Wednesday, 24 April 2024 | 9 : 16 am

4Quarter.co

Wednesday, 24 April 2024 | 9 : 16 am
SPALI ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 1.45 บาท   •   วิริยะประกันภัย ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ แก้ไขจุดเสี่ยงเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน โซนภาคอีสาน   •   ซีพีแรม ทุกแห่งทั่วประเทศ ขานรับนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ ชู CPRAM Green Life #ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน เป็นปีที่ 11 หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนผืนแผ่นดินไทย   •   อลิอันซ์ อยุธยา เฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 73 เคียงข้างคนไทย   •   เคทีซี จับมือ คาเธ่ย์ ปลูกต้นไม้ในป่าชายเลน 4,000 ต้น ต่อยอดโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น”   •   บัตรเครดิต ttb ชวนมาอิ่มคุ้ม กิน 1,000.- ลด 100.- ในแคมเปญ Tasty Asian กับ 9 ร้านดังสไตล์เอเชียน   •   “centralwOrld Summer 2024 Trunk Show The List” ปรากฏการณ์แฟชั่นโชว์รูปแบบใหม่ เปลี่ยนศูนย์การค้าเป็นรันเวย์ อัพเดทเทรนด์แฟชั่นปรับลุครับซัมเมอร์   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คว้า 6 รางวัลใหญ่ จากงาน Retail Banker International Asia Trailblazer Awards 2024   •   กรุงเทพประกันชีวิต ใส่ใจพัฒนาสิทธิประโยชน์ใหม่ 5 ด้าน ยกระดับความสุขทั้งไลฟ์สไตล์ และ สุขภาพผ่านบีแอลเอ แฮปปี้ไลฟ์ คลับ   •   BAM จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567   •   ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด เดินหน้าเจรจาดีล M&A หนุนผลงานนิวไฮต่อเนื่อง   •   บอร์ดการเคหะแห่งชาติลงพื้นที่เคหะชุมชนดินแดง 2 กำชับให้การเคหะแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่   •   FWD ประกันชีวิต จัดฟรีคอนเสิร์ตใหญ่เล่นน้ำกลางเมือง “FWD Music Live Fest 3 #TimeToPlaySongkran” ฉลองวันไหลสงกรานต์ครั้งแรกในกรุงเทพฯ ณ ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์   •   เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ประกาศปรับผังองค์กรครั้งใหญ่ มุ่งสู่กลุ่มธุรกิจประกันภัยและบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร   •   เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ รุ่นปี 2567 เพิ่มความเข้มข้นในทุกมิติ มุ่งสร้างการเรียนรู้การทำธุรกิจเสมือนจริง   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ ไอคอนสยาม จัดกิจกรรม “เมืองไทย Smile Exclusive Dining on Pruek Cruise” สำหรับสมาชิกเมืองไทยสไมล์คลับ   •   กรุงเทพประกันภัย จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 31   •   “เงินติดล้อ” สมาชิกสมาคมสินเชื่อทะเบียนรถฯ ร่วมส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับ อาสาสมัครเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร (อสท.)   •   เคทีซี รวมน้ำใจสมาชิกบัตรเครดิต สมทบทุนเข้า มูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท   •   BAM ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดทำโครงการ HOME & HOPE ต่อเนื่องปีที่ 4 มอบเงินสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส จังหวัดนครศรีธรรมราช   •   ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 กำไร 13,486 ล้านบาท   •   กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง   •   ธ.ก.ส. จัดประชุมขับเคลื่อนภารกิจสู่ความสำเร็จ Bank Agenda ประจำปี 2567   •   ป้องกันโรคร้ายที่มากับฤดูร้อน มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน สู่คุณภาพชีวิตที่ดีโดย APCO   •   ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 626.1 ล้านบาท   •   กรุงศรี เผยผลกำไรสุทธิไตรมาสแรกปี 2567 จำนวน 7.54 พันล้านบาท สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจริงอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวดระมัดระวัง   •   เคทีซี เผยงบรวมไตรมาส 1/2567 กำไร 1,803 ล้านบาท เดินหน้าโฟกัสคุณภาพสินทรัพย์ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม   •   คปภ. เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ที่จังหวัดนครพนม   •   วิริยะประกันภัย ร่วมรณรงค์ “ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 จังหวัดนครราชสีมา   •   ออมสิน เปิดให้กู้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” ตั้งเป้าแก้หนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐ ลดดอกเบี้ย 4 กลุ่มสินเชื่อ ช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ P-Loan ลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน

ธอส. ชี้ ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัย Q1/2563 มีทิศทางตลาดปรับสู่สมดุลทั้งอุปสงค์-อุปทาน

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 เป็นช่วงเวลาที่สะท้อนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ ไวรัส COVID-19 ต่อการลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และการซื้อขายที่อยู่อาศัยอย่างเป็นรูปธรรม โดยภาพรวมชะลอตัวลงทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งเป็นการปรับสมดุลของตลาดลดความเสี่ยงปัญหาอุปทานส่วนเกิน 

