Saturday, 20 April 2024 | 1 : 31 am

4Quarter.co

Saturday, 20 April 2024 | 1 : 31 am
กรุงศรี เผยผลกำไรสุทธิไตรมาสแรกปี 2567 จำนวน 7.54 พันล้านบาท สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจริงอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวดระมัดระวัง   •   เคทีซี เผยงบรวมไตรมาส 1/2567 กำไร 1,803 ล้านบาท เดินหน้าโฟกัสคุณภาพสินทรัพย์ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม   •   คปภ. เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ที่จังหวัดนครพนม   •   วิริยะประกันภัย ร่วมรณรงค์ “ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 จังหวัดนครราชสีมา   •   ออมสิน เปิดให้กู้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” ตั้งเป้าแก้หนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐ ลดดอกเบี้ย 4 กลุ่มสินเชื่อ ช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ P-Loan ลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน   •   เอสซีบี เอกซ์ ประกาศผลกำไรสุทธิประจำไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท   •   สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย   •   กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ   •   ทิพยประกันภัย ร่วมกับ OR เพิ่มความสะดวก และรวดเร็ว ในการซื้อประกันภัย ผ่าน QR Code ใน พีทีที สเตชั่น   •   คณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ เร่งบริหารงานเชิงรุก เพื่อให้การเคหะแห่งชาติขับเคลื่อนเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน   •   นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิด “โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัยหรืออาจจะฉ้อฉลประกันภัยกับภาคธุรกิจ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”   •   ธ.ก.ส. จัดกิจกรรมสงกรานต์สราญใจ ประจำปี 2567   •   การเคหะแห่งชาติ เร่งช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสารแอมโมเนียรั่วไหลในโรงงานน้ำแข็งบางละมุง   •   คปภ. ผนึกพลัง 4 สมาคม จัดเรตติ้งพฤติกรรม “ตัวแทน-นายหน้าประกันภัย” พร้อมใจเปิดโครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลเกี่ยวกับการฉ้อฉลประกันภัย   •   FWD ประกันชีวิต นำทีมผู้บริหารตัวแทนทุกระดับ ร่วมงาน FWD Elite Summit 2024 เพื่อเปิดประสบการณ์สู่ความก้าวหน้าและต่อยอดความสำเร็จ ณ กรุงไทเป ไต้หวัน   •   ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน – ราชวัตร เผยโฉมตึกจริงครั้งแรก! เดินหน้าลุยโอนฯ คอนโดฯ ใหม่พร้อมอยู่ มอบข้อเสนอสุดพิเศษ! ภายในงาน OPEN HOUSE   •   เมืองไทยประกันชีวิต ส่งมอบความสุขและรอยยิ้ม พาคณะผู้สูงอายุจากเขตห้วยขวาง และโรงเรียนผู้สูงอายุเขตดินแดง เข้าร่วมชมงาน “101 ปี พระราชวังพญาไท” THE GLORY OF SIAM   •   กรุงไทย–แอกซ่า ประกันชีวิต สืบสานประเพณีไทย “มนต์เสน่ห์ สงกรานต์สาดสุข” เสริมสิริมงคลต้อนรับปีใหม่ไทย   •   มูลนิธิเอสซีจี ชวนเยาวชนไทยหัวใจศิลป์ มาปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์งานศิลปะ ชิงรางวัลยุวศิลปินไทย 2567   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 18295-1: 2017 ระบบการจัดการศูนย์ติดต่อลูกค้า และเกียรติบัตรดีเด่นศูนย์รับเรื่องและแก้ไขปัญหาผู้บริโภค   •   Roddonjai จัดแคมเปญสุดคุ้ม ซื้อ “รถบ้านดูแลดี” รับดอกเบี้ยคงที่เริ่มต้น 2.59% ต่อปี การันตีเจ้าของขายเอง มั่นใจรถและผู้ขายตรงปก   •   บัตรเดบิต ttb all free จัดแคมเปญใหญ่ โคตร CODE ออนไลน์ จับมือพันธมิตรมอบโค้ดส่วนลด มากกว่า 2,000 บาทให้ใช้ทุกเดือน ตลอดปี   •   เงินติดล้อ เปิดบ้านต้อนรับ คณะผู้บริหารและทีมงานจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อแนะนำแนวทางการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในแบบชาวเงินติดล้อ   •   แอกซ่า ประเทศไทย แนะคนไทยเฝ้าระวังโรคอันตรายที่มีพาหะจากยุง   •   เคทีซี เสนอดอกเบี้ยพิเศษ 19.99% ต่อปี แบ่งเบาภาระสมาชิกใหม่บัตรกดเงินสด “เคทีซี พราว”   •   ศุภาลัย ส่งบ้านเดี่ยว-แฝด เจาะตลาดเรียลดีมานด์ บนทำเล “ประชาอุทิศ 90” เชื่อมต่อกลางเมือง-โซนพระราม 2 สุดสะดวก ในราคาจับต้องได้ เริ่ม 3.89 ล้านบาท   •   “CPAC Green Solution” ชวนตะลุยอาณาจักร 3D Printing (คอนกรีต 3 มิติ) สุดว๊าว! ในงาน “สถาปนิก’67: Architect Expo 2024” ที่ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์อิมแพ็ค เมืองทองธานี เริ่ม 30 เม.ย.- 5 พ.ค. นี้   •   กรุงเทพประกันภัย ใจป้ำพาพนักงานกว่า 1,600 คน บินลัดฟ้าทัศนศึกษาประเทศญี่ปุ่น เพื่อฉลองความสำเร็จตามเป้าหมาย   •   BAM ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดทำโครงการ HOME & HOPE ต่อเนื่องปีที่ 4 มอบเงินสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส จังหวัดลำพูน   •   เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ คว้า 3 รางวัล การันตีงานบริหารบุคลากรที่มุ่งเน้นความเท่าเทียม

