Monday, 23 December 2024 | 8 : 22 am
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Monday, 23 December 2024 | 8 : 22 am
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

ฟินนิกซ์ เผย 5 ฟีเจอร์สุดฟิน รับไลฟ์สไตล์ คนทำมาหากินทุกระดับ พร้อมชี้พฤติกรรมของคนวัยทำงานกับบริการเงินกู้ที่ตอบโจทย์มากที่สุดในปัจจุบัน

การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนเริ่มตระหนักถึงภัยร้ายจากเงินกู้นอกระบบกันมากขึ้น ด้วยคดีที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ และการบอกเล่าประสบการณ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการคุกคามที่กลุ่มมาเฟียเจ้าหนี้เหล่านี้กระทำต่อลูกหนี้อย่างโหดร้ายทารุณ และแน่นอนว่าผิดกฎหมายแทบทั้งสิ้น

แต่ถึงอย่างนั้น ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กระแสเงินกู้นอกระบบผ่านข้อความ SMS กลับมาแพร่กระจายในกลุ่มผู้บริโภคอีกครั้ง สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองติดต่อกันมานานกว่าหนึ่งปี ทำให้คนทำงานแทบทุกระดับต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคนหาเช้ากินค่ำที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อของธนาคารได้เพราะติดขัดในเงื่อนไขทางธุรกรรม นอกจากนี้ วงการธนาคารยังเป็นที่รู้กันว่า กลุ่มผู้กู้ที่มีรายได้น้อยเป็นกลุ่มคนที่ธนาคารใหญ่ ๆ มักไม่เข้าไปทำธุรกิจสินเชื่อ เพราะการดำเนินงานต้องใช้ต้นทุนในการบริหารสูงและไม่คุ้มกับความเสี่ยง เพราะธนาคารไม่ทราบแหล่งรายได้ทั้งหมดของลูกค้า จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของปัญหาการเข้าไม่ถึงบริการเงินกู้ที่ถูกกฎหมายของคนหาเช้ากินค่ำ จนต้องหันไปพึ่งบริการเงินกู้นอกระบบและเสียดอกเบี้ยอย่างไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนนอกระบบจำนวนมหาศาลและส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอย่างมาก

เมื่อพิจารณาจากข้อมูลสถิติจะพบว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 ในปี 2563 หนี้ครัวเรือนของคนไทยพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาถึงไตรมาสแรกปี 2564 พุ่งสูงถึง 90% ต่อจีดีพี ซึ่งทำให้คนไทยขาดสภาพคล่องทางด้านการเงินอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อยหรือไม่มีเอกสารยืนยันบัญชีการเงิน ข้อมูลยังระบุว่ามีคนทำมาหากินราว 36 ล้านคนที่ประสบปัญหาดังกล่าว ซึ่งผู้คนเหล่านี้ถือเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ทำให้ปัญหาหนี้นอกระบบถือเป็นคลื่นยักษ์กำลังถาโถมและสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสภาพคล่องทางการเงินของผู้คนในระยะยาว

มันนิกซ์ (MONIX) บริษัทฟินเทคสตาร์ทอัปร่วมทุนระหว่างประเทศของธนาคารไทยพาณิชย์ และ Abakus Group ฟินเทคยูนิคอร์นจากประเทศจีน ตระหนักถึงปัญหานี้และได้ทำการวิจัยตลาดเพื่อค้นหาลักษณะของบริการเงินกู้ในฝันที่กลุ่มคนหาเช้ากินค่ำต้องการมากที่สุด เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาโซลูชั่นทางการเงินสำหรับการแก้ไขปัญหาปากท้องของคนไทยได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ และได้ค้นพบลักษณะสำคัญของบริการเงินกู้ในฝันคนไทย โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดซึ่งทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมาก

5 ลักษณะของบริการเงินกู้ที่คนทำงานต้องการมากที่สุด

  • ไม่ต้องใช้สลิปหรือเอกสารยืนยันเงินเดือน – เพราะคนค้าขายส่วนใหญ่ รวมถึงกลุ่มผู้ใช้แรงงานและคนรับจ้างฟรีแลนซ์ ต่างทำงานแบบอิสระ  จึงไม่มีเอกสารเหล่านี้
  • ปล่อยเงินกู้เร็ว – ผู้กู้ส่วนใหญ่ต้องการใช้เงินด่วนและไม่สามารถหาแหล่งเงินกู้ถูกกฎหมายได้ทันเวลา จึงต้องยอมเป็นหนี้นอกระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงอย่างไม่เป็นธรรม
  • รูปแบบการจ่ายคืนที่ยืดหยุ่น – ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง ทำให้การค้าขายหรือการหารายได้ทุกวันนี้ไม่มีความแน่นอน จึงมักเกิดปัญหาในการชดใช้หนี้ล่าช้าและตามมาด้วยการข่มขู่คุกคามรูปแบบต่าง ๆ 
  • ความสะดวกสบายในการยื่นกู้ – เพราะความเดือนร้อนไม่เลือกสถานที่และเวลา การยื่นขอสินเชื่อจึงควรดำเนินการได้ 24 ชั่วโมงจากทุกที่ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่ทุกคนไม่สะดวกในการไปธนาคารด้วยตนเอง
  • สิทธิประโยชน์อื่น ๆ – เนื่องจากลูกหนี้ต้องเสียดอกเบี้ย จึงมีความคาดหวังเรื่องสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น การเพิ่มวงเงิน การให้รางวัลแก่ลูกหนี้ที่จ่ายหนี้ตรงเวลาในรูปแบบต่าง ๆ ตามสมควร 

และแน่นอนว่า บริการเงินกู้นั้นต้องดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและอุ่นใจให้กับบรรดาลูกหนี้ว่าจะมีการติดตามทวงหนี้อย่างเป็นระบบและปราศจากการคุกคามใด ๆ

ในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา บริษัทมันนิกซ์ได้เปิดตัวเปิดตัว “ฟินนิกซ์ (FINNIX)” แอปพลิเคชันบริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ชูสโลแกน “แอปเงินกู้คู่คนทำมาหากิน” โดยเกิดจากการทำโจทย์ความต้องการทั้ง 5 มาพัฒนาเป็น 5 ฟีเจอร์หลักที่สามารถขจัดข้อจำกัดของสินเชื่อออนไลน์ได้ทั้งหมด ได้แก่ 

  • ฟินสะดวก –  ไม่ต้องใช้สลิป ไม่ต้องค้ำประกัน
  • ฟินไว – อนุมัติปั๊บรับเงินไวสุดใน 5 นาที
  • ฟินสบาย – เลือกจ่ายได้ 3 สไตล์ตามใจ (จ่ายขั้นต่ำ/จ่ายโปธ/ผ่อนจ่าย)
  • ฟินเสมอ – สมัครออนไลน์ไม่ต้องไปสาขา สมัครได้ทุกที่ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง
  • ฟินตลอด – รักษาเครดิตดีมีรางวัลให้ (เกมล่าดาว จ่ายตรงติดต่อกัน 3 งวดได้รับวงเงินเพิ่ม) 

จุดเด่นของสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์คือการดำเนินงานด้วยระบบดิจิทัล 100% โดยไม่ต้องใช้พนักงาน จึงไม่ต้องมีสำนักงาน ไม่ต้องมีสาขา มอบบริการด้วยการผสานเทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (ML) ในการประเมินความเสี่ยงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ครอบคลุม และแม่นยำ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยบนมาตรฐานระดับโลก จึงตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การดำเนินงานของแอปพลิเคชัน “ฟินนิกซ์ (FINNIX)” ยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย จึงถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบใบอนุญาตของบริษัทได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย 

ถึงแม้จะมีแอปเงินกู้ที่ถูกกฎหมาย ก็ยังมีกลุ่มมิฉาชีพพยายามทำทั้งแอปพลิเคชันและแฟนเพจปลอมเพื่อหลอกลวงประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทฯ จึงต้องการเตือนให้ผู้บริโภคตรวจสอบให้ดีก่อนสมัครใช้งาน โดยเพจฟินนิกซ์ของจริงต้องมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้ารับรองจากเฟซบุ๊ก และการติดตั้งแอป “ฟินนิกซ์ (FINNIX)” ต้องดาวน์โหลดผ่าน App Store (สำหรับ iOS) และ Play Store (สำหรับ Android) เท่านั้น ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดการสมัครและเงื่อนไขการใช้งานที่เว็บไซต์ www.finnix.co และเฟซบุ๊ก www.fb.me/finnixapp

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img