อุปสงค์ภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์และสินเชื่อที่อยู่อาศัยลดลงแต่ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

สถานการณ์ด้านความต้องการที่อยู่อาศัยไตรมาส 1 ปี 2563 ประเมินจากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 89,024 หน่วย ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -16.7 แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 โดยมีมูลค่ารวม 210,294 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -20.6 แต่เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 โดยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยประเภทห้องชุดมีสัดส่วนใกล้เคียงกับบ้านเดียว แต่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์บ้านเดี่ยวมีสัดส่วนสูงที่สุด

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวมการโอนกรรมสิทธิ์เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่า มีจำนวนรวม 45,678 หน่วย ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -18.3 และลดลงร้อยละ -4.4 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 129,406 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -24.4 และลดลงร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 

ในส่วนของภูมิภาค ไตรมาส 1 ปี 2563 มีจำนวนรวม 43,346 หน่วย ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -14.9 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์มีจำนวน 80,888ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2562 ร้อยละ -13.5 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562

โดยศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศจำนวน 311,719 หน่วย ลดลงร้อยละ -16.7 จากปี 2562 มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์รวม 746,206 ล้านบาท ลดลงร้อยละ – 14.8 จากปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวประมาณการเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน 160,350 หน่วย มูลค่ารวม 472,401 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ -19.1 และลดลงร้อยละ -17.4 ตามลำดับ ประมาณการหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาครวม 151,369 หน่วย มูลค่ารวม 273,805 ล้านบาท ลดลงจากปี 2562 ร้อยละ -14.0 และลดลงร้อยละ -9.9 ตามลำดับ 

ด้านภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศ พบว่าในไตรมาส 1 ปี 2563 มีมูลค่ารวม 138,238 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.0 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าปี 2563 จะมีจำนวนสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศรวม 571,196 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -10.8 จากปี 2562 

อุปทานที่อยู่อาศัยปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย

สำหรับอุปทานใหม่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 พบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ จำนวน 60,165 หน่วย ลดลงร้อยละ -17.9 จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงร้อยละ -27.7 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ในจำนวนดังกล่าวเป็นการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 20,590 หน่วย ลดลงร้อยละ -18.6 จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงร้อยละ -36.5 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ส่วนในภูมิภาคพบว่ามีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 39,575 หน่วย ลดลงร้อยละ -27.8 จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงร้อยละ -30.9 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 

โดยศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 256,601 หน่วย ลดลงร้อยละ-16.5 เมื่อเทียบจากปี 2562 โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยจำนวน 97,441 หน่วย ลดลงร้อยละ -20.7 ในส่วนภูมิภาคคาดว่าจะมีการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยจำนวน 154,160 หน่วย ลดลงร้อยละ -22.7

นอกจากนี้จากข้อมูลสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ของศูนย์ข้อมูลฯ พบว่าในช่วงไตรมาส 1 ปี 2563 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีที่อยู่อาศัยทุกประเภทเปิดขายใหม่จำนวนรวม 15,932 หน่วย ลดลงร้อยละ-49.3 จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2562 ร้อยละ -29.6 โดยประมาณการว่า ปี 2563 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ทุกประเภทรวม 79,408 หน่วย เป็นโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่ประมาณ 35,734 หน่วย และอาคารชุดเปิดขายใหม่ประมาณ 43,674 หน่วย ลดลงร้อยละ -19.9 เมื่อเทียบกับปี 2562

ในขณะที่รายงานที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 1 ปี 2563 ก็ลดลงด้วยเช่นกัน โดยมีจำนวน 21,260 หน่วย ลดลงร้อยละ -24.7 จากไตรมาส 4 ปี 2562 และลดลงร้อยละ -12.3 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยคาดการว่าในปี 2563 จะมีที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนจำนวนประมาณ 80,563 หน่วย ลดลงร้อยละ -27.8 จากปี 2562 

ประเมินทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ปี 2563

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินสถานการณ์ โดยภาพรวมจากสถิติข้อมูลทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ศูนย์ข้อมูลฯคาดการว่าในปี 2563 แม้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศจะชะลอตัว แต่ในส่วนของตลาดที่อยู่อาศัยจะไม่เกิดปัญหารุนแรงเช่นที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2541 เนื่องจากมีการปรับตัวทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค นอกจากนี้กระแส New Normal ซึ่งจะเกิดขึ้นกับตลาดที่อยู่อาศัยหลายภาคส่วนมีความเห็นว่าผู้บริโภคจะให้ความสนใจต่อการอยู่อาศัยในโครงการบ้านจัดสรรมากกว่าอาคารชุด แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณและความพร้อมทางด้านการเงิน ในที่สุดผู้บริโภคก็ยังคงต้องเลือกซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่สอดคล้องกับความสามารถใน

การผ่อนชำระ และคาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายผู้ที่มีความมั่นคงทางรายได้ เช่น กลุ่มข้าราชการ และผู้ที่มีเงินเดือนประจำ จะกลับมาซื้อที่อยู่อาศัยอีกครั้ง