Monday, 23 December 2024 | 9 : 59 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Monday, 23 December 2024 | 9 : 59 am
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DISDA) ร่วมกับหัวเว่ย จัดงาน “ทิศทางอนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย” ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาทักษะดิจิทัลในประเทศไทย

[กรุงเทพฯ 24 กันยายน 2564] — สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล ภายใต้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดงาน “ทิศทางอนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย (Future Direction of Thailand Digital Workforce)” ภายใต้หลักสูตรการฝึกอบรม “พื้นฐานการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile App Development Foundation Course)” ครั้งที่สอง พร้อมงาน Huawei Developer Day ประกาศเร่งผลิตแรงงานดิจิทัลผ่านการเสริมสร้างทักษะใหม่ ๆ โดยหลักสูตรดังกล่าวจะจัดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยตนเองของหัวเว่ย ตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรได้ 800 – 1,000 คนหลังจบโครงการฯ เพื่อช่วยประเทศไทยปูรากฐานด้านไอซีทีให้แข็งแกร่งผ่านการฝึกอบรมและบ่มเพาะบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

การผนึกกำลังระหว่างภาครัฐและเอกชนในครั้งนี้เป็นไปตามการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ระยะเวลา 3 ปี ระหว่างกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สังกัดกระทรวงแรงงาน กับ หัวเว่ย ประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2563 โดยทั้งสองฝ่ายให้คำมั่นที่จะร่วมกันสร้างโอกาสในการเรียนรู้ทางดิจิทัล ตลอดจนออกแบบและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนด้านดิจิทัลที่สะดวกสบายและเข้าถึงง่ายสำหรับคนจำนวนมากขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการผลิตแรงงานดิจิทัล 3,000 คน และเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานอีก 120 คน ตลอดระยะเวลาความร่วมมือ 

ภายหลังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากจากการจัดหลักสูตรครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและหัวเว่ย ประกาศเดินหน้าทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่สอง ที่เน้นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาแอปพลิเคชันที่จะสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ลื่นไหลที่สุดแก่ผู้ใช้ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและนักพัฒนาแอปมากความสามารถจะมาร่วมเป็นวิทยากรในงานดังกล่าวที่จัดขึ้นผ่านแพลตฟอร์มอีเลิร์นนิงระดับเวิลด์คลาสของหัวเว่ยอย่าง “HiCLC” การฝึกอบรมแบบเร่งรัดจะใช้เวลาทั้งสิ้น 48 ชั่วโมง โดยจะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับวิธีพัฒนาและเผยแพร่แอปที่ยอดเยี่ยมในอุปกรณ์ Android และ Huawei App Gallery

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและหัวเว่ย ได้ร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสมกับนิสิตนักศึกษาด้านไอที คนที่ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนบุคคลทั่วไปที่สนใจการพัฒนาแอปพลิเคชัน

ทั้งนี้ ผู้ที่ผ่านหลักสูตรดังกล่าวจะได้รับวุฒิบัตรการฝึกอบรมของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงประกาศนียบัตรการจบหลักสูตรของหัวเว่ย เพื่อเป็นหลักฐานในการเรียนรู้และเป็นการรับรองทักษะของผู้เข้าร่วม โดยทุก ๆ คนที่จบหลักสูตรจะกลายเป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองสำคัญที่จะร่วมขับเคลื่อนอีโคซิสเต็มด้านแรงงานไอซีทีของไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป

หัวเว่ยได้เปิดตัวหลักสูตร Mobile App Development Foundation ระหว่างงาน Huawei Developer Day (HDD) 2564 ที่จัดขึ้นในหัวข้อ “อนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย (Future of Thailand Digital Workforce)” โดยงาน HDD ในปีนี้จะมุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันและระบบนิเวศของแอป โดย Huawei Developer Day (HDD) เป็นเวทีระดับโลกที่หัวเว่ยใช้นำเสนอนวัตกรรมและบริการล่าสุดแก่ นักพัฒนา พร้อมบอกเล่าเทรนด์ล่าสุดในโลกไอที  ซึ่งงานในปีนี้ หัวเว่ยได้ประกาศถึงอัปเดตสำคัญของระบบปฏิบัติการ HarmonyOS 2.0, Huawei Mobile Services (HMS) 6.0 รวมถึงข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับระบบนิเวศของแอปและเครื่องมือที่มีประโยชน์มากมายที่หัวเว่ยสร้างขึ้นเพื่อช่วยเหลือชุมชนนักพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่  และด้วยนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันกับพาร์ทเนอร์อย่างต่อเนื่อง HMS ได้กลายเป็นระบบนิเวศแอปพลิเคชันมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับสามของโลกด้วยเครือข่ายนักพัฒนากว่า 2.3 ล้านคน HMS ยังได้ปลดล็อกความสามารถด้านการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของหัวเว่ย และช่วยให้นักพัฒนาทั่วโลกได้คิดค้นนวัตกรรมที่ก้าวล้ำอีกด้วย

นายธวัช เบญจาทิกุล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของแรงงานทักษะที่มีทักษะแห่งอนาคต (future skills) ที่จะมารองรับอุตสาหกรรมใหม่ ๆ พร้อมกล่าวว่า “กระทรวงแรงงานมีพันธกิจในการยกระดับทักษะของแรงงานดิจิทัลให้เพียงพอและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน หลักสูตรด้านเทคโนโลยีดิจิทิลในหัวข้อการพัฒนาแอปพลิเคชันนี้จะช่วยสร้างโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ ในยุคนิวนอร์มอลให้แก่ผู้เข้าอบรม ขอขอบคุณหัวเว่ย ประเทศไทย สำหรับการสนับสนุนอย่างเต็มที่เสมอมา ร่วมนำนวัตกรรมและความเชี่ยวชาญมาช่วยเตรียมความพร้อมให้แรงงานไทย ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ เราจะช่วยกันพัฒนาให้แรงงานไทยมีทักษะขั้นสูงที่จำเป็นต่อขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนของประเทศในยุคดิจิทัล”

นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย ประเทศไทย กล่าวว่า “เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมเปิดงาน “ทิศทางอนาคตของแรงงานดิจิทัลในประเทศไทย (Future Direction of Thailand Digital Workforce)” เพื่อเปิดตัวหลักสูตรการฝึกอบรม “พื้นฐานการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile App Development Foundation Course)” ครั้งที่สอง โดยครั้งนี้เราตั้งเป้าฝึกอบรมบุคลากรจำนวน 800 ถึง 1,000 คน เมื่อสิ้นสุดการอบรม ผู้เข้าร่วมได้จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายนักพัฒนาแอปของหัวเว่ยซึ่งมีสมาชิกกว่า 2.3 ล้านคนทั่วโลกได้อีกด้วย” นายอาเบลกล่าวเสริมว่า “ผมขอขอบคุณกระทรวงแรงงานสำหรับความร่วมมืออันยาวนาน ในฐานะบริษัทไอซีทีชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2542 หัวเว่ยเชื่อมั่นว่าอีโคซิสเต็มบุคลากรดิจิทัลเป็นรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน หัวเว่ยพร้อมสร้างระบบนิเวศอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกันอย่างเต็มรูปแบบสำหรับทุกคน ภายใต้พันธกิจ ‘Grow in Thailand, Contribute to Thailand’ ของเรา”

สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัลและหัวเว่ยพร้อมเดินหน้าจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อีกมากมายในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือระยะเวลา 3 ปี เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับบุคลากรด้านดิจิทัลและลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีศักยภาพ ด้วยทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่มีร่วมกัน สำหรับนักศึกษาและบุคลากรที่สนใจเข้าร่วม สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการลงทะเบียนได้ที่ 02-643 6038 หรือคลิก   หรือไปที่เพจเฟซบุ๊กของสถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img