Sunday, 22 December 2024 | 6 : 23 pm
spot_img
spot_img

4Quarter.co

Sunday, 22 December 2024 | 6 : 23 pm
spot_img
คปภ. เสริมมาตรฐาน ลดข้อพิพาท! จัดทำคู่มือจ่ายสินไหมชัดเจน เพิ่มความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมประกันภัย   •   ธ.ก.ส. ชวนน้องๆ ออมเงิน รับกระปุก “คุณมั่งมี” สุดน่ารัก ผ่านแคมเปญเงินฝากวันเด็กแห่งชาติ “Kids D 2568”   •   เคพีไอ เปิดตัวสโลแกนใหม่ “Your Trust, Our Care” สื่อสารแบรนด์ผ่านคาแรคเตอร์ “Baby CARE Boy”   •   ถอดรหัส เอสซีจี ซีเมนต์แอนด์กรีนโซลูชันส์ เติบโตสวนกระแสตลาดก่อสร้างพัฒนา “ปูนเอสซีจี คาร์บอนต่ำ” รายแรกของไทยบุกตลาดโลก   •   “แอล ดับเบิลยู เอสฯ” ระบุ 3 เมกะเทรนด์ในการพัฒนาอสังหาฯ ปี 2568   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย คาดการณ์ ปี ’68 ธุรกิจประกันวินาศภัยฟื้น เติบโต 1.5%-2.5% รับแรงหนุนเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยวฟื้นตัว   •   ธ.ก.ส. จับรายชื่อผู้โชคดีในแคมเปญ “แจกโชคใหญ่ใช้ BAAC Connect” ครั้งที่ 3รับของรางวัลมูลค่ารวม 3 แสนบาท   •   แรบบิท ประกันชีวิต ขนทัพผลิตภัณฑ์ร่วมงานมหกรรมการเงินกรุงเทพส่งท้ายปี ครั้งที่ 7   •   เอไอเอ ประเทศไทย ร่วมกับ เอ ไลฟ์ ส่งความอุ่นใจส่งท้ายปี ด้วยแคมเปญ “ฟรี! ประกันอุบัติเหตุ อยู่ที่ไหน ก็อุ่นใจกับเอไอเอ”มอบกรมธรรม์ประกันภัยกลุ่ม วงเงินคุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อกรมธรรม์   •   กรุงเทพประกันชีวิต จัดโครงการ “ใส่ใจแบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง” รวมพลังทำความดีส่งท้ายปี 2567   •   เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง เคาน์เตอร์เซอร์วิส ส่ง “กรมธรรม์ประกันภัยปีใหม่สุขกายสุขใจ (ไมโครอินชัวรันส์)”เติมเต็มความสุขและความอุ่นใจรับเทศกาลปีใหม่   •   ไทยกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ โชว์ต้นคริสต์มาสรักษ์โลก เติมเต็มความสุขปีใหม่ 2568   •   ทิพยประกันภัย จับมือ NT ลงนาม MOU พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัล   •   วิริยะประกันภัย ร่วมสนับสนุน คปภ. สมทบทุนมูลนิธิรามาธิบดีฯ โครงการจัดหารถไฟฟ้าบริการประชาชน รพ.รามาฯ   •   กรุงเทพประกันภัย มอบรางวัลแห่งความภาคภูมิใจในการทำงาน
spot_img

เอสเอพี แนะการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ กุญแจสำคัญช่วยขับเคลื่อนองค์กรในประเทศไทยสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน (ESG)

  • เอสเอพี เผยองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียยังไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน งานวิจัยใหม่ชี้ว่าการมุ่งเน้นที่การปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวอาจเป็นอุปสรรคต่อผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน
  • บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) บริษัทเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกได้นำข้อมูลองค์กรมาใช้เพื่อขับเคลื่อนให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2573

กรุงเทพฯ 6 ธันวาคม 2565 – ผลการวิจัยล่าสุดโดย Oxford Economics และเอสเอพี (NYSE: SAP) เผยว่าองค์กรธุรกิจทั่วเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ยังต้องดำเนินการในอีกหลายแง่มุมเพื่อเพิ่มประโยชน์ที่จะได้รับจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน ในขณะที่ 66 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจไม่คิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุความยั่งยืนและทำกำไรให้องค์กรได้ในเวลาเดียวกัน แต่มีเพียง 8 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บอกว่าพวกเขาได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนในปัจจุบัน งานวิจัยเน้นย้ำว่าการใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ ในประเทศไทยมีผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนที่ดีขึ้นและบรรลุเป้าหมาย​ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และ ธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG

