Sunday, 22 December 2024 | 10 : 35 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 10 : 35 pm
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

Long COVID เชื้อจบ อาการไม่จบ : ทำความเข้าใจภาวะเรื้อรังหลังหายป่วยโควิด-19

กรุงเทพฯ- กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก ชี้แจงเกี่ยวกับภาวะลองโควิด (LONG COVID) อาการที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แม้จะหายจากการติดเชื้อแต่ยังมีผลข้างเคียงซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของผู้ป่วยในระยะยาว พร้อมแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อฟื้นสุขภาพร่างกายเมื่อหายป่วย

พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ หัวหน้ากลุ่มงานอายุรศาสตร์ปอด สถาบันโรคทรวงอก อธิบายว่า Long COVID  หรือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 พบในผู้ป่วยบางรายที่เป็น โควิด–19 และพ้นระยะการแพร่เชื้อ ( เชื้อ โควิดอยู่ในร่างกายประมาณ 10-14 วันมากสุด 21 วัน) แล้วแต่ยังแสดงอาการคล้ายคลึงกับอาการขณะที่ยังติดมีเชื้อโควิด–19 อยู่ ในภาวะปกติหลังติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะมีอาการฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ต่ในผู้ป่วย Long COVID กลับพบว่ามีอาการมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป และสามารถมีอาการได้นานถึง 4-6 เดือน ลักษณะอาการที่สามารถสังเกตได้ในกรณีที่มี ภาวะ Long COVID คือจะมีอาการคั่นเนื้อคั่นตัว อาการไอเล็กน้อย อ่อนเพลีย ยังรู้สึกถึงการไม่ฟื้นตัวจากอาการป่วย เช่น ยังรู้สึกเหนื่อยหายใจไม่อิ่ม อาการ Long COVID ไม่มีผลต่อสุขภาพในระยะยาวกว่านั้น 

อย่างไรก็ดี ภาวะ LONG Covid ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่หายจากอาการติดเชื้อทุกคน  สาเหตุของภาวะ Long COVID นั้นเกิดจากภาวะอักเสบที่ยังหลงเหลือ หรือเกิดจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด LONG Covid ได้แก่ อายุ กล่าวคือผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่พบว่ามีภาวะ LONG Covid หรือโรคประจำตัวเช่น ภาวะอ้วน ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คนไข้จึงรู้สึกอ่อนเพลีย อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิด LONG Covid คือความเครียด ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวลอันเนื่องจากความเจ็บป่วย หรือความเครียดที่เกิดขึ้นเมื่อต้องถูกจำกัดบริเวณจากการกักตัวเป็นเวลานาน 

แนวทางการรักษาภาวะ Long COVID นั้นจะเน้นที่การรักษาตามอาการเป็นหลัก ผู้ป่วยสามารถรอให้หายเองได้หากรู้สึกถึงอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง เช่น อยากมีอาการไอ เหนื่อย หอบมมากขึ้น หรือมีอาการทางระบบประสาทที่มีมากกว่าปกติ เช่น รู้สึกสับสน ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางการรักษาต่อไป การออกกำลังกายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกลับมาทำงานของร่างกายได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ นอกจากนี้ป่วยต้องอาศัยกำลังใจทั้งจากตนเองและคนรอบข้าง อย่างเช่นการพูดคุย สื่อสาร ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์เพื่อบรรเทาความเครียด ก็สามารถช่วยให้สุขภาพจิตที่ย่ำแย่อันเนื่องมาจากภาวะ Long COVID ดีขึ้นได้ 

“อีกหนึ่งข้อสงสัยที่ว่าการรับวัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Long COVID ได้หรือไม่นั้น สามารถกล่าวได้ว่าวัคซีนจะเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยเมื่อติดเชื้อ จะไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง กล่าวคือ เมื่อไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง ก็เท่ากับว่ามีโอกาสที่จะเกิดภาวะ Long COVID ได้น้อยลงแน่นอน”

มีข้อสงสัยว่าในผู้ป่วยที่ภาวะปอดอักเสบรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 หลังจากดีขึ้นแล้ว กลับมามีปัญหาหอบเหนื่อย และมีภาวะออกซิเจนต่ำนั้น คือภาวะ Long COVID หรือไม่ อาการดังที่กล่าวเกิดจากความเสียหายของปอดนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับภาวะ Long COVID โดยตรง หากแต่มีผลมาจากการทำลายเนื้อเยื่อโดยภูมิคุ้มกันทำให้ปอดมีความเสื่อม และยังไม่ฟื้นตัวพร้อมทำงานอย่างเต็มที่ เกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่ทำให้เหนื่อยหอบ หรือเกิดจากการติดเชื้อ อื่นซ้ำเติมเช่น เชื้อราหรือ แบคทีเรีย อาการของ Long COVID ที่แท้จริงคืออาการที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว รู้สึกมีอาการไข้ หรือไอมากกว่าปกติ แต่ไม่ได้ส่งผลให้เนื้อปอดอักเสบเพิ่มขึ้น

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img