Wednesday, 24 April 2024 | 9 : 21 am

4Quarter.co

Wednesday, 24 April 2024 | 9 : 21 am
SPALI ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 พร้อมอนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 1.45 บาท   •   วิริยะประกันภัย ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ แก้ไขจุดเสี่ยงเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน โซนภาคอีสาน   •   ซีพีแรม ทุกแห่งทั่วประเทศ ขานรับนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ ชู CPRAM Green Life #ปลูกเพื่อโลกยั่งยืน เป็นปีที่ 11 หวังเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนผืนแผ่นดินไทย   •   อลิอันซ์ อยุธยา เฉลิมฉลองครบรอบปีที่ 73 เคียงข้างคนไทย   •   เคทีซี จับมือ คาเธ่ย์ ปลูกต้นไม้ในป่าชายเลน 4,000 ต้น ต่อยอดโครงการ “บิน 1 เที่ยว ปลูก 1 ต้น”   •   บัตรเครดิต ttb ชวนมาอิ่มคุ้ม กิน 1,000.- ลด 100.- ในแคมเปญ Tasty Asian กับ 9 ร้านดังสไตล์เอเชียน   •   “centralwOrld Summer 2024 Trunk Show The List” ปรากฏการณ์แฟชั่นโชว์รูปแบบใหม่ เปลี่ยนศูนย์การค้าเป็นรันเวย์ อัพเดทเทรนด์แฟชั่นปรับลุครับซัมเมอร์   •   กรุงศรี คอนซูมเมอร์ คว้า 6 รางวัลใหญ่ จากงาน Retail Banker International Asia Trailblazer Awards 2024   •   กรุงเทพประกันชีวิต ใส่ใจพัฒนาสิทธิประโยชน์ใหม่ 5 ด้าน ยกระดับความสุขทั้งไลฟ์สไตล์ และ สุขภาพผ่านบีแอลเอ แฮปปี้ไลฟ์ คลับ   •   BAM จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567   •   ผถห.TQR โหวตจ่ายปันผลปี 66 อีก 0.226 บ./หุ้น รวมทั้งปี 0.40 บ./หุ้น ลุยพัฒนาโปรดักส์ประกันภัยต่อรูปแบบใหม่เต็มสปีด เดินหน้าเจรจาดีล M&A หนุนผลงานนิวไฮต่อเนื่อง   •   บอร์ดการเคหะแห่งชาติลงพื้นที่เคหะชุมชนดินแดง 2 กำชับให้การเคหะแห่งชาติเร่งแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยโดยบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่   •   FWD ประกันชีวิต จัดฟรีคอนเสิร์ตใหญ่เล่นน้ำกลางเมือง “FWD Music Live Fest 3 #TimeToPlaySongkran” ฉลองวันไหลสงกรานต์ครั้งแรกในกรุงเทพฯ ณ ลานหน้าเซ็นทรัลเวิลด์   •   เจนเนอราลี่ กรุ๊ป ประกาศปรับผังองค์กรครั้งใหญ่ มุ่งสู่กลุ่มธุรกิจประกันภัยและบริหารสินทรัพย์แบบครบวงจร   •   เพาะพันธุ์ปัญญาแคมป์ รุ่นปี 2567 เพิ่มความเข้มข้นในทุกมิติ มุ่งสร้างการเรียนรู้การทำธุรกิจเสมือนจริง   •   เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมกับ ไอคอนสยาม จัดกิจกรรม “เมืองไทย Smile Exclusive Dining on Pruek Cruise” สำหรับสมาชิกเมืองไทยสไมล์คลับ   •   กรุงเทพประกันภัย จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ครั้งที่ 31   •   “เงินติดล้อ” สมาชิกสมาคมสินเชื่อทะเบียนรถฯ ร่วมส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับ อาสาสมัครเทคโนโลยีกรุงเทพมหานคร (อสท.)   •   เคทีซี รวมน้ำใจสมาชิกบัตรเครดิต สมทบทุนเข้า มูลนิธิศุภนิมิตฯ กว่า 29 ล้านบาท   •   BAM ร่วมกับสภากาชาดไทย จัดทำโครงการ HOME & HOPE ต่อเนื่องปีที่ 4 มอบเงินสร้างบ้านให้กับผู้ด้อยโอกาส จังหวัดนครศรีธรรมราช   •   ธนาคารกสิกรไทย แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 กำไร 13,486 ล้านบาท   •   กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง   •   ธ.ก.ส. จัดประชุมขับเคลื่อนภารกิจสู่ความสำเร็จ Bank Agenda ประจำปี 2567   •   ป้องกันโรคร้ายที่มากับฤดูร้อน มิติใหม่ของการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน สู่คุณภาพชีวิตที่ดีโดย APCO   •   ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 626.1 ล้านบาท   •   กรุงศรี เผยผลกำไรสุทธิไตรมาสแรกปี 2567 จำนวน 7.54 พันล้านบาท สนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจจริงอย่างต่อเนื่อง พร้อมบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มงวดระมัดระวัง   •   เคทีซี เผยงบรวมไตรมาส 1/2567 กำไร 1,803 ล้านบาท เดินหน้าโฟกัสคุณภาพสินทรัพย์ในระดับความเสี่ยงที่เหมาะสม   •   คปภ. เร่งให้ความช่วยเหลือด้านประกันภัย กรณีรถยนต์กระบะเฉี่ยวชนเสาไฟฟ้า เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย บาดเจ็บ 1 ราย ที่จังหวัดนครพนม   •   วิริยะประกันภัย ร่วมรณรงค์ “ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน” ช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 จังหวัดนครราชสีมา   •   ออมสิน เปิดให้กู้โครงการ “สินเชื่อออมสินรีไฟแนนซ์เพื่อสังคม” ตั้งเป้าแก้หนี้ครัวเรือนตามนโยบายรัฐ ลดดอกเบี้ย 4 กลุ่มสินเชื่อ ช่วยลูกหนี้บัตรเครดิต ลูกหนี้ P-Loan ลูกหนี้นาโนไฟแนนซ์ ลูกหนี้สินเชื่อบ้าน

