Friday, 19 April 2024 | 11 : 41 am

4Quarter.co

Friday, 19 April 2024 | 11 : 41 am
ทิพยประกันภัย ร่วมกับ OR เพิ่มความสะดวก และรวดเร็ว ในการซื้อประกันภัย ผ่าน QR Code ใน พีทีที สเตชั่น   •   คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ เร่งบริหารงานเชิงรุก เพื่อให้การเคหะแห่งชาติขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน   •   ธ.ก.ส. จัดกิจกรรมสงกรานต์สราญใจ ประจำปี 2567   •   การเคหะแห่งชาติ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสารแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งบางละมุง   •   คปภ. ผนึกพลัง 4 สมาคม จัดเรตติ้งพฤติกรรม “ตัวแทน-นายหน้าประกันภัย” พร้อมใจเปิดโครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย   •   FWD ประกันชีวิต นำทีมผู้บริหารตัวแทนทุกระดับ ร่วมงาน FWD Elite Summit 2024 เพื่อเปิดประสบการณ์สู่ความก้าวหน้าและต่อยอดความสำเร็จ ณ กรุงไทเป ไต้หวัน   •   ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน – ราชวัตร เผยโฉมตึกจริงครั้งแรก! เดินหน้าลุยโอนฯ คอนโดฯ ใหม่พร้อมอยู่ มอบข้อเสนอสุดพิเศษ! ภายในงาน OPEN HOUSE   •   เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบความสุขและรอยยิ้ม พาคณะผู้สูงอายุจากเขตห้วยขวาง และโรงเรียนผู้สูงอายุเขตดินแดง เข้าร่วมชมงาน “101 ปี พระราชวังพญาไท” THE GLORY OF SIAM   •   กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต สืบสานประเพณีไทย “มนต์เสน่ห์ สงกรานต์สาดสุข” เสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ไทย   •   มูลนิธิเอสซีจี ชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ มาปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์งานศิลปะ ชิงรางวัลยุวศิลปินไทย 2567   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 18295-1: 2017 ระบบการจัดการศูนย์ติดต่อลูกค้า และเกียรติบัตรดีเด่นศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาผู้บริโภค   •   Roddonjai จัดแคมเปญสุดคุ้ม ซื้อ “รถบ้านดูแลดี” รับดอกเบี้ยคงที่เริ่มต้น 2.59% ต่อปี การันตีเจ้าของขายเอง มั่นใจรถและผู้ขายตรงปก   •   บัตรเดบิต ttb all free จัดแคมเปญใหญ่ โคตร CODE ออนไลน์ จับมือพันธมิตรมอบโค้ดส่วนลด มากกว่า 2,000 บาทให้ใช้ทุกเดือน ตลอดปี   •   เงินติดล้อ เปิดบ้านต้อนรับ คณะผู้บริหารและทีมงานจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแนะนำแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบชาวเงินติดล้อ   •   แอกซ่า ประเทศไทย แนะคนไทยเฝ้าระวังโรคอันตรายที่มีพาหะจากยุง   •   เคทีซี เสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว”   •   ศุภาลัย ส่งบ้านเดี่ยว-แฝด เจาะตลาดเรียลดีมานด์ บนทำเล “ประชาอุทิศ 90” เชื่อมต่อกลางเมือง-โซนพระราม 2 สุดสะดวก ในราคาจับต้องได้ เริ่ม 3.89 ล้านบาท   •   “CPAC Green Solution” ชวนตะลุยอาณาจักร 3D Printing (คอนกรีต 3 มิติ) สุดว๊าว! ในงาน “สถาปนิก’67: Architect Expo 2024” ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์อิมแพ็ค เมืองทองธานี เริ่ม 30 เม.ย.- 5 พ.ค. นี้   •   กรุงเทพประกันภัย ใจป้ำพาพนักงานกว่า 1,600 คน บินลัดฟ้าทัศนศึกษาประเทศญี่ปุ่น เพื่อฉลองความสำเร็จตามเป้าหมาย   •   BAM ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดทำโครงการ HOME & HOPE ต่อเนื่องปีที่ 4 มอบเงินสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส จังหวัดลำพูน   •   เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ คว้า 3 รางวัล การันตีงานบริหารบุคลากรที่มุ่งเน้นความเท่าเทียม   •   OCEAN LIFE ไทยสมุทร จัด Songkran Festival 2024 สืบสานประเพณีไทย ใส่ไทยให้เท่   •   เมืองไทยประกันชีวิต มอบหมวกนิรภัย “โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2567”   •   “อารีเกเตอร์” จัดกิจกรรมสัญจร พบปะสมาชิกนายหน้าประกัน ในพื้นที่ จ.ภูเก็ต เพื่อสร้างการเติบโตไปพร้อมกัน   •   เลขาธิการ คปภ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมจุดบริการประชาชน พร้อมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 ณ จังหวัดนครปฐม   •   ธนชาตประกันภัย สนับสนุนกิจกรรมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนต่อเนื่อง ส่งมอบกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเทศกาลสงกรานต์ 2567 ทั่วประเทศ   •   จังหวัดสงขลา ร่วมกับ ทิพยประกันภัย และภาคีเครือข่าย เปิดตัวโครงการ “Safe Trip Safe Drive Cross Border To Thailand With Insurance” ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย ปลอดภัยข้ามแดน   •   “ชัยภูมิ” จัดงาน “หาบน้ำเขื่อนฮดพระธาตุ” หนึ่งในธีมงาน ฮ้อนนี้ชัยภูมิม่วนกุ๊บ เปิดประตูศรัทธาเส้นทางนำเที่ยวสงกรานต์ชัยภูมิ ณ วัดพระธาตุชัยภูมิ   •   เริ่มแล้ว! สนุกแบบฉ่ำๆ กับ “น้องกล้วยกรุงศรี” ในงาน Samyan Water Street 2024   •   นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรมหลักสูตรการแพทย์เพื่อปวงประชาสำหรับผู้บริหารระดับสูง รุ่นที่ 1 (พปส.รุ่น 1)