นายเอทูล ทูลิ กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “ความยั่งยืนเป็นความท้าทายทางธุรกิจของคนรุ่นเราอย่างไม่ต้องสงสัย ธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันมีวิสัยทัศน์ที่ดีในด้านความยั่งยืน และได้เริ่มนำแนวปฏิบัติด้าน ESG มาใช้ในกลยุทธ์ของพวกเขา แต่จากงานวิจัยของเราพบว่า มีเพียงไม่กี่องค์กรเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์จากกลยุทธ์เหล่านี้”

การปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance) เป็นทั้งปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนความยั่งยืนและเป็นความท้าทายสำหรับองค์กรในเวลาเดียวกัน จากผลสำรวจบ่งชี้ว่าประโยชน์ที่องค์กรได้รับเป็นอันดับแรกจากกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน คือ การที่องค์กรสามารถลดความเสี่ยงที่จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจจากการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (46 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมากกว่าการปล่อยคาร์บอนที่ลดลงและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยการให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบมากเกินไปถือเป็นความท้าทายสูงสุดอันดับสองต่อความสำเร็จด้านความยั่งยืนของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาค APJ รองลงมา คือ การขาดการคิดค้นกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่

“เอสเอพี ในฐานะผู้นำด้านการจัดการทรัพยากรขององค์กร หรือ ERP มีประสบการณ์กว่า 50 ปี ในการช่วยธุรกิจต่างๆ ใน 25 อุตสาหกรรมในการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด บริษัทของเราต้องการเห็นโลกที่ปราศจากการปล่อยมลพิษการก่อให้เกิดของเสียและความไม่เท่าเทียมกันเป็นศูนย์ (zero emissions, zero waste, and zero inequality) ซึ่งเราอยู่ในจุดที่สามารถช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” นายเอทูล กล่าวเสริม

การลงทุนในข้อมูลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืน

สำหรับองค์กรธุรกิจในภูมิภาค APJ ความแม่นยำของข้อมูล (Accurate Data) ได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน รองจากเรื่องการจัดหาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Sourcing) อย่างไรก็ตาม มีเพียงสี่ในสิบ (40เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าพวกเขาลงทุนในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อวัดความยั่งยืนในธุรกิจของตน และในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน (41 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าพวกเขากำลังฝึกอบรมพนักงานเกี่ยวกับวิธีการรวบรวมข้อมูลด้านความยั่งยืน

นาวสาวชฎิลพร นาคทิพย์ อำนวยการฝ่ายขาย เอสเอพี อินโดไชน่า กล่าวว่า “กุญแจสำคัญในการปรับปรุงผลลัพธ์ด้านความยั่งยืนและช่วยให้องค์กรต่างๆ บรรลุเป้าหมาย ESG คือ การใช้ข้อมูลองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อประกอบการตัดสินใจที่มีข้อมูลมากขึ้น”

เอสเอพี แนะนำกลยุทธ์การใช้ข้อมูล 3 ประการ เพื่อช่วยให้องค์กรในประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย ESG:

