Friday, 26 April 2024 | 8 : 21 pm

4Quarter.co

Friday, 26 April 2024 | 8 : 21 pm
เอไอเอ ประเทศไทย มอบรางวัลเกียรติยศแก่สุดยอดตัวแทน “ที่สุดแห่งปี” ประจำปี 2566 ในงาน AIA Annual Agency Awards Presentation 2023­­­­   •   ออมสิน ประกาศลดดอกเบี้ย MRR ลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่ม คงเหลืออัตราดอกเบี้ย MRR (หลังปรับลด) = 6.595%   •   Caring is Giving “Protect Your Car” ประกันภัยไทยวิวัฒน์ ใส่ใจคุณ พร้อมเคียงข้างทุกการเดินทาง ชวนลดความเสี่ยง ปกป้องรถที่คุณรักอย่างยั่งยืน   •   เคทีซี เผยยอดใช้จ่ายไอเทมคลายร้อนที่ KTC U SHOP พุ่งกว่า 120% เปิดช่องทางช้อปใหม่ผ่านแอป KTC Moblie สะดวก ปลอดภัย พร้อมรับโปรสุดคุ้ม   •   กสิกรไทย ร่วมฉลองความสำเร็จ KCBL รุ่น 1   •   กคช. ระดมผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ มุ่งการพัฒนาควบคู่ 4 มิติ เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงบั้นปลาย   •   ถอดบทวิเคราะห์ เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ เผยมุมมองขยายพอร์ต สู่ 4 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของกรุงเทพฯ “กาญจนาภิเษก – พุทธมณฑล – พัฒนาการ – รามคำแหง”   •   สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ขานรับนโยบายรัฐบาล ประกาศลดดอกเบี้ยลง 0.25% เพื่อช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยและกลุ่มเปราะบาง   •   ผู้บริหารไทยประกันชีวิต รับรางวัล TOP CEO Thailand 2023   •   วิริยะประกันภัย รวมพลังจิตอาสาสร้างโป่งเทียม แหล่งอาหารช้างป่า ผืนป่าภาคตะวันออก   •   กรุงศรี เดินหน้ากลยุทธ์กลุ่มลูกค้าธุรกิจญี่ปุ่นและบรรษัทข้ามชาติ รุกสร้างระบบนิเวศเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมเชื่อมต่อโอกาสลงทุนในอาเซียน   •   ทีทีบี ชวนเอสเอ็มอี ร่วมสัมมนา finbiz connect the future for growth เชื่อมเทรนด์ธุรกิจอนาคต..สู่กลยุทธ์การเติบโตยั่งยืน   •   เงินติดล้อ เปิดบ้านต้อนรับ นักศึกษาปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ มูลนิธิเมืองไทยยิ้ม มอบเงินสนับสนุน “มูลนิธิโรงพยาบาลตำรวจในพระบรมราชินูปถัมภ์”   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย คว้ารางวัลสุดยอดนายจ้างระดับโลก “Global Best Employer Brand Awards 2024”   •   เปิดบ้านหรู 3 ชั้น พร้อมชม Club House สุดหรู ที่ ศุภาลัย เอเลแกนซ์ พหลโยธิน 50   •   กสิกรไทย ปรับโครงสร้างคณะกรรมการ ลดจำนวนกรรมการเป็น 15 คนจาก 18 คน เพิ่มสัดส่วนกรรมการอิสระเกินกว่ากึ่งหนึ่ง ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสอดคล้องมาตรฐานสากล   •   เอสซีจี แถลงผลประกอบการ ไตรมาส 1 ปี 2567 ดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เดินหน้านวัตกรรมกรีนต่อเนื่อง เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด รุกธุรกิจในตลาดเติบโตสูง   •   การเคหะแห่งชาติ ร่วมรับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นด้านการส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน” ภายในงาน “มอบรางวัล SIAMRATH AWARDS 2024”   •   ทิพยประกันภัย ปลุกกระแสประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพแพทย์ สร้างความอุ่นใจให้แพทย์ มอบความคุ้มครองสูงสุดถึง 6 ล้านบาท   •   องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาหลี จับมือ เคทีซี เดินหน้าขยายฐานนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม พร้อมเปิดตัวแคมเปญ “Korea Everything” ทุกสิ่งเป็นจริงที่เกาหลี   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร จัดกิจกรรม “SMART HEALTHY CHALLENGE 2024” ดูแลสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก นำทุกคนก้าวสู่โลกใหม่เพื่อชีวิตและสุขภาพที่ดี   •   “สำนักงาน คปภ. – ภาคธุรกิจประกันภัย” เตรียมความพร้อมรองรับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย (TFRS 17)   •   สมัครบัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์ วีซ่า รูดช้อปรับคุ้ม! รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 5%   •   เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุฟรี แก่เยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ร่วมโครงการ “สานใจไทย สู่ใจใต้” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2   •   ทิพยประกันภัย คว้าสุดยอด 2 รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ รางวัลผู้บริหารองค์กรดีเด่นแห่งปี และรางวัลบริษัทประกันภัยที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านการพัฒนาสังคมยอดเยี่ยม   •   ศุภาลัย ผนึก ทีโอเอ ปั้นนวัตกรรมที่อยู่อาศัยสีเขียว ผุดโปรเจกต์ยักษ์ ‘ฝ้ายิปซัม & สีรักษ์โลก’ เดินหน้าสู่องค์กร Zero Waste อย่างยั่งยืน   •   ออมสิน รับรางวัลองค์กรแห่งความยั่งยืนเพื่อสังคม   •   ธ.ก.ส. จับรางวัลชำระดีมีโชค ครั้งที่ 2 มอบโชคอีกกว่า 208 ล้านบาท ส่งเสริมแนวทางลดภาระหนี้อย่างยั่งยืน   •   ทีทีบี เสริมศักยภาพเอสเอ็มอี ด้วยฟีเจอร์ใหม่ “analytic report” ภายใต้แอปพลิเคชันจัดการร้านค้า ttb smart shop วิเคราะห์ข้อมูลการขายเชิงลึก ครบทุกมิติ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

