรับใช้ในการทำนโยบาย คือ 1) การพึ่งพาการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ (FDI) จะไม่ใช่คำตอบอีกต่อไปสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะการผลิตในอนาคตไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานทำให้การมาตั้งโรงงานจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ต่างชาติเป็นหลัก 2) ห่วงโซ่การผลิตที่เปลี่ยนไปอย่างมาก ทำให้ไทยต้องกลับมาพิจารณากลยุทธ์การเติบโตระยะยาวว่ายังควรเป็นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือไม่ 3) การพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเป็นหนึ่งในทางออกที่จำเป็นมากที่สุด เพราะมูลค่าเพิ่มของรถยนต์ EV ในอนาคตจะเป็นชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิเลกทรอนิกส์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาในระยะยาวจะเกิดขึ้นได้ยังต้องอาศัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา การส่งเสริมการลงทุน และการวิจัยและพัฒนา กำกับให้เกิดการแข่งขันเสรี และการลดการคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ แต่น่าเสียดายที่เรื่องเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

(อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่  https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/thai-automotive-industry-analysis)