“อยุธยา”พร้อมสร้างโรงผลิตกระแสไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะชุมชนวันละ 300 ตัน เป็นต้นแบบนำร่องการกำจัดขยะแบบครบวงจร อยุธยา

องค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (อบจ.พระนครศรีอยุธยา) เตรียมลงนามในสัญญาให้เอกชนร่วมทุนโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กับ บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) เป็นผู้ดำเนินการบริหารจัดการระบบกำจัด
ขยะมูลฝอยแบบครบวงจร และสร้างโรงไฟฟ้า ขนาด 6.5 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงโดยใช้
ขยะมูลฝอยประมาณวันละ 300 ตันมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ RDF (Refuse Derived Fuel)

จากสัญญาดังกล่าว บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) จะเป็นผู้ลงทุนใน
กระบวนการจัดการเชื้อเพลิงขยะที่รับจาก อบจ.พระนครศรีอยุธยา แล้วนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะก่อสร้างระบบกำจัดขยะมูลฝอยโดยใช้เทคโนโลยีผลิตเชื้อเพลิงขยะแบบเชิงกลและชีวภาพ (Mechanical Biological Treatment : MBT) ร่วมกับเทคโนโลยีเตาเผาขยะชุมชนและผลิตพลังงานไฟฟ้า (Stoker-Type Incinerator) ในโครงการ บนที่ดินราชพัสดุ ขนาดพื้นที่ 73 ไร่ 2 งาน ณ ตำบลมหาพราหมณ์ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่อบจ.พระนครศรีอยุธยาเป็นผู้ครอบครองสิทธิการเช่าจากกรมธนารักษ์

ทั้งนี้ โดยบริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเช่าที่ดินนั้นแก่กรมธนารักษ์ ทั้งนี้ ECW มีระยะเวลาดำเนินกิจการตามสัญญานาน 24 ปี เมื่อสิ้นสุดสัญญา ECW จะส่งมอบกรรมสิทธิ์ในระบบ สิ่งก่อสร้าง อาคาร เครื่องจักร วัสดุ ครุภัณฑ์และอุปกรณ์อื่นๆ ของระบบให้เป็นกรรมสิทธิของ
กระทรวงการคลัง

บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้ (พระนครศรีอยุธยา) จำกัด (ECW) เกิดขึ้นจากการร่วมทุนระหว่าง
บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 75 กับ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PEA ENCOM) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 25 ด้วยทุนจดทะเบียน เริ่มต้น 32.5 ล้านบาท

นายอบีนาช มาจี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท EEP ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัท ECW เปิดเผยว่าโครงการ
ผลิตไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ณ ศูนย์จัดการขยะต้นแบบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ต.มหาพราหมณ์ อ. บางบาล
จ.พระนครศรีอยุธยา ใช้เงินลงทุนในโครงการประมาณ 990 ล้านบาท ประกอบด้วย งานก่อสร้างอาคารระบบ
ผลิตเชื้อเพลิงขยะแบบ MBT และเครื่องจักรกลหลัก เป็นเงิน 20 ล้านบาท การปรับพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน
และระบบสาธารณูปโภค เป็นเงิน 50 ล้านบาท งานก่อสร้างอาคารและระบบเตาเผาขยะและผลิตพลังงานไฟฟ้า เป็น
เงิน 800 ล้านบาท งานระบบสนับสนุนและอุปกรณ์เครื่องจักรหนัก เป็นเงิน 35 ล้านบาท ค่าเช่าที่ดิน 14.66 ล้านบาท และงานสนับสนุนอื่น ๆ เป็นเงิน 70.34 ล้านบาท โดยแหล่ง เงินทุนแบ่งสัดส่วนเป็นการกู้เงินจากธนาคารในประเทศ ร้อยละ 70 ในวงเงิน 693 ล้านบาท และเงินทุนของผู้ร่วมทุน ร้อยละ 30 เป็นเงิน 297 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาคืนทุน ประมาณ 7 ปี มีแหล่งรายได้จากค่ากำจัดขยะรับจาก อบจ.พระนครศรีอยุธยา อัตราตันละ 200 บาท และรายได้
จากการขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

“การที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ดำเนินโครงการนี้ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนหลายด้าน เช่น ส่งเสริม
ให้การจัดการขยะชุมชนเป็นไปอย่างเหมาะสมโดยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ช่วยลดปัญหาขยะล้นเมือง ส่งเสริม
ให้มีการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบทางเลือก นอกจากนี้ศูนย์บริหารจัดการขยะ ยังจะเป็น
ตัวอย่างของรูปแบบทางเลือกการลงทุนที่เหมาะสมให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้รับ
ส่วนแบ่งจากผลตอบแทนรายได้จากการขายไฟฟ้าเข้าระบบการไฟฟ้า และเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริม ด้านสุข
อนามัยของประชาชนด้วย ” นาย อบีนาช มาจี้ กล่าวในตอนท้าย

สำหรับที่มาของโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะชุมชนในจังหวัด พระนครศรีอยุธยานั้นเกิดจาก แผนการดำเนิน
งานระยะยาวของกระทรวงมหาดไทย ที่ได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้ลงทุนแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงาน โดยมอบให้ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อการกำจัดขยะ จึงเป็นที่มาของการร่วมทุนระหว่าง

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยบริษัทในเครือ คือ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ( PEA ENCOM )
กับ บริษัท อีสเทิร์น เอเนอร์จี้ พลัส จำกัด (EEP) ซึ่งเป็นบริษัทที่มีประสบการณ์ ในการดำเนินธุรกิจบริหารจัดการ
ขยะชุมชนอย่างครบวงจร ด้วยการนำขยะชุมชนมาแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า
แบบใช้พลังไอน้ำ ในพื้นที่ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ เกิดเป็น
บริษัท เอ็นคอม เวสท์ ทู เอเนอร์จี้(พระนครศรีอยุธยา) จำกัด และเข้ายื่นความจำนงเข้าร่วมลงทุนดำเนินโครงการ
ผลิตกระแสไฟฟ้าจากขยะมูลฝอย ของ อบจ.พระนครศรีอยุธยาดังกล่าว