Friday, 20 September 2024 | 2 : 53 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Friday, 20 September 2024 | 2 : 53 pm
spot_img
ธนชาตประกันภัย เดินหน้าจับมือ ทีทีบี ร่วมสนับสนุนการจัดงาน “ประเพณีถือศีลกินผัก จ.ภูเก็ต ประจำปี 2567” ต่อเนื่องปีที่ 3   •   กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต ร่วมสมทบทุนโรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อช่วยเหลือสัตว์ที่เจ็บป่วย ภายใต้กิจกรรม Air Life จากแคมเปญ Commit To Climate ปีที่ 3   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย สนับสนุนงานวิ่งสุดยิ่งใหญ่ “ซีนิค ฮาล์ฟมาราธอน กระบี่ 2024” ตอบรับเทรนด์ Eco Sport Tourism สัมผัสประสบการณ์วิ่งสุดฟิน พิชิตเส้นขอบฟ้าบนถนนสายโรแมนติก   •   บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด รับรางวัลเลิศรัฐ ระดับดีเด่น ประจำปี 2567   •   บพข. เปิดผลงานวิจัย 5 ปีพลิกโฉมการท่องเที่ยว – เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ยกระดับสู่ความยั่งยืน   •   SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต มุ่งยกระดับตัวแทนตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ก้าวสู่ความสำเร็จ   •   TOA ไม่ทิ้งกัน สู้ภัยน้ำท่วม ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพช่วยชาวแม่สาย จ.เชียงราย   •   เมืองไทยประกันชีวิต มอบชุดขนมไหว้พระจันทร์ ส่งมอบความสุข เสริมความสมบูรณ์และมั่งคั่ง แด่สมาชิกเมืองไทยสไมล์คลับ จัดส่งแบบพรีเมียมถึงบ้าน   •   อลิอันซ์ ร่วมเฉลิมฉลอง-เชิดชูนักกีฬาพาราลิมปิกไทย พร้อมประกาศมุ่งสานต่อพันธกิจ “ผู้สนับสนุนหลักมหกรรมกีฬาระดับโลก” ต่อเนื่อง   •   เงินติดล้อ ติดท็อปบริษัทชั้นนำจาก Fortune 500สะท้อนความสำเร็จในธุรกิจสินเชื่อและนายหน้าประกัน   •   BAM รับรางวัลหนังสือชมเชยผู้ช่วยเหลือราชการกรมป่าไม้ สาขาส่งเสริมและพัฒนาป่าชุมชน ประจำปี 2567   •   ฟิลลิปประกันชีวิตส่งความห่วงใย มอบสิ่งของเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย   •   เมย์แบงก์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการลงทุน เปิดตัว 2 ฟีเจอร์ใหม่บนแอปพลิเคชัน Maybank Invest   •   “มาดามแป้ง” สั่งเปิด “ครัวมาดาม” ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม เหนือ-อีสาน   •   สำนักงาน คปภ. ร่วมกับ บริษัทกลางฯ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดภาคเหนือ   •   สศท. จัดใหญ่ “อัตลักษณ์แห่งสยาม ครั้งที่ 15” มุ่งสืบสานต่อยอดภูมิปัญญางานหัตถศิลป์ไทยชั้นบรมครูในเวทีระดับสากล   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ตอกย้ำองค์กรโปร่งใส รับประกาศนียบัตรรับรองจาก CAC ปีที่ 2   •   กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต รวมพลังจิตอาสา ปันน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ร่วมบรรจุถุงยังชีพ จำนวน 1,000 ชุด และส่งมอบน้ำดื่ม จำนวน 2,000 ขวด   •   เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ ชวนลูกค้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ   •   เสนาดีเวลลอปเม้นท์ เดินหน้า LivNex เช่าออมบ้าน….เช่าเพื่อเป็นเจ้าของ มอบสิทธิพิเศษแก่ผู้กู้ยืม กยศ. ที่ได้รับเกียรติบัตรชำระหนี้ดี   •   พรูเด็นเชียล ประเทศไทย คว้า 10 รางวัลจากเวที TCCTA Contact Center Awards 2024   •   ประกันติดโล่ สนับสนุน สำนักงาน คปภ. ออกบูธกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัย จ.มุกดาหาร   •   สมาคมการขายตรงไทย ย้ำความเป็นเลิศด้านคุณภาพการให้บริการและการพัฒนาองค์กร คว้ารางวัล “สมาคมการค้าดีเด่น ประจำปี 2567”   •   สมาคมประกันชีวิตไทย ครองความเป็นเลิศรอบด้านคว้ารางวัล “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม ประจำปี 2024” สมัยที่ 8   •   “กรุงศรี” จัดงานสัมมนาครั้งใหญ่ Krungsri ASEAN LINK Forum ย้ำจุดยืนในฐานะธนาคารชั้นนำแห่งภูมิภาคอาเซียน ด้วยเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งที่สุด   •   Roddonjai จัดแคมเปญสุดคุ้ม ซื้อรถติดดาว(น์) ได้รถมือสองคุณภาพดี แถมรับดอกเบี้ยโดนใจ เริ่มต้นคงที่ 2.59% ต่อปี   •   คปภ. เฟ้นหาสุดยอดนักพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการประกันภัย OIC InsurTech Award 2024 ภายใต้แนวคิด “Limitless Insurance with Intelligent Innovation” พร้อมร่วมชิงเงินรางวัลกว่า 700,000 บาท   •   บลจ.กสิกรไทย จับมือชมรม CUVI จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อยอดความรู้สู่การจัดพอร์ตผ่านคอร์ส Investment Boot Camp   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร รับรางวัลเกียรติยศระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก Insurance Asia Awards 2024   •   กรุงเทพประกันชีวิต ออกประกันสะสมทรัพย์ใหม่ รับเทศกาลลดหย่อนภาษี บีแอลเอ ฟาสต์ รีเทิร์น 10/2 จ่ายเบี้ยฯ สั้น 2 ปี รับเงินก้อนคืนไว
spot_img