How to ทิ้ง ทิ้งอย่างไรให้มีคุณค่า

การได้ใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมาและล่วงเลยมาจนถึงปีนี้ คงทำให้หลายคนได้สังเกตสังกาความเป็นไปภายในบ้านมากกว่าที่เคย ว่าข้าวของประดามีที่เราสะสมไว้ในบ้านนั้น บางชิ้นก็ไม่ได้นำมาใช้งาน หรือบางชิ้นก็ซ่อนตัวอยู่ในที่ที่มองไม่เห็นอยู่นานแสนนานจนลืมไปแล้วว่าเคยมีอยู่มากมายแค่ไหน

จะว่าไปแล้วการได้กลับไปเห็นของเหล่านั้นก็เป็นเรื่องดีต่อใจ หลายๆ ชิ้นชวนให้เราย้อนคิดถึงวันวานที่เคยได้มาว่าครั้งหนึ่งเราใจฟูแค่ไหนที่ได้ครอบครอง เสื้อตัวนี้เคยใช่กับเรามากๆ จนฟูมฟายถ้าไม่ได้มันมา ตุ๊กตาลังใหญ่ที่สะสมไว้ตั้งแต่ยังเด็ก หนังสือเก่าเก็บที่เหมาะกับเราในช่วงวัยหนึ่งพอถึงวันนี้เราไม่อินกับมันแล้ว หรือกระเป๋าที่วางซ้อนไว้ในตู้จนเสียทรงเพราะไม่ได้ใช้ ครั้นจะเก็บไว้ให้นอนเฉาๆ อยู่อย่างนั้นก็เบียดเสียดพื้นที่ใช้สอยในบ้านอยู่ไม่น้อย จะดีกว่ามั้ยนะถ้าเราส่งต่อของรักเหล่านี้ไปอยู่ในมือของคนที่จะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า