  1. ขั้นตอนแรก คือ การทำรายงานตามกฎระเบียบเพื่อสร้างความโปร่งใส จากข้อมูลของ BCG พบว่า องค์กรถึง
    85 เปอร์เซ็นต์ มีความกังวลเกี่ยวกับการลดการปล่อยมลพิษ แต่มีเพียง 9 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่สามารถวัดการปล่อยก๊าซได้อย่างครอบคลุม องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการติดตามผลกระทบของสภาพอากาศและข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอน
  2. ขั้นตอนที่สองคือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลด้านความยั่งยืนในเชิงปฏิบัติทั้งในกระบวนการทางธุรกิจและการตัดสินใจ มาตรวัดความยั่งยืน เช่น การปล่อยคาร์บอน การใช้วัสดุ ของเสีย และข้อมูลความหลากหลาย สามารถผนวกเข้ากับกระบวนการธุรกิจหลัก เช่น ซัพพลายเชน, ERP, การเงิน และกระบวนการจัดซื้อเพื่อทำให้เกิดความยั่งยืนทั่วทั้งธุรกิจ สิ่งนี้จะช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในบริษัท โดยผลิตภัณฑ์จะได้รับ
    การออกแบบและผลิตเพื่อให้หมุนเวียนได้นานที่สุด
  3. ขั้นตอนที่สามคือ การขับเคลื่อนความยั่งยืนในเครือข่ายธุรกิจ ก้าวข้ามขอบเขตของธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งโดยการวัดผลและการจัดการความยั่งยืนทั่วทั้งห่วงโซ่คุณค่าและเครือข่ายธุรกิจในอุตสาหกรรมนั้นๆ 

เอสเอพี มีเทคโนโลยีที่สามารถรวบรวมข้อมูลที่เชื่อถือได้และเป็นไปตามกฎระเบียบ เพื่อช่วยองค์กรวัดปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ตลอดจนมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยส่งเสริมให้องค์กรมีความคิดริเริ่มที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย SAP Responsible Design and Production ซึ่งช่วยให้นักออกแบบผลิตภัณฑ์สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนได้ตั้งแต่เริ่มแรก SAP Product Footprint Management ช่วยติดตามความยั่งยืนตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และ SAP Sustainability Control Tower ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมของโครงการด้านความยั่งยืนขององค์กร

นำเป้าหมายความยั่งยืนมาปฎิบัติให้เป็นความจริงด้วยเทคโนโลยีของ เอสเอพี

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยดำเนินธุรกิจภายใต้กลุ่มธุรกิจหลัก ได้แก่ Combined PET, Integrated Oxides and Derivatives และ Fibers   ด้วยสำนักงาน 147 แห่งใน 35 ประเทศ และพนักงานกว่า 26,000 คน บริษัทฯ วางแผนที่จะขยายการดำเนินงานทั่วโลกโดยคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในฐานะผู้ผลิต PET รีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดของโลกสำหรับขวดเครื่องดื่ม บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ต้องการสร้างความยั่งยืนในการดำเนินงานทั้งหมดให้เป็นไปตามแก่นสำคัญขององค์กร (Purpose) ที่กำหนดขึ้นใหม่ นั่นคือ “Reimagining Chemistry Together to Create a Better World” บริษัทมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายระยะสั้นและระยะกลาง โดยสอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs ของสหประชาชาติ มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ และสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนทั่วโลก อินโดรามาเวนเจอร์ส ร่วมมือกับ เอสเอพี ตั้ งแต่ปี 2563 ผ่าน ‘Project Olympus’ เพื่อติดตั้งระบบ ERP ของเอสเอพี แบบบูรณาการ

นายแอนโทนี วาตานาเบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ภายใต้วิสัยทัศน์ปี 2573 อินโดรามา เวนเจอร์ส วางแผนที่จะลงทุนในการลดการใช้ถ่านหิน ลดระดับและดักจับคาร์บอนที่เกิดจากการผลิตของบริษัทฯ และเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยในประเทศไทยเราวางแผนที่จะเลิกใช้ถ่านหินในโรงงานสามแห่งให้เสร็จสิ้นภายในปี 2570 และขยายการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่โรงงานของเราภายในสิ้นปี 2566 สำหรับการวัดผลความคืบหน้าของการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ จะต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการจัดการข้อมูลด้านความยั่งยืนและการรายงานของเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงให้ข้อมูลในองค์กรมีความแม่นยำและมีคุณภาพมากขึ้น ความร่วมมือกับ เอสเอพี เพื่อพัฒนาระบบ ERP จะช่วยให้เราสามารถปฏิบัติตามมาตรฐานสูงสุดระดับโลกในการรายงานความยั่งยืน ตลอดจนสามารถใช้ข้อมูลในการตัดสินใจเชิงธุรกิจซึ่งจะช่วยให้เราสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรได้”

เยี่ยมชมศูนย์ข่าวเอสเอพี ติดตามเอสเอพี บน Twitter ได้ที่ @SAPNews

spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img
spot_img