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ Q1/2563 กำไร 6,581 ล้านบาท

นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของไทยในไตรมาส 1 ปี 2563 หดตัวลงในเกือบทุกภาคส่วน เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกหดตัวลงสอดคล้องกับสัญญาณถดถอยของเศรษฐกิจโลก ขณะที่มาตรการปิดเมืองของหลายประเทศมีผลกระทบต่อการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ  

นอกจากนี้สถานการณ์โควิด-19 ยังกดดันบรรยากาศการใช้จ่ายภายในประเทศ และสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินไทย ซึ่งทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และใช้มาตรการเพิ่มเติมในการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงิน ขณะที่ภาครัฐเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวกับเครื่องมือทางการเงิน (รวมถึง TFRS 9) ซึ่งมีผลต่อการจัดประเภทรายการใหม่ การวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินและหนี้สินทางการเงิน การตั้งด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน และการบัญชีป้องกันความเสี่ยง โดยปรับปรุงผลกระทบสะสมจากการปฏิบัติตามมาตรฐานดังกล่าวเป็นครั้งแรกกับกำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2563 รวมทั้งได้แสดงรายการในงบการเงินตามข้อกำหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งงบการเงินและอัตราส่วนทางการเงินบางรายการไม่สามารถเปรียบเทียบได้กับปีก่อน 

ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2563 จำนวน 6,581 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิไตรมาส 1 ปี 2562 จำนวน 10,044 ล้านบาท

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 6,581 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนจำนวน 3,463 ล้านบาท หรือ 34.47% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ เพิ่มขึ้นจำนวน 2,830 ล้านบาท หรือ 11.21% ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ รวมทั้งการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) จากเดิมรับรู้ตามสัญญา ซึ่งเป็นการปฏิบัติตาม TFRS 9  ประกอบกับการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินลง ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.49%  นอกจากนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 4,869 ล้านบาท หรือ 39.78% ส่วนใหญ่เกิดจากความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19 รวมทั้ง TFRS 9 กำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าของเงินลงทุนใหม่โดยสะท้อนในรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ เพิ่มขึ้นจำนวน 1,471 ล้านบาท หรือ 9.19% ส่วนหนึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายในการจัดการหนี้ ค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และค่าใช้จ่ายกิจกรรมทางการตลาด ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) อยู่ที่ระดับ 49.31% ทั้งนี้ ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected credit loss) เพิ่มขึ้นจำนวน 4,292 ล้านบาท จากปีก่อน โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ อย่างรอบคอบเพื่อให้สอดคล้องกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 1 ปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 6,581 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนจำนวน 2,221 ล้านบาท หรือ 25.23% โดยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นจำนวน 2,512 ล้านบาท หรือ 9.82% ส่วนใหญ่เกิดจากการเติบโตของสินเชื่อ รวมทั้งการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมรับเกี่ยวกับการให้สินเชื่อตาม TFRS 9 ประกอบกับการปรับลดอัตราเงินนำส่งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลง ทำให้อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net interest margin: NIM) อยู่ที่ระดับ 3.49% ในขณะที่รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 8,785 ล้านบาท หรือ 54.37% ส่วนใหญ่เกิดจากความผันผวนในตลาดเงินและตลาดทุนจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยอันเนื่องมาจากผลกระทบของโควิด-19 รวมทั้งการจัดประเภทและวัดมูลค่าเงินลงทุนใหม่ตาม TFRS 9 ในขณะที่รายได้สุทธิจากการรับประกันภัยเพิ่มขึ้น สำหรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ลดลงจำนวน 3,695 ล้านบาท หรือ 17.45% เนื่องจากในไตรมาส 4 ปี 2562 ธนาคารมีการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์สร้างแบรนด์ และกิจกรรมทางการตลาด โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจของธนาคาร ซึ่งเป็นปกติตามฤดูกาล ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับ 49.31% นอกจากนี้ ธนาคารมีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 3,047 ล้านบาทจากไตรมาสก่อน