Zero-Trust แนวคิดในการปกป้องไฮบริดคลาวด์ ที่ไม่ไว้ใจใครทั้งสิ้น

การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ที่ปกติก็ดูจะเป็นเรื่องยากอยู่แล้ว แต่เมื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยบนไฮบริดคลาวด์ ระดับความยากก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นและท้าทายขึ้นไปอีก เช่นเรื่องของความสามารถในการมองเห็นระหว่างแพลตฟอร์มคลาวด์ด้วยกันเอง และที่ยากยิ่งขึ้นคือการที่ต้องตามติดเรื่องของการปฏิบัติตามข้อกำหนดสำหรับภาคอุตสาหกรรมรวมถึงกฏระเบียบข้อบังคับจากภาครัฐฯ
ทีนี้ แนวคิดของการปกป้องแบบไม่เชื่อใจใครเลยอย่าง zero-trust ช่วยตอบโจทย์การรักษาความปลอดภัยสำหรับไฮบริดคลาวด์ และความท้าทายเฉพาะด้านได้หรือไม่?

บิลล์ มาลิก รองประธาน ฝ่ายกลยุทธด้านโครงสร้างพื้นฐาน ของเทรนด์ไมโคร ได้พูดถึงปัญหาดังกล่าวในงาน RSA 2021 ซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาด้านความปลอดภัยข้อมูลครั้งยิ่งใหญ่ที่เพิ่งจัดไประหว่างวันที่ 19-21 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบการจัดงานดังกล่าวเป็นปีที่ 30 ในธีม resilience โดยมาลิก ได้ชี้ให้เห็นในประเด็นที่ว่า ไม่ได้อยู่ที่คุณใช้แพลตฟอร์มคลาวด์อะไร เพราะอย่างไรแล้วเรื่องของการรักษาความปลอดภัยนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทุกองค์กรต้องดูแลและรับผิดชอบ

“คลาวด์ ช่วยลดภาระและความรับผิดชอบบางอย่างได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด” มาลิก กล่าวต่อ เรื่องนี้นับเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากยังมีความเข้าใจผิดกันอยู่ว่าผู้ให้บริการคลาวด์จะต้องดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มที่ให้บริการ

ทำไมต้องเป็น Zero Trust
“หลักการที่อยู่เบื้องหลังแนวคิด zero-trust คือ ไม่มีเส้นแบ่งอาณาเขตในการป้องกัน หรือไม่มี perimeter นั่นเอง”

มาลิกได้อธิบายเสริมเกี่ยวกับหลักการนี้ว่า “ไม่มีการกำหนดว่าขอบเขตไหนที่สามารถเชื่อใจได้ ไม่มีการตั้งสมมุติฐานตามเหตุและผลว่าคนที่อยู่ภายในขอบเขตนั้นๆ จะสามารถเชื่อใจได้โดยที่ไม่ต้องมีการยืนยันตัวตน” เพราะคลาวด์ไม่มีเส้นแบ่งอาณาเขต ซึ่งเป็นแนวคิดในอุดมคติสำหรับการรักษาความปลอดภัยแบบ zero-trust ที่จะไม่เชื่อใจใครเลย แต่การนำแนวคิดเรื่องของ zero-trust มาใช้กับไฮบริดคลาวด์นั้น ทีมงานที่ดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัยจะต้องคิดทบทวนแนวทางการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบเดิมที่เคยใช้ เรียกว่าคิดใหม่ ทำใหม่ ซึ่งมาลิกได้อภิปรายถึงการรักษาความปลอดภัยรูปแบบเดิมเหล่านี้ รวมถึงวิธีการปรับแนวทางเหล่านี้ไปสู่รูปแบบการรักษาความปลอดภัยแบบ zero-trust ได้บนเครือข่ายส่วนตัว ทุกอย่างเชื่อใจได้ แต่ทันทีที่นำแนวทาง zero-trust มาประยุกต์ใช้ ก็จะไม่มีอะไรที่เชื่อใจได้เลย โดยปกติที่ผ่านมาเรื่องการระบุตัวตนก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำกันอยู่แล้ว แต่ในโมเดลของ zero-trust นั้น ทุกอย่างและทุกคนต้องได้รับการตรวจสอบหมดโดยไม่มีข้อยกเว้น