ถ้าคุณคิดได้แบบนี้ เราต้องขอแสดงความยินดี เพราะนี่อาจถึงเวลาสะสางความเบียดเสียดให้เรียบโล่ง และได้ฝึกละวางความยึดมั่นให้หัวใจเบาสบาย เมื่อเห็นของรักได้เปลี่ยนมือไปสู่เจ้าของคนใหม่ และให้ข้าวของเหล่านั้นได้ออกมาโลดเต้นมีชีวิตเหมือนเมื่อก่อน เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ดีต่อโลกด้วยอีกหนึ่งประการ และยังได้เป็นการพัฒนาความคิดและพฤติกรรมตนเอง ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยและการเป็นอยู่ให้มีคุณภาพขึ้นกว่าวิถีการชอบเก็บแบบเดิมๆ เรียกว่าเป็นการจัดบ้านที่เราได้จัดใจไปด้วย

แต่เราจะเริ่มจากตรงไหนดีล่ะ?

Step 1: ตัดใจ

สิ่งที่เราต้องผ่านกันไปอย่างยากลำบากกันทุกคนเมื่อเริ่มลงมือจัดบ้าน คือการ ‘ตัดใจ’ ไม่ว่าของนั้นจะเป็นเสื้อผ้าชุดโปรด แอคเซสซอรีส์แสนเก๋ หนังสือกองดองหรือกองที่อ่านจบแล้ว ของตกแต่งบ้าน หรือของที่ไม่ได้ใช้งานแล้วก็จริง แต่หยิบขึ้นมาก็มีความหลังที่ผูกพัน หรือบางครั้งก็ยังแอบหวังอยู่ลึกๆ ว่าคงมีสักวันน่าที่เราอาจจะได้เอามาใช้ ชักเข้าชักออกว่าของชิ้นนี้จะได้อยู่กับเราหรือให้ไปต่อ 

การตัดใจจึงต้องเริ่มจาก ‘ดูใจ’ ก่อนว่า ของชิ้นนั้นมีคุณค่าทางใจเราแค่ไหน หากมีค่ากับเรามากจริงๆ การเก็บเอาไว้เยียวยาหัวใจก็สมค่าที่สุดแล้ว 

ของชิ้นไหนที่เราลืมไปแล้ว ลองเปลี่ยนที่วางจากที่เคยอยู่ในหลืบลึกสุดมาเป็นที่ที่เห็นง่ายเตะสายตา แล้วให้เวลาสัก 1 เดือน ดูว่าเราจะมีโอกาสหยิบของชิ้นนั้นมาใช้ไหม ถ้าไม่ ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนมือแล้วจริงๆ

    ของชิ้นที่เราไม่ได้ลืมก็จริง แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เลยนอกจากวางให้ฝุ่นเกาะ แล้วยังดูเก้กังไม่เข้ากับใครเมื่อตั้งโชว์อยู่ในบ้าน บอกลากันเสียวันนี้อาจจะเป็นเรื่องดีกว่า 

Step 2: จัดหมวดหมู่

ครบ 1 เดือนสำหรับการดูใจแล้ว ก็ถึงวันที่ต้องจัดการจริงจัง เชื่อเถอะว่าแม้จะดูเป็นเรื่องไม่ยาก แต่เราต้องการเวลาทั้งหมดของวันในการละเลียดและปล่อยวางครั้งสุดท้าย 

ในสเต็ปนี้เราจัดหมวดหมู่ข้าวของที่ต้องแยกย้ายออกเป็น 4 กล่อง คือขาย แลกเปลี่ยน บริจาค และขยะ 

    กล่องขาย: สำหรับของมูลค่าสูงที่ยากจะตัดใจยกให้ใครได้ฟรีๆ เปลี่ยนของมาเป็นทุนก็น่าสนใจ

    กล่องแลกเปลี่ยน: สำหรับของที่ยังสปาร์กใจอยู่ สภาพดี ใช้งานได้ดี แต่ไม่ได้ใช้แล้ว และอยากเอาไปร่วมกิจกรรมสนุกๆ กับกลุ่มที่มีการแลกเปลี่ยน หรือ swap กันอยู่เรื่อยๆ