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 3,483,527 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2562 จำนวน 189,638 ล้านบาท หรือ 5.76% ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ และการเติบโตของสินเชื่อ สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 3.86% โดยธนาคารได้มีการติดตาม ให้ความช่วยเหลือ รวมทั้งควบคุมดูแลคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างใกล้ชิด ขณะที่สิ้นปี 2562 อยู่ที่ระดับ 3.65% อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ระดับ 138.66% โดยสิ้นปี 2562 อยู่ที่ระดับ 148.60% สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 อยู่ที่ 18.53% โดยมีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ที่ 15.17%

KASIKORNBANK announces the first quarter of 2020 net profit of Baht 6,581 Million

Mr. Patchara Samalapa, President of KASIKORNBANK, said Thai economic activity in the first quarter of 2020 saw a contraction almost across the board due to the COVID-19 pandemic. Tourism and exports shrank amid signs of a global economic recession as lockdown measures implemented in several countries crippled travel and international transportation. Domestically, the viral transmission dampened spending sentiment and sent financial markets into a tailspin. The Bank of Thailand therefore cut its policy rate and implemented additional measures in order to stabilize the financial system, whereas the government issued stimulus packages to ease the impact of the COVID-19 crisis.

Since 1 January 2020 the Bank and its subsidiaries initially adopted TFRS related to financial instruments (included TFRS 9) which affect to classification, measurement of financial assets and financial liabilities, impairment of financial assets and hedge accounting. The impact from first-time adoption are adjusted to retained earnings as of 1 January 2020.  In addition, the financial statements are prepared in accordance with the Bank of Thailand notification which some items are not comparable with the financial statements and key financial ratio of previous period.

Operating performance for the first quarter of 2020, KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 6,581 Million, and reported net profit of Baht 10,044 Million, for the same period of 2019.

Operating performance for the first quarter of 2020 compared with the first quarter of 2019, KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 6,581 Million, a decrease of Baht 3,463 Million or 34.47% over the same period of 2019.   Net interest income increased by Baht 2,830 Million or 11.21% mainly due to loan growth and TFRS 9 revenue recognition concept which interest income and fee income related to loan shall be calculated by using effective interest rate method, while previously calculated by contractual rate. In addition, Contributions to Financial Institutions Development Fund (FIDF) decreased due to the Bank of Thailand announcement. NIM stood at 3.49%.  Non – interest income decreased by Baht 4,869 Million or 39.78% mainly due to the volatility of money market and capital market during the economic recession from COVID-19, and TFRS 9 impacts from reclassification and remeasurement of investments that reflect in non-interest income.  However, other operating expenses increased by Baht 1,471 Million or 9.19% due to debt management expenses, IT related expenses and marketing expenses, resulting in the cost to income ratio that stood at 49.31%.  KBank has set aside higher expected credit loss from the preceding period of Baht 4,292 Million, with prudent consideration on factors in line with uncertainties from continued economic slowdown.

Operating performance for the first quarter of 2020 compared with the fourth quarter of 2019, KBank and its subsidiaries reported net profit of Baht 6,581 Million, a decrease from the preceding quarter of Baht 2,221 Million or 25.23%.  Net interest income increased by Baht 2,512 Million or 9.82% mainly due to loan growth and TFRS 9 revenue recognition concept of interest income and fee income related to loan. In addition, Contributions to Financial Institutions Development Fund (FIDF) decreased due to the Bank of Thailand announcement.  NIM stood at 3.49%. Non – interest income decreased by Baht 8,785 Million or 54.37% mainly due to the volatility of money market and capital market during the economic recession from COVID-19, and TFRS 9 the impacts from reclassification and remeasurement that reflect in non-interest income, while net premiums earned – net increased.  Other operating expenses decreased by Baht 3,695 Million or 17.45% due to seasonality, as well as branding campaigns and marketing activities in line with business direction of KBank in the fourth quarter of 2019, resulting in the cost to income ratio that stood at 49.31%.  In addition, KBank has set aside higher expected credit loss from the preceding quarter of Baht 3,047 Million.

As of 31 March 2020, KBank and its subsidiaries’ total assets were Baht 3,483,527 Million, an increase of Baht 189,638 Million or 5.76% over the end of 2019.  The majority came from an increase of interbank and money market items – net and loans.  NPL gross to total loans as of 31 March 2020 stood at 3.86%, while at the end of 2019 this stood at 3.65%. The Bank has closely monitored, provided support and assure credit quality for customer affected by COVID-19. Coverage ratio as of 31 March 2020 stood at 138.66%, while at the end of 2019 this stood at 148.60%.  In addition, as of 31 March 2020, KASIKORNBANK FINANCIAL CONGLOMERATE’s Capital Adequacy Ratio (CAR) according to the Basel III Accord was 18.53%, with a Tier-1 Capital ratio of 15.17%.

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img