สิ่งที่เหมือนกันก็คือ รูปแบบการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมนั้นผู้ใช้งานจะดำเนินการใดๆ ก็ตามบนความรับผิดชอบ แต่ในแนวคิดของ zero-trust จะดียิ่งกว่าหากมีการจำกัดการเข้าถึง ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว แทนที่จะใช้วิธีการที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับหาพฤติกรรมผิดปกติของผู้โจมตี แนวทางของ zero-trust คือการสร้างอุปสรรคกีดขวางผู้โจมตีให้ดำเนินการได้ยากยิ่งขึ้น

การนำ Zero Trust มาใช้กับไฮบริดคลาวด์
ประเด็นเรื่องการรักษาความปลอดภัยบนคลาว์มีอยู่มากมาย และไฮบริดคลาวด์เองก็ต้องตอบข้อกังวลทั้งในส่วนของไพรเวทคลาวด์และพับบลิคคลาวด์ให้ได้ ซึ่งมาลิกได้อธิบายเพิ่มว่า มีการนำเอาบริการและแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ มาใช้ในองค์กรถี่ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งความสามารถใหม่ๆ เหล่านี้ กลับกลายเป็นการเปิดช่องทางใหม่ในการโจมตีให้กับผู้ก่อภัยคุกคาม ปัญหาของทีมงานรักษาความปลอดภัย คือการที่ยังคงรับมือด้วยวิธีการเดิมๆ และจบลงด้วยการเปิดช่องโหว่บนไฮบริดคลาวด์ให้โดนโจมตีได้มากขึ้น ซึ่งบนไฮบริดคลาวด์ ต้องสามารถระบุตัวตนผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ เนื่องจากพนักงานมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ของงานตามความก้าวหน้าในสายงาน ฉะนั้นการให้สิทธิ์ในการใช้งานผ่านออนไลน์ก็จะเปลี่ยนตามเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงคงไม่ได้เกิดขึ้นแค่หนเดียว เพราะในบางครั้ง พนักงานยังจำเป็นต้องรักษาสิทธิ์การเข้าถึงอยู่ แค่เปลี่ยนจากงานหนึ่งไปทำงานอื่น โดยในบางกรณี ก็ควรตัดสิทธิ์ในการเข้าถึงทันที โดยการให้สิทธิ์จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผ่านการอบรมแล้ว ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร การบริหารจัดการข้อมูลด้านอัตลักษณ์ที่ระบุตัวตนเพื่อเข้าใช้งาน นับเป็นงานที่ซับซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องจัดการบนแพลตฟอร์มที่หลากหลายของไฮบริดคลาวด์ การปรับใช้ zero-trust ช่วยให้กำหนดเรื่องการตรวจสอบสิทธิ์และการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

การรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์แบบหลายลำดับชั้น
แม้ว่า Zero Trust จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยบนไฮบริดคลาวด์ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทุกเรื่องเสมอไป จากที่ มาลิก ได้อธิบายไว้ ปัญหาหลักด้านความปลอดภัยที่จะพบเจอจากการใช้ไฮบริดคลาวด์ มาจากปัจจัยต่อไปนี้
• ธรรมาภิบาลและการตรวจสอบ
• DevSecOps
• การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
• การบริหารจัดการเรื่องสัญญาและการจัดซื้อ
• การบริหารจัดการด้านประสิทธิภาพและการตรวจสอบการทำงาน

“Zero-trust ไม่ได้ตอบโจทย์ความสามารถเหล่านี้ได้ซะส่วนใหญ่” มาลิก กล่าว “นั่นเพราะยังมีการแบ่งระหว่างสิ่งที่ zero-trust ช่วยได้ในเรื่องของคลาวด์และสิ่งที่ช่วยไม่ได้ เพราะยังมีบางปัญหาที่ zero-trust เข้าไปแก้ไม่ได้”
คลาวด์ทุกระบบมีการป้องกันความปลอดภัยสมบูรณ์แบบในตัวอยู่แล้วตั้งแต่ตอนสร้างมา มาลิก กล่าวเสริม “อยู่ที่เจตนาของผู้ใช้งานคลาวด์มากกว่าที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย และทำให้บุคคลภายนอกมองเห็นเข้ามาในระบบได้”

ถึงเวลาแล้วที่ไฮบริดคลาวด์ จะต้องกำจัดแนวคิดเรื่องของขอบเขตในการรักษาความปลอดภัยและเลิกใช้การรักษาความปลอดภัยรูปแบบเดิมๆ เพื่อปกป้องเครือข่ายและทรัพย์สินที่อยู่บนคลาวด์ โดยสถาปัตยกรรมเครือข่ายแบบ Zero-Trust จะให้โครงสร้างในการปกป้องอาณาเขตของไฮบริดคลาวด์ที่ปกติแล้วค่อนข้างจะปกป้องได้ยาก