    กล่องบริจาค: สำหรับของสภาพดี แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เลย หรือของที่ชำรุดเล็กน้อย ซ่อมแซม          นิดหน่อยก็สามารถใช้งานได้ มีหลายมูลนิธิที่รับของเหล่านี้เพื่อส่งต่อไปยังผู้ด้อยโอกาส หรือนำไปขายต่อเพื่อนำเงินมาสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิ

    กล่องขยะ: สำหรับของที่ชำรุดเสียหาย ใช้งานต่อไม่ได้แล้วจริงๆ โดยแยกกล่องย่อยออกเป็นอีกสองกล่อง สำหรับรีไซเคิลได้ และรีไซเคิลไม่ได้ กล่องที่รีไซเคิลได้ สามารถส่งต่อให้พี่ๆ ซาเล้ง หรือโครงการที่รับไป    รีไซเคิลต่อ ส่วนกล่องที่รีไซเคิลไม่ได้ ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่รับขยะกำพร้าเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทน 

Step 3: ส่งต่อ

    ถึงสเต็ปนี้อนุญาตให้ชมตัวเองว่าเก่งมากที่ยอมถอยตัวเองจากของรักให้ได้ไปต่อ แต่จะไปต่อที่ไหน ส่งต่อถึงใคร เรามีไกด์เล็กๆ ที่แนะนำปลายทางได้

กล่องขาย: ง่ายที่สุดคือส่งต่อไปยังร้านรับซื้อของมือสองโดยตรง ที่มีทั้งหน้าร้านจริงๆ และหน้าร้านในเพจเฟซบุ๊ค แต่ต้องทำใจว่าอาจได้ราคาที่ใจวูบหน่อยเพราะคนรับซื้อก็ต้องให้ราคาที่สามารถนำไปขายต่อได้ หากไม่สะดวกแบบนี้ ลองเข้าไปจอยในกลุ่มซื้อขายสินค้ามือสองที่มีให้เลือกตามประเภทของที่จะขายโดยเฉพาะ เปิดโอกาสให้คนซื้อและคนขายได้เจรจากันโดยตรง ข้อนี้ต้องขอย้ำว่าให้ทำจิตแข็งเข้าไว้ เพราะอาจเผลอไปช้อปของใหม่เข้าบ้านได้ไม่รู้ตัว

กล่องแลกเปลี่ยน: อีเวนต์แลกเปลี่ยนเสื้อผ้ามักจะจัดขึ้นโดยกลุ่มคนเล็กๆ ที่สนับสนุนการใช้ซ้ำไม่ต้องซื้อ โดยชวนให้นำชุดที่ไม่ได้ใส่หรือใส่เบื่อแล้วมาแลกกับเพื่อนในงาน ทั้งอีเวนต์ Cloth Swap ประจำปีที่จัดโดย Fashion Revolution Thailand ซึ่งต้องคอยติดตามทางเพจ Fashion Revolution Thailand เอาไว้

กล่องบริจาค: มีหลายมูลนิธิที่รับของไม่ใช้แล้วเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อ ทั้งของชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ ที่ทำให้ของยังสภาพดีทั้งหลายมีที่ไปได้ครบ อาทิ ห้องได้บุญ สภากาชาดไทย, มูลนิธิกระจกเงา, มูลนิธิบ้านนกขมิ้น, โครงการร้านปันกัน มูลนิธิยุวพัฒน์ 

กล่องขยะ: วัสดุที่รีไซเคิลได้ สนับสนุนการส่งต่อให้พี่ๆ ซาเล้งเพื่อเปลี่ยนเป็นรายได้ ส่วนวัสดุที่รีไซเคิลไม่ได้ แนะนำให้ส่งต่อ N15 Technology ที่เปิดจุดรับขยะกำพร้าหรือขยะรีไซเคิลไม่ได้แต่เปลี่ยนเป็นพลังงานทดแทนได้ทุกวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ตามจุดรับที่นัดหมายทางเพจ N15 Technology ที่หรือส่งเป็นพัสดุไปยังบริษัทตามที่อยู่ที่ระบุไว้ทางเพจได้เช่นกัน