Thursday, 27 March 2025 | 6 : 59 am
คปภ. ยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยแบบรวมกลุ่ม Group – Wide Supervisionเสริมความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมประกันภัยไทย   •   การเคหะแห่งชาติ เปิดทำเลทองให้เช่าที่ดินระยะยาว 15 ปี เพื่อประกอบกิจการร้านสะดวกซื้อพร้อมกิจกรรมต่อเนื่อง ในโครงการเคหะชุมชนนครปฐม ระยะ 1   •   ไทยประกันชีวิต คว้ารางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 13   •   BAM มั่นใจธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง หลัง TRIS คงอันดับเครดิตที่ A   •   สงกรานต์นี้เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดความกังวลให้กับทุกคนในช่วงเทศกาล   •   “อาชีพพลิกฝัน” กระปุกรุ่นใหม่จากออมสิน ฉลอง 1 เมษา วันสถาปนาออมสิน พร้อมสนับสนุนทุกอาชีพไทยให้เดินหน้า ด้วยพลังการออม จองสิทธิ์ฝากเงิน 28 – 31 มีนาคม นี้   •   เอสซีจี ผนึกกำลังเครือโตโยต้า เปิดโครงการระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่จากรถยนต์ไฟฟ้า เน้นใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสู่สังคมปลอดคาร์บอน   •   สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ ทีทีเอฟ ผนึกกำลังประกาศความพร้อม “งานสถาปนิก’68” จัดยิ่งใหญ่ภายใต้แนวคิด “ทบทวน ทิศทาง: Past Present Perfect”   •   TOA แรงไม่หยุด! กวาดเพิ่ม 2 รางวัลใหญ่แห่งปี 2025 ‘Thailand’s Most Admired Company & Brand 14 ปีซ้อน’ ย้ำแชมป์เจ้าตลาดสีเบอร์ 1 ครองใจมหาชน ตัวจริงที่ผู้บริโภคเลือกใช้   •   กสิกรไทย คว้า 3 รางวัลสูงสุด ด้านธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม และโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่งของประเทศ   •   RDD รถดีเด็ด เร่งขยายช่องทางออนไลน์ เจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย   •   ททท. ภูมิภาคภาคตะวันออก และ เมืองไทยประกันชีวิต โดยเมืองไทยสไมล์ คลับ จัดทริปฟินแบบ สไมล์@เกาะช้าง สัมผัสเมืองน่าเที่ยวภาคตะวันออก   •   กรุงเทพประกันภัย จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต บริจาคอวัยวะและดวงตาให้แก่สภากาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง   •   เอไอเอ ประเทศไทย คว้า 2 ประเภทรางวัลผู้นำเทรนด์แห่งปี Future Trends Awards 2025 ในสาขา The Most Attractive Employer   •   สายสีแดง เผยผลสำรวจฯ ผู้โดยสารมั่นใจคุณภาพและความปลอดภัย
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Thursday, 27 March 2025 | 6 : 59 am
spot_img
คปภ. ยกระดับการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยแบบรวมกลุ่ม Group – Wide Supervisionเสริมความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมประกันภัยไทย   •   การเคหะแห่งชาติ เปิดทำเลทองให้เช่าที่ดินระยะยาว 15 ปี เพื่อประกอบกิจการร้านสะดวกซื้อพร้อมกิจกรรมต่อเนื่อง ในโครงการเคหะชุมชนนครปฐม ระยะ 1   •   ไทยประกันชีวิต คว้ารางวัล Thailand Social Awards ครั้งที่ 13   •   BAM มั่นใจธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง หลัง TRIS คงอันดับเครดิตที่ A   •   สงกรานต์นี้เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดความกังวลให้กับทุกคนในช่วงเทศกาล   •   “อาชีพพลิกฝัน” กระปุกรุ่นใหม่จากออมสิน ฉลอง 1 เมษา วันสถาปนาออมสิน พร้อมสนับสนุนทุกอาชีพไทยให้เดินหน้า ด้วยพลังการออม จองสิทธิ์ฝากเงิน 28 – 31 มีนาคม นี้   •   เอสซีจี ผนึกกำลังเครือโตโยต้า เปิดโครงการระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่จากรถยนต์ไฟฟ้า เน้นใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสู่สังคมปลอดคาร์บอน   •   สมาคมสถาปนิกสยามฯ และ ทีทีเอฟ ผนึกกำลังประกาศความพร้อม “งานสถาปนิก’68” จัดยิ่งใหญ่ภายใต้แนวคิด “ทบทวน ทิศทาง: Past Present Perfect”   •   TOA แรงไม่หยุด! กวาดเพิ่ม 2 รางวัลใหญ่แห่งปี 2025 ‘Thailand’s Most Admired Company & Brand 14 ปีซ้อน’ ย้ำแชมป์เจ้าตลาดสีเบอร์ 1 ครองใจมหาชน ตัวจริงที่ผู้บริโภคเลือกใช้   •   กสิกรไทย คว้า 3 รางวัลสูงสุด ด้านธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม และโมบายแบงกิ้งอันดับหนึ่งของประเทศ   •   RDD รถดีเด็ด เร่งขยายช่องทางออนไลน์ เจาะกลุ่มลูกค้ารายย่อย   •   ททท. ภูมิภาคภาคตะวันออก และ เมืองไทยประกันชีวิต โดยเมืองไทยสไมล์ คลับ จัดทริปฟินแบบ สไมล์@เกาะช้าง สัมผัสเมืองน่าเที่ยวภาคตะวันออก   •   กรุงเทพประกันภัย จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต บริจาคอวัยวะและดวงตาให้แก่สภากาชาดไทยอย่างต่อเนื่อง   •   เอไอเอ ประเทศไทย คว้า 2 ประเภทรางวัลผู้นำเทรนด์แห่งปี Future Trends Awards 2025 ในสาขา The Most Attractive Employer   •   สายสีแดง เผยผลสำรวจฯ ผู้โดยสารมั่นใจคุณภาพและความปลอดภัย
spot_img

ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการ ปี 2567 กำไร 48,598 ล้านบาท

นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีสัญญาณฟื้นตัวไม่ทั่วถึง (K-Shaped Recovery) แม้ในภาพรวมสามารถประคองการขยายตัวไว้ได้ในระดับที่สูงกว่าปี 2566 โดยภาคการท่องเที่ยวและการส่งออกสินค้าบางหมวดที่ได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยีขยายตัวได้ดี แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรม การลงทุนภาคเอกชน และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนยังมีสัญญาณอ่อนแอท่ามกลางแรงกดดันต่อเนื่องจากปัญหาความสามารถในการแข่งขัน ข้อจำกัดของกำลังซื้อทั้งในและต่างประเทศ และปัญหาภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

สำหรับในปี 2568 แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากหลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบจากความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ความเสี่ยงจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ แนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ปัญหาในภาคการผลิตและภาระหนี้เอกชนที่อยู่ในระดับสูงซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไข ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยต่าง ๆ ธนาคารและบริษัทย่อยยังคงมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โดยเฉพาะการส่งมอบผลตอบแทนที่มั่นคงให้แก่ผู้ถือหุ้น การดูแลช่วยเหลือลูกค้าในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งรวมถึงการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible lending) ตลอดจนการให้ความร่วมมือโครงการภาครัฐเพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถดำเนินชีวิต และธุรกิจต่อไปได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเดินหน้าตามยุทธศาสตร์ 3+1 และการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Productivity) อย่างต่อเนื่อง ในไตรมาส 4 ปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 25,513 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,665 ล้านบาท หรือ 6.13% จากไตรมาส 3 ปี 2567 โดยรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 48,685 ล้านบาท ใกล้เคียงกับไตรมาสก่อน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 23,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,671 ล้านบาท หรือ 7.77% ซึ่งเป็นตามฤดูกาล รวมทั้งมีการตั้งสำรองผลขาดทุน ด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 12,242 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนจำนวน 590 ล้านบาท หรือ 5.06% ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สำรองฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสมรองรับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้กำไรสุทธิไตรมาส 4 ปี 2567 มีจำนวน 10,494 ล้านบาท ลดลงจำนวน 1,471 ล้านบาท หรือ 12.30% จากไตรมาสก่อน ในปี 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นและภาษีเงินได้จำนวน 110,673 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,988 ล้านบาท หรือ 2.77% จากปีก่อน โดยรายได้จากการดำเนินงานสุทธิมีจำนวน 197,946 ล้านบาท เติบโตจำนวน 5,293 ล้านบาท หรือ 2.75% เป็นผลจากการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของธนาคาร และการขยายตัวของปริมาณธุรกิจ โดยในปี 2567 ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 87,273 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,305 ล้านบาท หรือ 2.71% จากปีก่อน