สวพส. โชว์ผลงานวิจัย “โลกร้อนกับเกษตรบนดอย” ปรับตัวอย่างไร ในสภาพอากาศที่แปรปรวน

นักวิจัย สวพส. เผยผลงานวิจัย “โลกร้อน กับเกษตรบนดอย” หวังเป็นแนวทางในการสร้างกลยุทธการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวง ที่พบกับการผันแปรของสภาพอากาศระหว่างปีค่อนข้างสูง โดยบูรณาการจากภาครัฐเอกชน และเกษตรกร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศทั้งระยะสั้นและระยะยาว การวิจัยศึกษาด้านสภาพภูมิอากาศและการวิจัยพืช เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการสร้างการรับรู้ของสถานการณ์ ศึกษาวิธีการ และกลยุทธ์การปรับตัวของเกษตรกรที่สามารถนำไปใช้ได้

นางสาวอัจฉรา ภาวศุทธิ์ นักวิจัย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง หรือ สวพส. เปิดเผยว่า ปี พ.ศ.2593 (ค.ศ.2050) มีการคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9.8 พันล้านคน อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรจะเพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียสจากสภาวะโลกร้อน (Global warming) ขณะที่พื้นที่ที่ใช้เพาะปลูกมีแนวโน้มที่ลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลต่อพืชอาหารที่จะเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง คือ สภาวะจากสิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic stress) เช่น สภาพความร้อน ความเย็น ความแห้งแล้ง ความเค็มของดิน โลหะหนัก ที่ทำให้ผลผลิตเสียหายถึง 50-80% และสภาวะจากสิ่งไม่มีชีวิต (Biotic stress) เช่น โรคพืช แมลง วัชพืช มนุษย์จากการใช้สารเคมีเกษตร ซึ่งทำให้ผลผลิตเสียหาย 5-20%

ภาวะโลกร้อน คืออะไร ภาวะโลกร้อนคือ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรโดยมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และพบว่าในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา คือ พ.ศ.2448-2548 อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้ผิวดินทั่วโลกมีค่าสูงขึ้น 0.74 องศาเซลเซียส สภาพอากาศที่ร้อนจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นทำให้เกิดภัยธรรมชาติ ทั้งสภาวะแห้งแล้งที่รุนแรง ยาวนาน ปริมาณฝนที่ลดลงหรือเพิ่มมากขึ้นอย่างผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ความต้องการใช้น้ำของพืช ความชื้นในดิน คุณภาพของดินที่ใช้เพาะปลูก รวมถึงการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชที่มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการดำรงชีพของมนุษย์

สำหรับประเทศไทย มีอุณหภูมิสูงขึ้นเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียสในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อผลผลิตการเกษตรโดยตรงเนื่องจาก ร้อยละ 75 เป็นการทำการเกษตรแบบอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ

สำหรับพื้นที่สูงของไทย มีรายงานการศึกษาพบว่ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไม่เกิน 2 องศาเซลเซียสในอีก 50 ปีข้างหน้า โดยค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิสูงสุดมีแนวโน้มลดลง ขณะที่อุณหภูมิต่ำสุดมีแนวโน้มสูงขึ้น และปริมาณน้ำฝนรวมต่อปีเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ในพื้นที่ของมูลนิธิโครงการหลวงพบการผันแปรของสภาพอากาศระหว่างปีค่อนข้างสูง และกระทบต่อพัฒนาการ การให้ผลผลิตของพืช โดยเฉพาะไม้ผลและพืชผักเขตหนาว ปัจจัยซึ่งได้แก่ อุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่มีฝนตก สมบัติของดินทางกายภาพ เคมี ความชื้นในดินในแต่ละช่วงของปี รวมถึงปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา แต่ละพื้นที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของผลผลิตที่แตกต่างกัน

ดังนั้น การวางแผนกลยุทธการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรทั้งโดยภาครัฐเอกชน และเกษตรกร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศทั้งระยะสั้นและระยะยาวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมีแนวทางดังนี้

1) การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นความท้าทายที่ทำให้เกิดการวิจัยในการหาพันธุ์พืชให้เหมาะสมและสามารถปรับสภาพตามสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ เช่น พันธุ์ที่ทนโรค แมลงศัตรูพืช พันธุ์ที่ทนร้อนทนแล้งได้มากขึ้น ทนดินเค็ม น้ำเค็ม ทนน้ำท่วมขัง ซึ่งเป็นสภาวะที่ไม่เหมาะสมกับพืช การปรับปรุงพันธุ์หรือคัดเลือกพันธุ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ หรือให้มีช่วงการเก็บเกี่ยวที่ต่างกัน รวมไปถึงการอนุรักษ์ คัดเลือกพันธุ์ท้องถิ่น เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ทนโรค และเติบโตได้ดีในพื้นที่

2) การพัฒนาการผลิตพืชที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น การปลูกพืชในโรงเรือน การทำเกษตรแบบ Smart farming โดยใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีต่าง ๆ

3) Biotic interaction คือ การใช้สิ่งมีชีวิต เช่น จุลินทรีย์ต่างๆ ในการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช เพิ่มการเจริญเติบโตของพืช หรือป้องกันกำจัดโรคพืชแมลงศัตรูพืช ได้แก่ การใช้จุลินทรีย์ Bacillus subtilis Trichiderma sp., Streptomyces sp.ในการควบคุมโรคพืช

4) การใช้สารบางชนิด เช่น ABA, Ethylene, Salicylic acid, GA3 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นพืช เพิ่มคุณภาพผลผลิต หรือลดการสูญเสียผลผลิตจากสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น ความหนาวเย็น ดินเค็ม ความแห้งแล้ง หรือทนต่อแสงแดดที่รุนแรง

5) การปรับปรุงแนวทางการทำเกษตรของเกษตรกรให้หลากหลาย หรือการปลูกพืชที่หลากหลายที่เหมาะสมกับพื้นที่ การพัฒนาระบบการผลิตกล้าพืชที่แข็งแรงและปลอดโรค การจัดการแบบผสมผสานในระบบเกษตรอินทรีย์ ระบบการเตือนภัยจากแมลงศัตรูพืช เป็นต้น

ดังนั้น การวิจัยศึกษาด้านสภาพภูมิอากาศและการวิจัยพืช เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมถึงการสร้างการรับรู้ของสถานการณ์ และศึกษาวิธีการ กลยุทธ์การปรับตัวของเกษตรกรที่สามารถนำไปใช้ได้ เราต้องเริ่มจากการพัฒนาฐานข้อมูลภูมิอากาศในพื้นที่แต่ละแห่งให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และต่อเนื่อง มีฐานข้อมูลพืชบนพื้นที่สูง เลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสมกับพืชให้กับเกษตรกร และใช้เทคโนโลยีการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพืช พื้นที่ และความพร้อมของเกษตรกร เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์และบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในภาคเกษตรทั้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมและเกษตรกร และนำไปสู่การตัดสินใจของเกษตรกรในการเลือกปลูกพืชบนพื้นที่สูงได้