อัตราส่วนค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ต่อรายได้จากการดำเนินงานสุทธิ (Cost to income ratio) ในปี 2567 อยู่ที่ 44.09% ใกล้เคียงกับปีก่อนจากการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยธนาคารและบริษัทย่อยยังคงตั้งสำรองฯ ตามหลักความระมัดระวังอย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่เติบโตช้าและในอัตราที่ต่ำ แม้ว่าสำรองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss : ECL) ลดลง 8.85% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้กำไรสุทธิในปี 2567 มีจำนวน 48,598 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 6,193 ล้านบาท หรือ 14.60% รายได้ดอกเบี้ยสุทธิมีจำนวน 149,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจำนวน 932 ล้านบาท หรือ 0.63% จากปีก่อน ส่วนหนึ่งจากเงินให้สินเชื่อที่เติบโตได้จำกัดสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับการยกระดับกระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ โดยอัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net Interest Margin : NIM) อยู่ที่ 3.64% ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อน

สำหรับรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยมีจำนวน 48,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 4,361 ล้านบาท หรือ 9.86% หลัก ๆ จากรายได้ค่าธรรมเนียมรับจากการให้บริการบริหารความมั่งคั่งให้ลูกค้าผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ครอบคลุมทั้งของธนาคารและบริษัทย่อย รวมทั้งพันธมิตร

นอกจากนี้ ยังมีกำไรจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน และรายได้จากการลงทุนเพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้จากการให้บริการด้านปริวรรตเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ มีจำนวน 87,273 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,305 ล้านบาท หรือ 2.71% จากปี 2566 เป็นการเพิ่มในอัตราที่ต่ำ เมื่อเทียบกับค่าใช่จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ ของปี 2566 ที่เติบโตจากปีก่อนหน้าในระดับที่สูง ซึ่งเป็นผลจากการมุ่งเน้นการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดความคุ้มค่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานอื่น ๆ หลัก ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ค่าใช้จ่ายทางการตลาดซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการขยายตัวของธุรกิจ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการขยายช่องทางการให้บริการลูกค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ธนาคารและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวมจำนวน 4,325,287 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2566 จำนวน 41,731 ล้านบาท หรือ 0.97% โดยเงินให้สินเชื่อสุทธิมีจำนวน 2,390,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 18,695 ล้านบาท หรือ 0.79% สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ประกอบกับการยกระดับกระบวนการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของธนาคารในการบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ให้มีประสิทธิผลสูงสุดอย่างระมัดระวังรอบคอบ

โดยสินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ยังคงมีการเติบโต เงินรับฝากมีจำนวน 2,718,675 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 19,113 ล้านบาท หรือ 0.71% สำหรับเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อ (%NPL gross) อยู่ที่ระดับ 3.18% โดยธนาคารยังคงติดตามและจัดการคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดและรอบคอบ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือลูกค้าอย่างเหมาะสม และปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามหนี้ รวมทั้งพิจารณาตั้งสำรองฯ อย่างเพียงพอตามหลักความระมัดระวัง โดยมีอัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) สูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 153.27%

สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุนทั้งสิ้นต่อสินทรัพย์เสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงินธนาคารกสิกรไทยตามหลักเกณฑ์ Basel III ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ยังคงมีความแข็งแกร่งอยู่ที่ 20.25%

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img